ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สธ.ชี้กลุ่มอายุ 70 ปี ไม่ฉีดวัคซีน "โควิด" คร่าชีวิตสัปดาห์นี้ 36 คน

สังคม
26 มิ.ย. 66
13:58
15,010
Logo Thai PBS
สธ.ชี้กลุ่มอายุ 70 ปี ไม่ฉีดวัคซีน "โควิด" คร่าชีวิตสัปดาห์นี้ 36 คน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ปลัดสธ.ระบุผู้ป่วยโควิด-19 สัปดาห์ก่อน 1,653 คน เสียชีวิต 36 คน พบเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไปและไม่ได้ฉีดวัคซีน ยังเป็นโควิดโอมิครอนลูกผสม ด้าน "หมอธีระ" เทียบเคสญี่ปุ่น-สหรัฐฯ หลังปรับลดมาตรการแนวโน้มเพิ่ม

วันนี้ (26 มิ.ย.2566) กรมควบคุมโรค รายงานสถานการณ์โควิด-19 สัปดาห์ (วันที่ 18-24 มิ.ย.) ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล 1,653 คน เสียชีวิต 36 คน ผู้ป่วยปอดอักเสบ 265 คน ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 164 คน

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้สถาน การณ์โควิด-19 ทั่วโลกในช่วงเดือนที่ผ่านมา มีแนวโน้มพบผู้ติดเชื้อ และผู้เสียชีวิตลดลงอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับประเทศไทย สัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ผู้เสียชีวิตลดลง รวมทั้งพบการระบาดเป็นกลุ่มก้อนลดลงด้วย

แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ผู้เสียชีวิตเกือบทั้งหมดเป็นกลุ่ม 608 โดยเฉพาะผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป และยังไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 จึงขอให้ประชาชนยังคงมาตรการป้องกันตนเองเมื่อเข้าไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยง หรือมีกิจกรรมเสี่ยง เพราะอาจมีโอกาสได้รับเชื้อไม่รู้ตัวและนำไปแพร่ให้คนในบ้านได้ รวมทั้งสวมหน้ากากทุกครั้งเมื่ออยู่ใกล้ชิดกับผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัวเรื้อรัง และเด็กเล็ก

นอกจากนี้ ขอให้บุตรหลานนำสมาชิกในครอบครัวที่เป็นกลุ่ม 608 ไปฉีดวัคซีนโควิด-19 ประจำปี พร้อมวัคซีนไข้หวัดใหญ่ รวมถึงนำทั้งเด็กเล็กอายุ 6 เดือน–5 ปี ที่ไม่เคยฉีดวัคซีนโควิด-19 ไปฉีดวัคซีนเพื่อลดการเจ็บป่วยรุนแรงเสียชีวิต

ยังเฝ้าระวังโควิดโอมิครอนลูกผสม

นพ.โอภาส กล่าวว่า สำหรับสายพันธุ์โควิด-19 ในไทย พบว่าส่วนใหญ่ยังคงเป็นสายพันธุ์โอมิครอนลูกผสม ซึ่งความสามารถในการแพร่ระบาดและความรุนแรงไม่ได้เพิ่มขึ้น และยังสามารถตรวจหาเชื้อด้วย ATK และ RT-PCR ได้ ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะติดตามเก็บตัวอย่างจากผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วประเทศ ทั้งในชาวไทยและต่างชาติ เพื่อเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์อย่างต่อเนื่องต่อไป

ส่วนยาและเวชภัณฑ์ต่างๆ ยังมีเพียงพอกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ได้สั่งการให้กรมควบคุมโรคประเมินสถานการณ์ทางระบาดวิทยาในระยะต่อไป เพื่อเตรียมการสำรองยาและเวชภัณฑ์ให้เหมาะสมต่อไป

อ่านข่าวเพิ่ม WHO จับตาโอมิครอน "XBB.2.3" ทั่วโลกพบแล้วกว่า 7,000 คน

เช็กสถานะโควิด-19 ญี่ปุ่น-สหรัฐฯหลังปรับลดระดับ

ขณะที่ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิท ยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุว่า กวาดตาดู COVID-19 รอบโลก พบว่าโควิดสายพันธุ์ FU.1 ตรวจพบมากในจีน นอกจาก VOI และ VUM ตามที่ระบุใน list ของ WHO การเดินทางระหว่างประเทศที่มากขึ้นเร็วขึ้น จะเป็นปัจจัยที่ทำให้สายพันธุ์ย่อยต่างๆ ของโอมิครอน แพร่จากที่หนึ่งไปที่อื่นๆ ได้ง่าย

ไทยเคยมีการรายงานตรวจพบ FU.1 มาแล้วในช่วงที่ผ่านมา แต่ปรากฏการณ์ในจีนที่ตรวจพบสายพันธุ์ย่อยนี้มากขึ้น อาจบ่งถึงความเป็นไปได้ที่ FU.1 จะขยายตัวในไทยได้เช่นกัน

จำนวนรายงานสุ่มตรวจสายพันธุ์จากประเทศต่างๆ ที่ส่งเข้าสู่ระบบ GISAID มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสถานการณ์ไม่ดีนัก เนื่องจากจะส่งผลให้การติดตามเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์มีการประเมินสถานการณ์ได้ยากมากขึ้น

นพ.ธีระ กล่าวอีกว่า เคสเพิ่มขึ้น 3 เท่า หลังญี่ปุ่นลดระดับโควิด-19 เมื่อพ.ค.ที่ผ่านมา สื่อของประเทศญี่ปุ่นรายงานสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 ว่าหนักขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแถบโอกินาว่า 

ภาพรวมของญี่ปุ่น พบว่าหลังจากปรับโควิด-19 ไปเป็นโรคกลุ่มที่ 5 และผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคลงมาตั้งแต่วันที่ 8 พ.ค.จำนวนเคสเพิ่มขึ้นราว 3 เท่าเมื่อเทียบกับก่อนปรับนโยบาย
ข้อมูลรายงานสุ่มตรวจสายพันธุ์จากประเทศต่างๆ ที่ส่งเข้าสู่ระบบ GISAID มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง

ข้อมูลรายงานสุ่มตรวจสายพันธุ์จากประเทศต่างๆ ที่ส่งเข้าสู่ระบบ GISAID มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง

ข้อมูลรายงานสุ่มตรวจสายพันธุ์จากประเทศต่างๆ ที่ส่งเข้าสู่ระบบ GISAID มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่การป้องกันในสถานพยาบาลเป็นเรื่องจำเป็นล่าสุดมีข่าวการระบาดเป็น กลุ่มก้อนในสถานพยาบาล Beth Israel Deaconess Medical Center ในบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีผู้ติดเชื้อทั้งที่เป็นผู้ป่วยที่นอนรักษาตัว และบุคลากรทางการแพทย์ ทำให้ต้องมีการประกาศให้สวมหน้ากากป้องกันตัว

กรณีข้างต้นเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้น หลังจากมีการยุติ state public health emergency for COVID-19 ตั้งแต่ 11 พ.ค. ในสหรัฐอเมริกา ย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการตรวจคัดกรองโรค และมาตรการป้องกันตัว เพราะหากเกิดปัญหาระบาดขึ้น จะส่งผลทั้งต่อกลุ่มผู้ป่วยที่มักมีโรคประจำตัว และสถานะสุขภาพไม่ดีเป็นทุนเดิม เสี่ยงต่อการป่วยรุนแรงและเสียชีวิต

รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ ที่หากไม่เคร่งครัดป้องกันตัว นอกจากติดเชื้อส่งผลต่อสุขภาพของตนแล้ว ยังมีโอกาสแพร่ให้กับเพื่อนร่วมงาน และผู้ป่วย ที่ต้องได้รับการดูแลรักษาจากการปฏิบัติงานอีกด้วย

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ป่วยโควิดเข้า รพ.เพิ่ม ห่วงโควิดรุนแรงในเด็กอาจส่งผลต่อพัฒนาการ

"พิธา" หายโควิด เตรียมนำ ส.ส.ก้าวไกล รายงานตัว 27 มิ.ย.นี้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง