วันนี้ (11 ก.ย.2566) เวลา 11.25 น. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ สส.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวยินดีกับ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ว่า พรรคประชาธิปัตย์ ขอทำหน้าที่ฝ่ายค้านของประชาชน และจะทำหน้าที่ในการตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินเต็มกำลังความสามารถ
พร้อมแสดงจุดยืนในการทำหน้าที่ คือ จะไม่ค้านทุกเรื่อง แต่จะเป็นฝ่ายค้านที่เข้มแข็ง ตรวจสอบรัฐบาล และแสดงจุดร่วม สงวนจุดต่าง ในการทำงานกับพรรคร่วมฝ่ายค้าน เช่น ประชาธิปัตย์ไม่สนับสนุนการแก้ไข มาตรา 112
นายจุรินทร์ อภิปรายซักถามต่อนโยบาย "ครม.เศรษฐา 1" ว่า ได้ดูอย่างละเอียด มีความเห็นเช่นเดียวกับ สส.หลายคน ว่ามาตรฐานสวนทางกับความสูงของนายกฯ การตั้งโจทย์ประเทศคลุมเครือ นโยบายเลื่อนลอย ขาดความชัดเจน นโยบายที่แถลงกับที่หาเสียงเป็นหนังคนละม้วน เรียกได้ว่านโยบายไม่ตรงปก
อ่านข่าว : วันแรก! "เศรษฐา" ถือฤกษ์ 07.59 น.เข้าสภาฯแถลงนโยบายรัฐบาล
ยกตัวอย่างนโยบายเงินเดือนปริญญาตรี 25,000 บาท แต่กลายเป็นนโยบายนินจา อยู่ๆ ก็หายไปแบบไร้ร่องรอยตอนเป็นรัฐบาล จึงขอทวงสัญญาแทนเด็กรุ่นใหม่ที่กำลังจบการศึกษา
นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทต่อวัน ตอนหาเสียงหลายคนทักท้วงว่าเป็นห่วงเอกชน SME รับต้นทุนสูงขึ้นไม่ไหว จะผลักภาระขึ้นราคาสินค้าจนกระทบประชาชน กระทั่งเปลี่ยนมาเป็นเริ่มต้นตัวเลขดังกล่าวในปี 70 แต่สุดท้ายก็ไม่มีเขียนในนโยบาย
นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายทำทันที สุดท้ายนโยบายล่องหน จึงถามว่าจะนำเงินที่ใดมาใช้ ต้องนำเงินประเทศไปชดเชยให้บริษัทเอกชนหรือไม่
นโยบายลดความเหลื่อมล้ำ เติมเงินให้ทุกครอบครัวที่รายได้ต่ำกว่า 20,000 บาททุกเดือน ซึ่งต้องเติมเงินเดือนละหลักแสนล้าน จึงถามว่านำเงินมาจากไหน
นโยบายการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น จัดเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดในจังหวัดที่พร้อม สุดท้ายไม่มีนโยบาย กลายเป็นแปลงโฉมเป็นผู้ว่าฯ CEO เปลี่ยนจากการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น เป็นรวบอำนาจการปกครองส่วนภูมิภาค ย้อนยุคไป 20 ปี
แค่ลมปากตอนหาเสียง เงินเดือน ป.ตรี รถไฟฟ้า 20 บาท เลือกตั้งผู้ว่าฯ ในจังหวัดที่พร้อม สุดท้ายไม่มีเขียนในนโยบาย ต้องพูดว่าหาเสียงได้ แต่ต้องมีความรับผิดชอบ อย่าให้เหมือนไล่หนูตีงูเห่า สุดท้ายทั้งหนูทั้งงูเห่ามาอยู่ด้วยกัน แล้วกลายเป็นแค่เทคนิคการหาเสียง
นายจุรินทร์ ยังกล่าวถึงนโยบายราคาพืชผลการเกษตร นายกฯ พูดที่ขอนแก่นชัดว่าไม่มีนโยบายจำนำข้าวและประกันรายได้เกษตรกร จึงต้องบอกว่าดีแล้ว เพราะนโยบายจำนำข้าวสร้างภาระหนี้ให้ประเทศ 884,000 ล้านบาท ยังต้องใช้หนี้อีก 254,000 ล้านบาท ส่วนการประกันรายได้เกษตรกร หากไม่ดำเนินการต่อแล้ว "ข้าว มัน ยาง ปาล์ม ข้าวโพด" หากราคาตกต่ำใครจะดูแลเกษตรกร ส่วนที่ระบุนโยบายพักหนี้ สุดท้ายแค่ต่อลมหายใจให้เกษตรกรชั่วคราว
นโยบายดิจิทัลวอลเล็ต ย้ำว่ารัฐบาลต้องทำ เพราะเป็นสัญญาที่หาเสียงไว้ แต่ขอถามว่าจะทำอย่างไรและนำเงินมาจากไหน 5.6 แสนล้านบาท ใช้แอปพลิเคชันใด อีกทั้งเมื่อ 2-3 วันก่อน คนในรัฐบาลบอกว่ายังไม่ได้ข้อสรุป แปลว่าเป็นนโยบายไปตายเอาดาบหน้า สิ่งนี้รัฐบาลต้องรับผิดชอบและทำให้สำเร็จ ที่สำคัญอย่าให้กลายเป็นการทุจริตเชิงนโยบาย
นโนบายแก้ไขรัฐธรรมนูญ พรรคประชาธิปัตย์พร้อมให้การสนับสนุน แต่มีข้อสังเกตถึงนโยบายที่ระบุว่า ไม่แก้ไขในหมวดพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในหมวด 2 ของรัฐธรรมนูญ จำนวน 19 มาตรา ตนเองเห็นด้วยที่ไม่แก้หมวด 2 แต่มีคำถามว่าแก้หมวด 1 ได้หรือไม่ เหตุใดไม่ระบุให้ชัดเจนว่าจะไม่แก้หมวด 1
นโยบายป้องกันปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ไปซุกอยู่ครึ่งบรรทัดในนโยบายการมีส่วนร่วมของประชาชน ระบุว่า "การป้องกันและขจัดการทุจริตที่ประชาชนมีส่วนร่วม"
นโยบายฟื้นฟูหลักนิติธรรมที่มีความเข้มแข็งนั้น รัฐบาลข้ามขั้ว แม้จะเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐบาลสลายขั้ว แต่สลายความขัดแย้งไม่ได้หรอก มีแต่หลักนิติธรรมที่เข้มแข็งเท่านั้นที่ทำให้ประเทศมีความหวัง
หลักนิติธรรม คือ ทุกคนเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมายเดียวกัน ไม่ว่าคนจน คนรวย คนมีอำนาจ คนไม่มีอำนาจ ไม่เว้นแม้แต่นักโทษจน นักโทษรวย ซึ่งนักโทษทุกคนย่อมเท่าเทียมกัน และต้องได้รับการปฏิบัติจากผู้บังคับใช้กฎหมายโดยเสมอกัน นโยบายนี้คือจุดเริ่มต้นของความหวัง รวมถึงจะศักดิ์สิทธิ์และเป็นจริงได้อยู่ที่นายกฯ และรัฐบาล
นายจุรินทร์ กล่าว่า เป็นโอกาสสำคัญของรัฐบาลที่จะทำให้วลี "คุกมีไว้แค่ขังคนจนกับคนไม่มีอำนาจ" มลายหายไปได้ จึงขอให้นายกฯ รักษาคำพูด และประสบความสำเร็จในการเร่งฟื้นฟูหลักนิติธรรมที่เข้มแข็ง
นโยบายดิจิทัลวอลเล็ต ย้ำว่ารัฐบาลต้องทำ เพราะเป็นสัญญาที่หาเสียงไว้ แต่ขอถามว่าจะทำอย่างไรและนำเงินมาจากไหน 5.6 แสนล้านบาท ใช้แอปพลิเคชันใด อีกทั้งเมื่อ 2-3 วันก่อน คนในรัฐบาลบอกว่ายังไม่ได้ข้อสรุป แปลว่าเป็นนโยบายไปตายเอาดาบหน้า สิ่งนี้รัฐบาลต้องรับผิดชอบและทำให้สำเร็จ ที่สำคัญอย่าให้กลายเป็นการทุจริตเชิงนโยบาย
นโยบายแก้ไขรัฐธรรมนูญ พรรคประชาธิปัตย์พร้อมให้การสนับสนุน แต่มีข้อสังเกตถึงนโยบายที่ระบุว่า ไม่แก้ไขในหมวดพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในหมวด 2 ของรัฐธรรมนูญ จำนวน 19 มาตรา ตนเองเห็นด้วยที่ไม่แก้หมวด 2 แต่มีคำถามว่าแก้หมวด 1 ได้หรือไม่ เหตุใดไม่ระบุให้ชัดเจนว่าจะไม่แก้หมวด 1
นโยบายป้องกันปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ไปซุกอยู่ครึ่งบรรทัดในนโยบายการมีส่วนร่วมของประชาชน ระบุว่า "การป้องกันและขจัดการทุจริตที่ประชาชนมีส่วนร่วม"
นโยบายฟื้นฟูหลักนิติธรรมที่มีความเข้มแข็งนั้น รัฐบาลข้ามขั้ว แม้จะเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐบาลสลายขั้ว แต่สลายความขัดแย้งไม่ได้หรอก มีแต่หลักนิติธรรมที่เข้มแข็งเท่านั้นที่ทำให้ประเทศมีความหวัง
หลักนิติธรรม คือ ทุกคนเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมายเดียวกัน ไม่ว่าคนจน คนรวย คนมีอำนาจ คนไม่มีอำนาจ ไม่เว้นแม้แต่นักโทษจน นักโทษรวย ซึ่งนักโทษทุกคนย่อมเท่าเทียมกัน และต้องได้รับการปฏิบัติจากผู้บังคับใช้กฎหมายโดยเสมอกัน นโยบายนี้คือจุดเริ่มต้นของความหวัง รวมถึงจะศักดิ์สิทธิ์และเป็นจริงได้อยู่ที่นายกฯ และรัฐบาล
นอกจากนี้นายจุรินทร์ กล่าวว่า เป็นโอกาสสำคัญของรัฐบาลที่จะทำให้วลี "คุกมีไว้แค่ขังคนจนกับคนไม่มีอำนาจ" มลายหายไปได้ จึงขอให้นายกฯ รักษาคำพูด และประสบความสำเร็จในการเร่งฟื้นฟูหลักนิติธรรมที่เข้มแข็ง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ศิริกัญญา" อัดนโยบาย "เศรษฐา" ไม่ตรงปก เทียบ GPS หลงทาง
ถ่ายทอดสด แถลงนโยบายรัฐบาลเศรษฐา 11-12 ก.ย.66
แท็กที่เกี่ยวข้อง:
- แถลงนโยบายรัฐบาล
- แถลงนโยบายต่อรัฐสภา
- แถลงนโยบาย
- คณะรัฐมนตรี
- ครม.เศรษฐา
- ถ่ายทอดสดแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
- ดูสด แถลงนโยบายต่อรัฐสภา
- รัฐบาลแถลงนโยบาย
- ประชุมรัฐสภา
- ประชุมสภา
- รัฐบาลเศรษฐา
- นโยบายรัฐบาลเศรษฐา
- ครม.ใหม่
- ประชุมสภาวันนี้
- ถ่ายทอดสดประชุมสภา
- แถลงนโยบายต่อรัฐสภา 11 ก.ย.
- เศรษฐา
- เศรษฐาทวีสิน
- ประชาธิปัตย์
- จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
- เงินดิจิทัล
- Policy Watch