"ฆอและ" เป็นภาษามลายู แปลว่า โคลงเคลง หรือ ล่องลอย เรือกอและ หรือ เรือกุแหละ ใช้เรียกเรือประมงขนาดเล็ก หรือขนาดกลาง เป็นเรือหาปลาชนิดหนึ่ง ใช้ใบในการขับเคลื่อน มีลักษณะที่ยาวทำด้วยไม้ตะเคียนทราย ทำส่วนหัวและท้ายสูงขึ้นจากลำเรือ นิยมทาสีแล้วเขียนลวดลาย เป็นลายไทย หรือลวดลายอินโดนีเซีย ตามความชอบเจ้าของ
.........
ลวดลายข้างลำเรือ ตัดหาดทรายขาว ผืนน้ำสีครามในวันฟ้าใส ที่ชายหาดบ้านทอน เรือลำนี้ยังคงทำหน้าที่ตามวิถีชีวิตมามากกว่า 4 ศตวรรษ

ลวดลายข้างลำเรือ ตัดหาดทรายขาว ผืนน้ำสีครามในวันฟ้าใส
ลวดลายข้างลำเรือ ตัดหาดทรายขาว ผืนน้ำสีครามในวันฟ้าใส
"เริ่มต้นจากครูพักลักจำพ่อ เราเห็นมาตั้งแต่ยังเล็ก จะมีผู้ใหญ่ในหมู่บ้านและคนในครอบครัวมาช่วยกันทำเรือ" แบมะ หรือ อาหะหมัด สาและ ผู้สืบทอดการต่อเรือจากรุ่นสู่ปู่จนถึงปัจจุบันเล่า

อาหะหมัด สาและ ผู้สืบทอดการต่อเรือจากรุ่นสู่ปู่จนถึงปัจจุบัน
อาหะหมัด สาและ ผู้สืบทอดการต่อเรือจากรุ่นสู่ปู่จนถึงปัจจุบัน
ย้อนไปกว่า 40 ปี ที่แบมะ เริ่มลงมือฝึกฝนการต่อเรือกับปู่และพ่อ ตอนนั้นช่างมีฝีมือทำเรือกอและในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ยังมีไม่มาก โดยเฉพาะที่บ้านทอนนาอีม จ.นราธิวาส มีเพียงแห่งเดียว รับต่อเรือให้ชาวบ้าน โดยพ่อได้วิชามาจากรุ่นปู่ และอาศัยการลงมือทำ ทำผิดพลาดครั้งแล้วครั้งเล่า จนเกิดความชำนาญ โดยนำข้อผิดพลาดมาแก้ไข จนทำเรือได้สำเร็จ
"สมัยก่อนไม่มีใครมานั่งสอน หนังสือก็ไม่มี พ่อทำจนไม้ตะเคียนหมดแต่ก็ไม่ละความพยายาม"
เรือกอและ ทำขึ้นจากไม้ตะเคียนทราย ซึ่งเป็นไม้ที่มีอยู่มากในภาคใต้ พบมากในพื้นที่ จ.ปัตตานี ด้วยเนื้อไม้มีความคงทนแข็งแรง จึงนิยมนำมาสร้างเรือ
แบมะ เล่าถึงการทำเรือว่า เริ่มต้นจากการออกแบบ พูดคุยกับคนจ้างว่าต้องการลำขนาดไหน ปกติขนาดลำเรือจะอยู่ที่ 20-25 ศอก ราวๆ 10-12 เมตร ท้องเรือลึก หัวและปลายแหลมเพื่อใช้โต้คลื่นลมได้ดี แต่ในปัจจุบันชาวประมงบางคนเปลี่ยนจากท้ายแหลมมาเป็นท้ายแบบตัดเพื่อใช้วางเครื่องยนต์
หลังจากเลือกไม้ตะเคียนที่ใช้ได้แล้ว จากนั้นจึงนำมาดัดโค้งให้เข้ารูป โดยการใช้ภูมิปัญญาจากปู่และพ่อ หาวัสดุได้ง่ายจากพื้นที่มาทำ ซึ่งนำกาบมะพร้าวที่เหลือจากคั้นน้ำกะทิทิ้งแล้วมาเผาไฟ ให้เกิดความร้อน ก่อนทำเสาไม้และเชือกมาดัดให้เข้ารูป

อาหะหมัด สาและ ผู้สืบทอดการต่อเรือจากรุ่นสู่ปู่จนถึงปัจจุบัน
อาหะหมัด สาและ ผู้สืบทอดการต่อเรือจากรุ่นสู่ปู่จนถึงปัจจุบัน
"พ่อไม่เคยจดบันทึกการทำเลยอาศัยจำและลงมือทำ จนมันเป็นความเคยชิน อุปกรณ์เมื่อ 40 ปีที่แล้ว ไม่มีต้องคิดประดิษฐ์ขึ้นมาเอง" แบมะเล่าอย่างภูมิใจ
หลังจากได้โครงแล้ว ก็มานำมาต่อเข้าไม้ทีละชิ้น งานแต่ละอย่างต้องละเอียดและรอบคอบ ผิดพลาดไม่ได้ รอยต่อไม้ต่างๆต้องไม่เกิดช่องว่าง ทำซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนมั่นใจ จึงเริ่มทำขั้นตอนต่อไป

อาหะหมัด สาและ ผู้สืบทอดการต่อเรือจากรุ่นสู่ปู่จนถึงปัจจุบัน
อาหะหมัด สาและ ผู้สืบทอดการต่อเรือจากรุ่นสู่ปู่จนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันในพื้นที่บ้านทอน ต.โคกเคียน จ.นราธิวาส มีช่างวาดลวด ลายลงสีคนเดียว ที่ทำงานร่วมกันมากว่า 40 ปี โดยค่าจ้างต่อ 1 ลำ อยู่ที่ 1,5000 บาท ส่วนลวดลายก็จะทำตามแบบที่ผู้ว่าจ้างต้องการ
ลวดลายสมัยก่อน จะเป็นลวดลายมลายู ลวดลายชวา และลายไทย ผสมผสานได้ลงตัว และยังมีความงดงามตามหลักศาสนาและความเชื่อในการออกเรือ ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มจนนำไปลงทะเลจะอยู่ที่ 4-7 เดือน ตามขนาด
ส่วนการสืบทอดวิชาต่อเรือนั้นแบมะ บอกว่า อยากให้มีการสืบทอด เพราะต้นตระกูลทำอาชีพต่อเรือมาตลอดชีวิต อยากให้เด็กรุ่นใหม่ที่สนใจ แม้จะไม่ใช่คนในตระกูล แต่ถ้าใจชอบ และใจสู้ อยากมาเรียนรู้การต่อเรือ ก็พร้อมจะสอนและต้อนรับเสมอ
สิ่งที่กังวล คือ ถ้าคนในครอบครัวสาและ ไม่สืบทอดการต่อเรือแล้ว วิชาต่อเรือกอและของบ้านทอนนาอีม จะหายไป งานศิลปะของบรรพบุรุษก็จะหายไป

เรือกอและ
เรือกอและ
โดยอยากให้คนรุ่นใหม่ที่เข้ามาเรียนรู้ได้นำศิลปะการต่อเรือกอและไปถ่ายทอดให้แบบเป็นลูกโซ่ เพื่อรักษามรดกทางวัฒนธรรมต่อไปในอนาคตเหมือนสืบทอดมรดกของต้นตระกูล
แม้จะไม่ใช่ลูกหลาน พูดหรือนับถือศาสนาอะไร อยู่ในเมืองหรือบนภูเขา แบมะรับสอนทุกคนอยากให้คนรุ่นต่อๆไปได้พูดและคิดถึงเรือกอและบ้านทอนตลอดไป
"ถ้ามาเรียนรู้แล้วความรู้มันจะอยู่ในตัว ไม่ได้อยู่ในสมุด อยู่ที่ไหนก็ทำได้ มาหาแบได้ทุกเวลา" ช่างต่อเรือเมือเอกแห่งชายหาดบ้านทอน ทิ้งท้าย
รายงานโดย อดิศร ฉาบสูงเนิน