ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

พบวัตถุชนกับ "ดาวพฤหัสฯ" โดยนักดาราศาสตร์มือสมัครเล่นญี่ปุ่น

Logo Thai PBS
พบวัตถุชนกับ "ดาวพฤหัสฯ" โดยนักดาราศาสตร์มือสมัครเล่นญี่ปุ่น
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ดาวพฤหัสบดีถูกพุ่งชนโดยอุกกาบาต ตรวจจับได้โดยนักดาราศาสตร์ชาวญี่ปุ่น

เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2023 เวลา 1.45 น. ตามเวลาท้องถิ่นประเทศญี่ปุ่น เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินมือสมัครเล่นในประเทศญี่ปุ่น OASES (Organized Autotelescopes for Serendipitous Event Survey) และ PONCOTS (Planetary Observation for Optical Transient Surveys) ตรวจพบแสงวาบบนดาวพฤหัสบดีเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ คาดว่าน่าจะเป็นแสงที่เกิดจากการชนของดาวเคราะห์น้อย

เครือข่ายกล้องโทรทรรศน์เหล่านี้เป็นเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์อัตโนมัติที่ใช้สำรวจวัตถุดาราศาสตร์วัตถุใดวัตถุหนึ่งตลอดเวลา ทำให้สามารถถ่ายวิดีโอระหว่างที่เกิดการชนของดาวเคราะห์น้อยกับดาวพฤหัสบดีได้

อย่างไรก็ตาม การชนกันระหว่างดาวเคราะห์น้อยและดาวพฤหัสบดีนั้นเป็นเรื่องที่ปกติเป็นอย่างมาก ด้วยขนาดและมวลของดาวพฤหัสบดี แรงโน้มถ่วงของมันมีอำนาจมากพอที่จะดูดวัตถุใด ๆ ก็ตามที่ผ่านเข้ามาใกล้ให้ไปชนกับตัวมันเองได้อย่างง่ายดาย

นอกจากนี้ ตำแหน่งของดาวพฤหัสบดีกับเข็มขัดดาวเคราะห์น้อยของระบบสุริยะทำให้ อำนาจแรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดีเกิดเป็น “จุดลากรางจ์” ขึ้นมา ซึ่งเป็นจุดที่วัตถุใด ๆ ก็ตามที่อยู่ในบริเวณนี้จะโคจรไปพร้อม ๆ กับดาวพฤหัสบดี

ดังนั้นหากมีดาวเคราะห์น้อยจากนอกระบบสุริยะทะลุเข้ามาในบริเวณแถบดาวเคราะห์ อำนาจแรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดีจะทำหน้าที่เป็น “เครื่องดูดฝุ่น” ของระบบสุริยะเพื่อดักจับวัตถุแปลกปลอมอย่างดาวเคราะห์น้อยที่หลุดเข้ามาไม่ให้ผ่านเข้าไปในแถบดาวเคราะห์ชั้นในได้

วัตถุบางส่วนที่ไม่อยู่ในจุดลากรางจ์ หากอยู่ใกล้ดาวพฤหัสฯ มากพอก็จะถูกดูดให้ไปชนกับมันในที่สุด จึงไม่เป็นเรื่องแปลกที่จะมีดาวเคราะห์น้อยชนดาวพฤหัสฯ บ่อยครั้ง และนั่นหมายความว่าดาวพฤหัสฯ กำลังปกป้องโลกเราจากอุกกาบาตอยู่

ที่มาภาพ: OASES/PONCOTS
ที่มาข้อมูล: space

--------------------------
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง