ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"ธรณ์" เผยภารกิจค้นหาและช่วยชีวิตลูกเรือ "ไททัน" ยิ่งกว่าปาฏิหาริย์

สังคม
22 มิ.ย. 66
12:52
1,968
Logo Thai PBS
"ธรณ์" เผยภารกิจค้นหาและช่วยชีวิตลูกเรือ "ไททัน" ยิ่งกว่าปาฏิหาริย์
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"ธรณ์" เผย ภารกิจค้นหาและช่วยชีวิตสุดยาก เหตุ "ไททัน" จมใต้มหาสมุทร เป็นการจมที่ลึกที่สุดขาดทั้งบุคลากรเชี่ยวชาญ และยานกู้ชีพและสภาพแวดล้อมของทะเลที่เป็นอุปสรรคอย่างมาก

วันนี้ (22 มิ.ย.66) นายธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอส ถึงการช่วยเหลือยานสำรวจไททัน ที่ขาดการติดต่อระหว่างสำรวจเรือไททานิกใต้มหาสมุทรแอตแลนติก โดยระบุว่า

กรณีนี้เหมือนงมเข็มในมหาสมุทร เพราะนี่คือปฏิบัติการกู้ภัยในที่ที่ลึกที่สุด เท่าที่เคยทำมา เมื่อหลายสิบปีก่อนเคยมีการช่วยเหลือกรณีที่ติดใต้น้ำแต่ไม่ถึง 1,000 เมตร และสามารถช่วยเหลือได้ ครั้งนี้จึงลึกที่สุด

นายธรณ์กล่าวว่า ขณะที่พื้นที่ที่ค้นหาแบ่งเป็น 3 จุด คือ 1.พื้นที่ผิวน้ำขนาด 2 เท่าของรัฐคอนเนตทิคัต (Connecticut) หรือ ราว 30,000 กว่า ตร.กม.

2.ยานสำรวจดังกล่าว ลอยอยู่กลางน้ำไม่ขึ้นสู่พื้นผิว แต่ก็ไม่ติดอยู่ข้างล่าง รวมถึงอาจลอยไปตามกระแสน้ำ

นอกจากนี้ ยานสำรวจลักษณะนี้เป็นยานสำรวจที่ไม่ใช้เรือดำน้ำ มีเครื่องยนต์ที่เล็กมากไม่สามารถสู้กระแสน้ำที่แรง หรือไม่สามารถวิ่งระยะไกลได้

3.ยานสำรวจติดอยู่กับพื้น หรือติดอยู่กับซากเรือ รวมถึงกระแสน้ำที่อาจซัดเรือไปกระแทกหรือปัจจัยอื่น ๆ

นายธรณ์ระบุว่า อุปสรรคในการค้นหาและช่วยเหลือยานสำรวจไททันเนื่องจากไม่มีผู้ชำนาญ หรือมีประสบการณ์ในพื้นที่ที่มีความลึกขนาดนี้ 

รวมถึง การหายานที่สามารถลงไปในความลึกขนาดนี้ได้ ซึ่งก็มีเพียงไม่กี่ลำและยานที่สามารถลงไปได้ก็เป็นยานสำรวจทั่วไปไม่ใช่ยานกู้ภัย

ดังนั้น ในภารกิจนี้จึงอาจนำยานสำรวจมาปรับเป็นยานกู้ภัย และยังมีข้อจำกัดของเวลาที่ขณะนี้เหลือเวลาไม่กี่ชั่วโมง ความมืดและการไม่สามารถติดต่อได้

ขณะที่เสียงที่ได้ยินตามที่รายงานนั้น ก็ยังไม่ชัดเจน ว่าเป็นเสียงจากยานสำรวจหรือไม่เพราะอาจมีหลายเสียงและวิเคราะห์เสียงได้ค่อนข้างยาก แต่อย่างน้อยก็เป็นความหวังเดียวที่ต้องตามหาต้นตอของเสียงให้ได้

นอกจากนี้ มหาสมุทรแอตแลนติก นั้นอยู่ไกลจากฝั่งมากเป็นทะเลเปิด มีคลื่นลม มีหมอก และอื่น ๆ และการที่อยู่ไกลฝั่งค่อนข้างจึงนำเรือไปถึงจุดเกิดเหตุยาก และเปรียบเทียบได้ยาก หรือหากจะเทียบก็ไกลกว่าเกาะสิมิลัน 10 เท่า

ผมไม่สามารถวัดปาฏิหาริย์มาเป็นเปอร์เซนต์ได้ มันเข้าข่ายเป็นปาฏิหาริย์ ซึ่งการค้นหานั้นเจออยู่แล้ว แต่นี่คือการค้นหาและช่วยชีวิต หลังจากนี้หากผ่านไปหลายวันแล้วไม่เจอ ก็จะเปลี่ยนจากภารกิจค้นหาและช่วยชีวิต เป็นภารกิจค้นหาเรือเฉย ๆ ซึ่งต่างกันในระดับของปฏิบัติการ

นายธรณ์ ยังกล่าวว่า เรือสำรวจลำดังกล่าวตั้งแต่แรกเป็นเรือที่ใช้ในการสำรวจเรือ หรือ ถ่ายทำภาพยนตร์ ถ่ายสารคดี หรือ สำรวจเพื่อความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และงานโบราณคดีใต้น้ำอื่น ๆ ต่อมาได้เปิดรับคนทั่วไปให้ลงมาด้วย เหตุผล คือ ไม่มีงบประมาณในการสำรวจ นี่จึงเป็นลักษณะกึ่งทัวร์

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

วิเคราะห์ : จับตาค้นหาเรือ "ไททัน" เทียบภารกิจกู้ภัยใต้ทะเลลึก 

เร่งค้นหายานดำน้ำ "ไททัน" สูญหายใต้ทะเล คลุมพื้นที่ 26,000 ตร.กม.  

ทีมค้นหาเรือดำน้ำ "ไททัน" ตรวจพบเสียงดังทุก 30 นาที   

ขยายพื้นที่ค้นหาเรือดำน้ำ "ไททัน" ออกซิเจนใกล้หมดวันนี้  

วิเคราะห์ : "เรือไททัน" ปลอดภัยแค่ไหน?  

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง