วันนี้ (24 ต.ค.2566) นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.พรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณี วิปรัฐบาล มีแนวทางที่จะเลื่อนระเบียบวาระการประชุมญัตติเสนอการทำประชา มติของพรรคก้าวไกลออกไปแล้วพิจารณาญัตติอื่นแทนว่า พรรคก้าวไกลไม่เห็นถึงความจำเป็นที่จะเลื่อนวาระอื่นขึ้นมาแทรก และเชื่อว่าสามารถพิจารณาเป็นไปตามระเบียบวาระได้ ที่จะเริ่มต้นจากญัตติของพรรคก้าวไกล เกี่ยวกับการเสนอให้จัดทำประชามติเพื่อนับหนึ่งสู่การทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
นายพริษฐ์ กล่าวว่า ข้อกังวลของประธานวิปรัฐบาลว่าจะซ้ำซ้อนกับการทำงานของทางรัฐบาลหรือไม่ว่า ไม่คิดว่าจะมีความซับซ้อน เนื่องจากกฎหมายกำหนดไว้สามารถดำเนินการได้ 3 กลไกคู่ขนานกัน คือรัฐบาลออกมติเองว่าจะจัดทำประชามติ ประเด็นต่อมาภาคประชาชนเข้าชื่อเสนอ 50,000 รายชื่อ และการเสนอโดยสส. ที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากสส.และวุฒิสภา
หากสามารถเดินหน้าตามระเบียบวาระการอภิปรายได้ คิดว่าไม่ว่ารัฐบาลจะมีจัดยืนเรื่องนี้อย่างไรก็จะเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาล หากรัฐบาลเห็นตรงกันกับญัตติพรรคก้าวไกล ในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดย ส.ส.ร. ที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด เชื่อว่าจะใช้เวลาอภิปราย และลงมติ เป็นกระติกเดียวที่เคยเสนอไว้ต่อรัฐสภาเมื่อปี 2565 ขณะนั้นมติก็เป็นเอกฉันท์
อ่านข่าว "ประเสริฐ" เปิดทางคนรุ่นใหม่ ปฏิเสธนั่งเลขาฯ "เพื่อไทย" อีกรอบ
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.พรรคก้าวไกล
จี้ใช้ระบบสภาถกประชามติ
นายพริษฐ์ กล่าวอีกว่า หากทางรัฐบาลยังไม่มีความชัดเจนว่าจะเดินหน้าทำประชามติอย่างไรหรือทำแบบไหน มองว่าควรใช้พื้นที่ของสภาในวันพรุ่งนี้ (25 ต.ค.) อภิปรายแลกเปลี่ยนความเห็นที่แตกต่างเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลในการรวบรวมความเห็น เข้าใจว่ารัฐบาลตั้งคณะกรรมการขึ้นมาศึกษา 30 กว่าคน แต่ก็มองว่าการใช้เวทีของสภา ให้เป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลในการรับฟังความเห็นของตัวแทนที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
หรือ หากรัฐบาลมีจุดยืนที่แตกต่างจากพรรคก้าวไกลว่าควรจะจัดทำประชามติหรือไม่หรือด้วยคำถามอย่างไร ทางพรรคก้าวไกล ในฐานะฝ่ายค้าน ก็เหลือเพียงช่องทางเดียว คือกลไกของสภาผู้แทนราษฎรที่จะโน้มน้าวสมาชิกในฝ่ายนิติบัญญัติ ให้เห็นชอบกับแนวทางที่พรรคก้าวไกลมองว่าจะเป็นประโยชน์ที่สุด ในการปูทางไปสู่การทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
นายพริษฐ์ ปฏิเสธแสดงความเห็นถึงเจตนาของรัฐบาลที่จะเลื่อนญัตติของพรรคก้าวไกลออกไป แต่ยังเชื่อว่าจะมีการหารือกันในเรื่องนี้ตามระบบรัฐสภา หากจะมีการโหวต ซึ่งเสียงรัฐบาลเป็นเสียงข้างมากในสภา แต่มองว่านอกจากเรื่องจำ นวนตัวเลข สส.แล้ว ประชาชนก็จับตามองเรื่องนี้ว่าจะเป็นอย่างไร และเป็นเหตุผลที่สมเหตุสมผลหรือไม่
ทั้งนี้การประชุมสภาสัปดาห์นี้ จะเป็นสัปดาห์สุดท้าย ของสมัยประชุม ซึ่งจะปิดสมัยในวันที่ 31 ต.ค.นี้ หากญัตติดังกล่าวไม่ได้เข้าสู่การพิจารณาในวันพรุ่งนี้ (25 ต.ค.) ก็จะถูกเลื่อนออกไปในสมัยประชุมหน้าที่จะเปิดในช่วงต้นธ.ค.นี้
อ่านข่าว