ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รู้จัก Carbon Mapper อุปกรณ์วัดก๊าซเรือนกระจกตัวใหม่ของนาซา

Logo Thai PBS
รู้จัก Carbon Mapper อุปกรณ์วัดก๊าซเรือนกระจกตัวใหม่ของนาซา
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สเปกโทรมิเตอร์ที่พัฒนาโดย JPL เตรียมนำขึ้นติดตั้งบนดาวเทียม เพื่อติดตามการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีเทน และคาร์บอนไดออกไซด์จากนอกอวกาศ

Carbon Mapper เป็นอุปกรณ์สเปกโทรมิเตอร์ซึ่งพัฒนาและสร้างขึ้นมาโดยห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่น (JPL) ขององค์การนาซา ภายใต้ความร่วมมือกับหน่วยงานไม่แสวงหากำไร “Carbon Mapper” โดยอุปกรณ์ดังกล่าวจะถูกใช้ในการติดตามการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีเทน และคาร์บอนไดออกไซด์จากนอกอวกาศ

Super Emitters

Super Emitters

Super Emitters

หนึ่งในเป้าหมายของ Carbon Mapper คือการค้นหา “Super-Emitter” หรือแหล่งกำเนิดก๊าซเรือนกระจกขนาดใหญ่ เช่น โรงงานผลิตไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจาก Super-Emitter นั้นจะลดปริมาณแก๊สเรือนกระจกบนโลกได้อย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นการค้นหาตำแหน่งของ Super-Emitter จึงเป็นหนึ่งในภารกิจที่สำคัญที่สุดของ Carbon Mapper

Carbon Mapper at JPL

Carbon Mapper at JPL

Carbon Mapper at JPL

ภาพของ Carbon Mapper ที่ห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่นหลังการประกอบ เตรียมพร้อมส่งไปยังห้องปฏิบัติการ Planet Labs PBC ซึ่งจะสถานที่ไว้ประกอบตัวอุปกรณ์เข้ากับดาวเทียมสำหรับการปล่อยขึ้นสู่อวกาศ

Carbon Mapper during vibration test

Carbon Mapper during vibration test

Carbon Mapper during vibration test

ก่อนการปล่อยนั้น Carbon Mapper จะต้องถูกนำมาทดสอบการสั่น (Vibration Test) เสียก่อน เพื่อที่จะยืนยันว่าอุปกรณ์ Carbon Mapper สามารถทนต่อแรงสั่นที่จะเกิดขึ้นระหว่างการปล่อยได้โดยที่อุปกรณ์ไม่เสียหาย ในภาพนี้ วิศวกรกำลังเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมสำหรับการทดสอบการสั่นที่ห้องปฏิบัติการขับเคลื่อนไอพ่น

Carbon Mapper during thermal vacuum chamber

Carbon Mapper during thermal vacuum chamber

Carbon Mapper during thermal vacuum chamber

นอกจากการทดสอบการสั่นแล้ว Carbon Mapper ก็ยังจะต้องผ่านการทดสอบความร้อนและสุญญากาศอีกด้วยเพื่อที่จะยืนยันว่าตัวอุปกรณ์สามารถทนการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิในอวกาศและสภาวะสุญญากาศได้

Spectral Fingerprint

Spectral Fingerprint

Spectral Fingerprint

ภาพเส้นสเปกตรัมของก๊าซมีเทนตามที่วัดได้จากอุปกรณ์ Carbon Mapper ที่ห้องปฏิบัติการขับเคลื่อนไอพ่น โดยเส้นสเปกตรัมนี้เรียกว่า “Fingerprint” หรือ “ลายนิ้วมือ” ของก๊าซมีเทนซึ่งจะถูกใช้ในการตรวจหาว่าอนุภาคใดมีลายนิ้วมือตรงกันเพื่อแยกก๊าซมีเทนออกจากอนุภาคอื่น ๆ

ที่มาภาพ: NASA/JPL
ที่มาข้อมูล: NASA/JPL


--------------------------
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง