ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"วันนอร์" เคาะอภิปรายโหวตนายกฯ 5 ชม. ไม่ต้องแสดงวิสัยทัศน์

การเมือง
18 ส.ค. 66
13:10
566
Logo Thai PBS
"วันนอร์" เคาะอภิปรายโหวตนายกฯ 5 ชม. ไม่ต้องแสดงวิสัยทัศน์
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"วันนอร์" เผยมติวิป 3 ฝ่าย กรอบเวลาโหวตนายกฯ 22 ส.ค. นี้ ให้ สส.-สว. อภิปรายรวม 5 ชั่วโมง ผู้ถูกเสนอชื่อไม่ต้องแสดงวิสัยทัศน์ พร้อมระบุ "รังสิมันต์" เสนอญัตติด่วนทบทวนเสนอชื่อซ้ำได้ แต่ยึดคำวินิจฉัยศาล รธน. ไม่สั่งให้สภาฯ ทบทวน เตรียมใช้อำนาจประธานปัดตก

วันนี้ (18 ส.ค.2566) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา กล่าวภายหลังประชุม 3 ฝ่ายว่า การประชุมร่วมกันของรัฐสภาในวันที่ 22 ส.ค. เพื่อโหวตนายกรัฐมนตรีจะเริ่มขึ้นในเวลา 10.00 น. และจะใช้เวลาในการอภิปรายไม่เกิน 5 ชั่วโมง แบ่งเป็น สว. 2 ชั่วโมง สส.ไม่เกิน 3 ชั่วโมง คาดว่า จะลงมติได้ในเวลา 15.00 น. ซึ่งจะเสร็จสิ้นในเวลา 17.30 น. โดยประมาณ

ส่วนผู้ที่ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี จะต้องแสดงวิสัยทัศน์หรือไม่นั้น นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า ที่ประชุมได้รับแจ้งจากฝ่ายกฎหมายของสภาฯ ว่า รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดไว้ว่าให้ต้องมาแสดงวิสัยทัศน์ อีกทั้งข้อบังคับก็ไม่ได้กำหนดไว้ รวมทั้งที่ประชุมของคณะกรรมาธิการที่ร่างข้อบังคับดังกล่าว ได้แสดงเจตนารมณ์ไว้ว่า ไม่ต้องให้มาแสดงวิสัยทัศน์ นอกจากนี้ ในการประชุมรัฐสภาเมื่อปี 2563 ก็มีมติว่า ไม่จำเป็นต้องแสดงวิสัยทัศน์ ดังนั้น ประธานรัฐสภาในขณะนั้น จึงยืนยัน ว่าต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและข้อบังคับ คือ เมื่อมีชื่อของบุคคลภายนอก ก็ไม่จำเป็นต้องให้มาแสดงวิสัยทัศน์

สำหรับวาระการประชุมในวันที่ 22 ส.ค.นี้ มีเรื่องที่เลื่อนจากการประชุมครั้งที่แล้ว เรื่องแรกญัตติด่วน ขอให้มีการทบทวนการเสนอชื่อซ้ำของนายรังสิมันต์ โรม ซึ่งที่ประชุมวิป 3 ฝ่ายเห็นด้วยว่า ให้นายรังสิมันต์ได้เสนอเจตนารมณ์ของการเสนอญัตติ แต่ก็เห็นด้วยว่าในข้อบังคับ ข้อ 151 ไม่สามารถนำมาทบทวนได้ ซึ่งหากนำมาทบทวนจะเกิดปัญหาว่า มติของรัฐสภา สามารถทบทวนได้เรื่อยๆ จะทำให้เกิดปัญหาต่อความน่าเชื่อถือ ต่อมติรัฐสภา

ดังนั้น ที่ประชุมวิป 3 ฝ่าย เห็นว่า เมื่อได้มีการเสนอเรื่องนี้ ขอให้ใช้อำนาจของประธานรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 80 และ ข้อบังคับที่ 5 และ 151 ไม่รับเป็นญัตติด่วน แต่นำมาเสนอได้ เพราะจะมีผลกระทบต่อญัตติที่ลงไปแล้วและญัตติอื่นๆถ้ามีการทบทวนก็จะมีปัญหาขึ้นมาใหม่ อีกทั้งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ได้บอกให้สภาต้องทบทวนในสิ่งที่พิจารณาไปแล้ว ดังนั้น ก็จะดำเนินการตามนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

"โรม" ไม่ทวงถาม "หมอชลน่านลาออก" หลังดึงพรรคลุงร่วมรัฐบาล

"ปริญญา" สรุป 3 ปัญหากฎหมาย ปมไม่รับคำร้องเสนอชื่อนายกฯ ซ้ำ

ชาวเน็ตแห่ถาม ชลน่านลาออกกี่โมง หลังจับมือรวมไทยสร้างชาติ

ดีลจบ! รวมไทยสร้างชาติร่วมเพื่อไทย ตั้งรัฐบาล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง