วันนี้ (19 ก.ค.2566) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการประชุมรัฐสภาครั้งที่ 2 เพื่อพิจารณาโหวตนายกรัฐมนตรี ซึ่งนายสุทิน คลังแสง สส.พรรคเพื่อไทย เสนอชื่อนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เป็นนายกรัฐมนตรคนที่ 30 และมีการรับรองชื่อจำนวน เวลา 09.50 น.นายวันนอร์ รายงานผลลงคะแนนรับรองเสนอชื่อ “พิธา” นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 รวม 304 คน ถือว่ารับรองถูกต้อง
ถ่ายทอดสด โหวตนายกรอบ 2 “พิธา” ว่าที่นายกฯ คนที่ 30 | 19 ก.ค. 66
โดยหลังเปิดประชุมผ่านไป 1 ชั่วโมงเศษที่ประชุมยังถกเดือดอย่างต่อเนื่อง หลังจากนายอัครเดช วงษ์พิทักษ์โรจน์ พรรคร่วมไทยสร้างชาติ ลุกขึ้นประท้วงนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร
โดยระบุว่า รัฐสภากำลังทำผิดข้อบังคับที่ 41 ที่บัญญัติว่าญัตติใดที่ตกไปแล้วห้ามเสนออีกในสมัยประชุมเดียวกัน ยกเว้นญัตติที่ยังไม่ลงมติ และได้มีการลงมติเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่งของรัฐสภา
ดังนั้นการที่สภาบัญญัติไว้ จึงถือเป็นกฎหมาย สถานะเทียบเท่าพ.ร.บ.และเป็นกฎหมายที่ต้องยึดถือปฏิบัติ
ทำให้นายรังสิมันต์ โรม สส.พรรคก้าวไกล ลุกขึ้นประท้วง ระบุว่ากรณีนี้เป็นการดำเนินการตามระเบียบวาระของที่ประชุมในการเลือกนายกฯ ส่วนที่ผู้อภิปรายหารือเรื่องการยื่นญัตติซ้ำนั้น ไม่ถูกต้อง สุ่มเสี่ยงผิดขั้นตอนรัฐธรรมนูญ
ขอให้ประธานรัฐสภา ต้องวินิจฉัย เพราะกรณีนี้กำลังทำหน้าที่ตามข้อบังคับ ตามวาระการประชุมเสนอชื่อ “พิธา” เป็นนายกฯ ที่ประธานบรรจุเข้ามา
ขณะที่ประธานรัฐสภา ระบุว่า การอภิปรายดังกล่าวยังอยู่ในข้อบังคับ ทำให้นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ สส.เพื่อไทย ระบุว่า ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการแสดงตนและรับรองญัตติก่อน จึงเดินหน้าอภิปรายว่าการเสนอชื่อนายพิธา ขัดข้อบังคับที่ 41 หรือไม่
เมื่อที่ประชุมเสนอญัตติใด ให้ใช้กลไกที่จะเดินได้ปมปัญหาอาจใช้รัฐสภา ในการตัดสินใช้ 151 ในการตีความ เพื่อให้เดิกันต่อและถกกันว่าเข้าตามข้อบังคับที่ 41 หรือไม่
ทำให้นายอัครเดช ระบุว่าการเสนอชื่อ “พิธา” เป็นนายกฯ และการเสนอญัตติซ้อนญัตติ โดยไม่มีหลักการ แต่เป็นญัตติข้อบังคับสภา และอ่านรธน.ไม่มีเขียนว่าเป็นญัตติในรธน.หรือญัตติในข้อบังคับ
อย่างไรก็ตาม นายสมชาย แสวงการ สว.ระบุว่า ขอให้สมาชิกเคารพมติ วิปที่เสนอให้อภิปราย 2 ชม.จะเห็นต่างไม่เป็นอะไร นอกจากนี้การบรรจุวาระเสนอชื่อตาม ม.272
จากนั้นนาย วิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.พรรคก้าวไกล ระบุว่า ตอนนี้กำลังถกผิดประเด็น อ้างว่ารัฐธรรมนูญใหญ่กว่าข้อบังคับ พร้อมระบุว่าการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลที่ถูกเสนอชื่อเป็นนายกฯ ไม่ใช่ญัตติ แต่เป็นข้อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
เช่นเดียวกับ นายเสรี สุวรรณภานนท์ สว.ขอให้พิจารณาว่าญัตติ หรือเรื่องที่เสนอพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลเป็นนายกฯ ไม่ใช่ญัตติ และส่วนตัวไม่เห็นด้วยที่เสนอพิธา เป็นนายกฯ เพราะขัดรัฐธรรมนูญและข้อบังคับ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
โหวตนายกฯ รอบ 2 : เริ่มแล้ว! ประชุมสภา 19 ก.ค.โหวตนายกฯ คนที่ 30
โหวตนายกฯ รอบ 2 : ข้อบังคับที่ 41 คืออะไร หลัง สว.งัดปิดทางโหวต "พิธา"
ติดตามผลคะแนนโหวตได้ที่ www.thaipbs.or.th/election66