วันนี้ (11 ก.ย.2566) เมื่อเวลา 10.32 น.น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะฝ่ายค้านลุกขึ้นอภิปรายเป็นคนแรก ระบุว่าอำนาจของพวกท่านจะเป็นอย่างไร ประชาชนจะให้การยอมรับมาก แค่ไหน คงพูดแทนประชาชนไม่ได้ แต่การแถลงนโยบายรัฐบาลที่ดีจะกู้คืนความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลซึ่งถือเป็นโอกาสที่รัฐบาล จะให้คำมั่นสัญญากับประชาว่า 4 ปีข้างจะพาความก้าวหน้าอะไรมาให้ประชาชน และด้วยวิธีการใด
คำสัญญาที่เป็นรูปธรรมเท่านั้นจะเป็นเครื่องบ่งชี้ความรับผิดชอบที่มีต่อประชาชน และติดตามทวงถามตรวจสอบว่าได้ทำตามสัญญาไว้หรือไม่สำคัญมากในระบอบประชาธิปไตย
คำแถลงนโยบายรัฐบาลที่ดีต้องเหมือน GPS ที่บอกเป้าหมายว่า 4 ปีนี้รัฐบาลจะเดินทางด้วยเส้นทางไหนด้วยวิธีการ เหมือนหรือต่างกับผู้ร่วมเส้นทางตอนหาเสียง และจะไปถึงเป้าหมายเมื่อไหร่
น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะฝ่ายค้านลุกขึ้นอภิปรายเป็นคนแรก
น.ส.ศิริกัญญา กล่าวว่า จากที่ฟังนายกรัฐมนตรีแถลงจนจบ ไม่ต่างกับที่มีเอกสารเผยแพร่ ดังนั้น GPS ประเทศนี้คงจะหลงทาง เพราะมีแต่ความว่างเปล่า เบาหวิว แทบไมได้บอกอะไร มีแต่คำอธิษฐาน ขาดรายละเอียด ไม่มีรายละเอียด
แต่เมื่อตรวจคำสัญญา 4 ปีเทียบกับบารัก โอบามา สัญญาประชาคมต้องชัดเจน มีกรอบเวลา มีเป้าหมาย มีตัวเลขที่ชัดเจน ใช้เวลาเพียงแค่ 5 นาที
ถ้าฟังคำแถลงของนายเศรษฐา ให้คะแนนเท่ากับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่กำหนดเป้าหมาย เขียนคำแถลงเหมือนคำอธิษฐาน ไม่ต้องทำตามสัญญาที่ทำไว้ตอนหาเสียงแบบนี้เรียกว่าไม่ตรงปก
อ่านข่าว วันแรก! "เศรษฐา" ถือฤกษ์ 07.59 น.เข้าสภาฯแถลงนโยบายรัฐบาล
นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมแถลงนโยบายรัฐบาล
สอนมวย “เศรษฐา” ให้คิดว่าสภาเป็นซีอีโอใหม่
น.ส.ศิริกัญญา อภิปรายอีกว่า นายกฯ มาจากภาคเอกชน คาดหวังจะนำแนวทางมาปรับใช้ แต่ยังไม่เห็นนายกฯ นำมาใช้ในการแถลงนโยบายครั้งนี้ ขอให้นายกเศรษฐา คิดว่าเป็นซีอีโอใหม่ แถลงกับนักลงทุน ตัวอย่างที่น่าสนใจที่แถลงตอนเป็นบอร์ดของแสนสิริ กลับมีเป้าหมายชัดเจนว่า 3 ปีต้องเพิ่มยอดให้ได้ 150,000 ล้านบาท
น.ส.ศิริกัญญา บอกว่า การแถลงนโยบายครั้งนี้ เสมือนว่าหลับตาข้างหนึ่งเพื่อก้าวข้ามความขัดแย้ง ไม่แตะเรื่องภาคใต้ และไม่แตะเรื่องที่ยากๆ ซึ่งมองว่าเหตุผลเพราะกลัวการผูกมัด และกลัวเป็นสัญญา
ส่วนบางนโยบายที่มองว่าอะไรที่จะทำได้หรือทำไม่ได้ ก็ไม่ควรหลอกลวงประชาชนในการหาเสียงช่วงเลือกตั้ง ส่วนอีกเหตุผลมาจากรัฐบาลผสมข้ามขั้ว เลยต้องเขียนแบบลอยๆ กว้าง และยังต้องเกรงใจกลุ่มอำนาจและกลุ่มทุนเก่า
เงินดิจิทัลใช้เงินจากที่ไหน?
รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ยังกล่าวถึงกรณีเงินดิจิทัล ต้องใช้เงิน 560,000 ล้านบาท 1 บาท เท่ากับ 1 เหรียญหรือไม่ ขึ้นกับแหล่งที่มาเชื่อถือหรือไม่ ซึ่งถ้าไม่สามารถนำเงินทั้งหมดมาแบคอัพ จะมีปัญหากับแม่ค้า ที่เข้าร่วมโครงการ เรื่องนี้เคยเกิดในสมัยโครงการคนละครึ่ง แต่ครั้งนี้อาจจะรุนแรงกว่าในการกำหนดกฎเกณฑ์การแลกเงินดิจิทัล และยังไม่ชัดว่าจะมีแหล่งที่มาของเงินดังกล่าว หากเทียบตอนหาเสี่ยงเช่น การเก็บภาษี 260,000 ล้านบาทจากภาษี
ทางเลือกถ้าใช้งบปี 67 จะไม่เพียงพอแน่นอน เพราะใช้ได้ 400,000 ล้านบาท และมีรายจ่ายที่ถูกกำหนดไว้ ถ้าจะหั่นไปใช้แต่ก็ไม่ควรดันทุรังนำไปใช้ และถ้าจะนำมาใช้ถามพรรคร่วมรัฐบาลและถามรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ หรือยัง
นอกจากนี้ หากจะให้มีเงินสด 560,000 ล้านบาท ต้องลดรายจ่ายครึ่งหนึ่งและพคงพอแต่จ่ายเงินเดือนข้าราชการ แต่อาจจะกู้แบบชดเชยล่วงหน้า และจะเสียดอกเบี้ย ส่วนเงินคงคลังก็มีไม่มาก
ส่วนทางเลือกที่ 2 ถ้าใช้เงินนอกงบประมาณ ขายกองทุนวายุภักษ์ 346,000 ล้านบาท หรือเลือกระหว่างการล้วงกระเป๋าผู้ประกันตน และกองทุนประกันสังคม หรือการกู้แบงก์รัฐ กรอบการเงินคลังให้กู้ได้ 32% ของงบ ซึ่งสิ้นปี 65 วงเงินเหลือ 62,000 ล้านบาท ตอนนี้เหลือเพียง 18,000 ล้านบาท แต่คงไม่สง่างาม
อ่านข่าว ถ่ายทอดสด แถลงนโยบายรัฐบาลเศรษฐา 11-12 ก.ย.66
ประชุมสภาแถลงนโยบายรัฐบาลเศรษฐา 1 วันแรก
เตือน 5 ข้อรัฐบาลเศรษฐา
นอกจากนี้ยังมองความเสี่ยง 5 ข้อที่รัฐบาลเศรษฐาต้องระวัง คือการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งเศรษฐกิจไทยป่วยไม่ใช่แค่ให้แค่การปั้มหัวใจ แต่เป็นให้ยาสเตียรอยด์ ส่วนประเด็นกระจายรายได้ ต้องรอให้เค้กโตหรือโตไปด้วยกัน รวมทั้งเรื่องเศรษฐกิจผูกขาด รวมทั้งการคิดนโยบาย เป็นแค่การโยกเงินกระเป๋าซ้ายขวา หรือควรแก้ปัญหาที่ต้นตอ
ดิจิทัล 10,000 บาทกระตุ้นเศรษฐกิจให้จีดีพีโตได้ แต่ไม่ได้ทำเกษตรกรขุดแหล่งน้ำบรรเทาภัยแล้ง หรือได้เอกสารสิทธิ ไม่ได้ให้ส่งออก อยากให้รัฐบาลจัดลำดับความสำคัญ การบริหารราชการแผ่นดินไม่ใช่การพนัน ที่จะเทหมดหน้าตักแล้วไปหวังน้ำบ่อหน้า
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
เปิดคำแถลงนโยบาย "รัฐบาลเศรษฐา1" อะไรเร่งด่วน?