ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

หอการค้าไทย ชง “ธรรมนัส” ตั้ง กรอ.เกษตร เพิ่มขีดแข่งขัน

เศรษฐกิจ
5 ต.ค. 66
17:06
419
Logo Thai PBS
หอการค้าไทย ชง “ธรรมนัส” ตั้ง กรอ.เกษตร เพิ่มขีดแข่งขัน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
หอการค้าไทยฯถก “ธรรมนัส” เร่งแก้ปัญหาเกษตรไทย ชง 7 ประเด็น ดันไทยขึ้น Tier 1 ปี 2024 แก้ปัญหาแรงงานเถื่อน

วันนี้(5ต.ค.2566)นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรม การหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ เพื่อยกระดับการแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร 

นายสนั่น กล่าวว่า ภาคเอกชนต้องการส่งเสริมบทบาทขเกษตรรุ่นใหม่ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านเทคโน โลยี เพื่อต่อยอดและขยายผลให้ได้ทุกจังหวัด จึงอยากให้รัฐบาลและหน่วยงานเกี่ยวข้องช่วยสนับสนุนแหล่งเงินทุน นำเสนอมาตรการลดต้นทุนภาคการเกษตร โดยเฉพาะการบริหารจัดการน้ำ ไม่ให้เกิดปัญหาน้ำท่วม  น้ำแล้ง ซ้ำซาก โดยหอการค้าฯ และภาคเอกชนจะเป็นตัวกลางสนับสนุนองค์ความรู้ และถ่ายทอดเทคโนโลยีต่าง ๆ ผ่านเครือข่ายหอการค้าจังหวัดทั่วประเทศ

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

ไทยมีจุดเด่นและความพร้อมพื้นฐานด้านการเกษตร ทั้งในเชิงปริมาณพื้นที่เพาะปลูก จำนวนเกษตรกร สภาพภูมิอากาศ แต่ขณะเดียวกันมูลค่าการส่งออกและรายได้ของเกษตรกรยังไม่เพิ่มสูงเท่าที่ควร ดังนั้นทุกฝ่ายจำเป็นต้องร่วมมือกันอย่างจริง  

ทั้งนี้ประเทศไทยมีเกษตรกรกว่า 27 ล้านคน ถือเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ หากมีการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน และลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของรัฐบาล จะทำให้มีรายได้ที่สูงขึ้น 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

"ธรรมนัส" ลั่นทำจริงพักหนี้เกษตรกร แก้ภัยแล้ง-หมูเถื่อน

หนี้ครัวเรือนไทยสูง - TDRI คาดรัฐบาลแก้ได้ คงใกล้หมดเทอม

บิ๊กเอกชนห่วงบาทอ่อนทำไทยขาดดุล

หอการค้าฯชงตั้งกรอ.กษ.

นายสนั่น กล่าวอีกว่า หอการค้าฯขอเสนอให้กระทรวงเกษตรฯ พิจารณาจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและภาคเอกชน หรือ (กรอ.กษ.) เพื่อสร้างความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและมีความต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด รวมถึงยื่นข้อเสนอแนะเร่งด่วนของธุรกิจเกษตรและอาหาร

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

เสนอ7ประเด็นพัฒนาเกษตรไทย

นอกจากนี้ประธานหอการค้าฯ ยังเสนอ 7 ประเด็นสำคัญต่อกระทรวงเกษตรฯ คือ  1.การส่งเสริมความมั่นคงและความยั่งยืนด้านอาหาร (Food Safety and Food Security) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่า สินค้าเกษตรและอาหารของไทย มีผลผลิตที่มีความปลอดภัยและมีคุณภาพมาตรฐาน พร้อมเป็นครัวโลก

2. รักษาเสถียรภาพความมั่นคงทางทะเล เสนอให้กระทรวงเกษตรฯ ประสานงานสมาคมการค้าและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ร่วมขับเคลื่อนและรักษาเสถียรภาพความมั่นคงทางทะเล ด้วยมาตรการป้องกันปัญหาการประมงผิดกฎหมาย หรือ IUU Fishing ตลอดจนการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน เพื่อยกระดับอันดับสถานการณ์การค้ามนุษย์ (TIP Report) ของประเทศไทยให้อยู่ในระดับ Tier 1 ในปี 2024

3.การสร้างความสมดุลภาคธุรกิจเกษตรและอาหาร เสนอให้กระทรวงเกษตรฯ กำหนดนโยบายเพื่อสร้างความสมดุลและเสถียรภาพการนำเข้า - ส่งออกภาคเกษตรและอาหาร ระหว่างเกษตรกร และผู้ประกอบการส่งออก เพื่อให้ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขัน สร้างความมั่นคงและความยั่งยืนด้านเกษตรและอาหารของไทย

4. การส่งเสริมการสร้างเกษตรมูลค่าสูงผ่านการขับเคลื่อนเชิงพื้นที่ (Area-based) โดยขับเคลื่อนในพื้นที่นำร่องแล้ว 7 จังหวัด รวมถึงตั้งเป้าขยายพื้นที่จังหวัดเป้าหมายเพิ่มเติมอีก 5 จังหวัด ในปี 2567 ได้แก่ ชัยนาท เพชรบูรณ์ ชัยภูมิ อุบลราชธานี และพัทลุง

5.การส่งเสริมธุรกิจอาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต เสนอให้ผลักดันการจัดทำระบบอาหารที่มีการกล่าวอ้างอาหารเชิงหน้าที่ (FFC Thailand) เพื่อให้ผู้ประกอบการทุกระดับสามารถยืนยันการกล่าวอ้างเชิงสุขภาพด้วยเอกสารหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ในรูปแบบออนไลน์ โดยครอบคลุมผลผลิตการเกษตร อาหารปรุงสดและอาหารท้องถิ่น

6. การส่งเสริมธุรกิจประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ควรมีการผ่อนปรนการนำเข้าวัตถุดิบสัตว์น้ำเพื่อแปรรูปเพิ่มมูลค่าและส่งออกซึ่งต้องไม่กระทบกับเกษตรกรผู้เลี้ยงภายในประเทศ ตลอดจนส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและปกป้องสัตว์น้ำเศรษฐกิจของไทย ได้แก่ ปลากะพง ปลานิล และกุ้งก้ามกราม เป็นต้น

7. การส่งเสริมธุรกิจปศุสัตว์และแปรรูป ให้เร่งรัดการเพิ่มจำนวนโรงฆ่าสัตว์, โรงตัดแต่งเนื้อสัตว์, โรงคัดบรรจุ ที่ได้มาตรฐาน GMP (Good Manufacturing Practices) ทุกจังหวัดที่มีศักยภาพ ตลอดจนเร่งรัดปราบปรามผู้ลักลอบนำเข้าหรือส่งออกสินค้าปศุสัตว์อย่างเข้มงวด เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง