ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ไทยพบ 2 คนแรก "โอมิครอนกลายพันธุ์ HK.3" ยังไม่ชัดแพร่เชื้อเร็ว

สังคม
30 ส.ค. 66
14:30
5,181
Logo Thai PBS
 ไทยพบ 2 คนแรก "โอมิครอนกลายพันธุ์ HK.3" ยังไม่ชัดแพร่เชื้อเร็ว
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยืนยันพบ 2 คนแรก ติดโควิดโอมิครอนกลายพันธุ์ HK.3 เป็นคนไทยครอบครัวเดียวกัน ชายอายุ 65 ปีและเด็กหญิง 11 ปี ยังไม่ชัดแพร่เชื้อเร็วรอ 2 สัปดาห์

วันนี้ (30 ส.ค.2566) นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงอัปเดตสถานการณ์โรคโควิด-19 ว่า ขณะนี้พบการระบาดของสายพันธุ์ XBB.1.5, XBB.1.16, EG.5 ที่ระบาดในโลก และที่พบระบาดใหม่ EG.5 ในไทยก็เริ่มมีจำนวนสายพันธุ์ที่ตรวจพบจำนวน 23 คน ส่วนสายพันธุ์ที่ต้องจับตา BA.2.75 ,BA.2.86, CH.1.1 , XBB, XBB.1.9.1 และ XBB.1.9.2

แนวโน้มในโลกที่ทาง (GISAID) รายงานสถานการณ์ลดลงเพราะดีขึ้นมาก และในแต่ละสัปดาห์ตัวที่ลดลง XBB.1.5 แต่ที่ยังทรงๆตัว XBB.1.16 และ BA.2.75 ขณะที่ EG.5 กำลังขยับมาเป็นสายพันธุ์หลัก

สำหรับ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ที่เจอ EG.5 จำนวน 15 คนและล่าสุดอีก 8 คนและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในไทย นอกจากนี้ตัวที่เป็นหลักยังคงเป็น XBB.1.16

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังพบโอมิครอน HK.3 ซึ่งเป็น 2 คนแรกมาจากครอบครัวเดียวกัน สัญชาติไทย คือชายอายุ 65 ปี และเด็กหญิงอายุ 11 ปีจากพื้นที่ กทม. ส่วนที่มีข่าวก่อนหน้าว่ามี 3 คนเป็นความคลาดเคลื่อน

ประเทศไทยพบ 2 ราย เป็นครอบครัวเดียวกัน สัญชาติไทย อยู่ในกรุงเทพมหานคร เป็นเพศชาย อายุ 65 ปี และเพศหญิง อายุ 11 ปี ขณะนี้หายดีแล้ว ไม่ได้มีอาการหนักแต่อย่างใด 

ยังไม่ชัดแพร่เชื้อเร็วกว่าสายพันธุ์ย่อยอื่น 

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า จุดสำคัญของ HK.3 นั้น พบการกลายพันธุ์ตรงโปรตีนหนาม เปลี่ยนตำแหน่ง 455 จาก L ไปเป็น F และบางส่วนสลับจาก F ไปเป็น L โดยมีข้อสันนิษฐานว่า จะเพิ่มความสามารถในการเข้าสู่เซลล์ แพร่เชื้อเร็วขึ้น หรือหลบภูมิคุ้มกันได้มากขึ้นหรือไม่ ตรงนี้ยังไม่ชัดเจน ต้องติดตามข้อมูล

ส่วนที่มีการพูดกันถึงภาพรวมการติดเชื้อ HK.3 ว่า จะติดเชื้อเร็วกว่าเดิมร้อยละ 66 ส่วนประเทศไทยจะติดเชื้อเร็วกว่าสายพันธุ์ XBB.1.16 ถึงร้อยละ 95 ต้องรอกติดตามอีก 2 สัปดาห์ จึงจะบอกได้มากขึ้น

ส่วนสายพันธุ์ BA.2.86 ที่พบ 21 คน ส่วนในไทยมีนักวิทยาศาสตร์ Dr.Leshan ไปสุ่มตรวจน้ำเสียเก็บจากพื้นที่กทม. ในช่วงปลายเดือนก.ค.ที่ผ่านมา และนำมาถอดรหัสพันธุกรรมเพื่อหาเชื้อ ระบุว่า มีสายพันธุ์ BA.2.86

ของไทยพบแต่ในน้ำเสีย ไม่ได้พบในผู้ป่วยแม้แต่รายดี แต่ยังต้องเฝ้าระวัง   

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง