ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รู้จัก "สะกาย" รอยเลื่อนต้นเหตุแผ่นดินไหว 8.0 ในอดีตมีพลังแรงสุด

ภัยพิบัติ
19 มิ.ย. 66
12:39
2,707
Logo Thai PBS
รู้จัก "สะกาย" รอยเลื่อนต้นเหตุแผ่นดินไหว 8.0 ในอดีตมีพลังแรงสุด
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมทรัพยากรธรณี ชี้รายงานแผ่นดินไหว 6.0 สะเทือนอาคารสูงกทม.-ปริมณฑล 70 แห่งสูงสุดอาคาร 45 ชั้นเตี้ยสุด 4 ชั้น เหตุผล กทม.ชั้นดินอ่อนขยายแรงสั่นสะเทือน ระบุรอยเลื่อนสะกายยาว 1,500 กม.เคยเขย่าแรง 8.0 ในช่วงต้นรัชกาลที่ 3

กรณีแผ่นดินไหวจากขนาด 6.0 ความลึก 10 กิโลเมตรในเมียนมา แต่คนในอาคารสูงของ กทม.และนนทบุรี แรงสั่นสะเทือน รู้สึกได้เป็นวงกว้าง โดยมีรายงานอาฟเตอร์ช็อกขนาด 3.1 ครั้งเดียว เวลา 08.57 น.

วันนี้ (19 มิ.ย.2566) นายสุวิทย์ โคสุวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ว่า แผ่นดินไหวขนาด 6.0 ที่เมียนมาครั้งนี้ เกิดรอยเลื่อนสะกายของเมียนมา มีพฤติกรรมการเลื่อนตัวแบบระนาบเหลื่อมขวา (right-lateral strike-slip fault)ซึ่งมีอัตราการเคลื่อนตัวประมาณ 2 เซนติเมตรต่อปี

โดยยังถือเป็นรอยเลื่อนมีพลังมากที่สุดในผืนแผ่นดินใหญ่ประเทศในอาเซียน เทียบเท่ากับรอยเลื่อนซานแอนเดรียส (San Andreas Fault) ของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยรอยเลื่อนสะกายมีความยาว 1,500 กิโลเมตร และพาดผ่านตอนกลางของเมียนมา เทือกเขาหิมาลัย ผ่านลงมาถึง กรุงย่างกุง ยาวลงในอ่าวเบงกอล และทะเลอันดามัน

ในอดีตรอยเลื่อนสะกายเคยเกิดแผนดินไหวใหญ่ ในช่วงต้นรัชกาลที่ 3 กรุงรัตนโกสินทร์ขนาด 8.0 ในด้านตะวันตกนของเมืองมัณฑะเลย์ ที่ทำให้เจดีย์สำคัญพังถล่ม และแรงสะเทือนรับรู้ถึงภาคเหนือและกทม.

อ่านข่าวเพิ่ม ระทึก! แผ่นดินไหวเมียนมาขนาด 6.0 ตึกสูงกทม.-นนทบุรี สั่นไหว

ชี้กทม.ชั้นดินอ่อน-ขยายแรงสั่นสะเทือน

นายสุวิทย์ กล่าวอีกว่า สำหรับแผ่นดินไหวรอบนี้ขนาด 6.0 ศูนย์กลางที่เมียนมา ถือเป็นเกิดแผ่นดินไหวระยะไกลประมาณ 300 กิโลเมตร ทำให้บนตึกสูงใน กทม.นนทบุรี ที่อยู่บนอาคารตั้งแต่ไม่เกิน 10 ชั้นจนถึง 40 ชั้นขึ้นไปรับจึงรับรู้ถึงแรงสั่นไหวในช่วงสั้น 15-20 วินาที เนื่องจากกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่บนชั้นดินอ่อน จึงขยายแรงสั่นสะเทือนได้ และตอบสนองต่ออาคารสูงเท่านั้น

มีการรายงานประชาชนที่รับรู้ถึงแรงสั่นไหวแล้วอย่างน้อย 70 อาคารทั้งใน กทม.ปริมณฑล สูงสุดคืออาคารแถวเซนทรัลเวิลด์ที่มีความสูง 45 ชั้น ต่ำที่สุดชั้น 4 และระดับกลาง 20 ชั้น ส่วนตึกเตี้ยจะไม่ใครรู้สึกเลย แต่ถ้าสูงรูปทรงสูงชะลูดจะรับรู้แรงสั่นไหว

ผู้เชี่ยวชาญแผ่นดินไหว กรมทรัพยากรธรณี กล่าวอีกว่า ถึงแม้ว่าตึกสูงใน กทม.จะรับรู้แรงสั่่นไหว แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีความปลอดภัย เนื่องจากตึกสูงที่สร้างตั้งแต่ปี 2550 ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ทางกรมโยธาธิการและผังเมือง กำหนดให้ออกแบบรองรับแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวแล้ว จึงจะไม่มีความเสียหาย แต่เป็นความรู้สึกสั่นไหวเท่านั้น

ไม่อยากให้ประชาชนที่พักอาศัย และอยู่บนตึกสูงกลังวลใจต่อภัยพิบัติแผ่นดินไหว อาคารสูงมีการออกแบบรองรับแผ่นดินไหวแล้ว และตึกสูงจะมีระบบการเตือน และขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำถ้าเกิดแผ่นดินไหว

อัปเดต 22 จุดกทม.-2 อำเภอนนทบุรี

ล่าสุด กรมทรัพยากรธรณี อัปเดตแผ่นดินไหวครั้งนี้ ประชาชนสามารถรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว  22 เขตของกทม.ดังนี่ เขตดุสิต จตุจักร บางเขน สีลม ลาดพร้าว บางพลัด ราชเทวี ทุ่งครุ ปทุมวัน ห้วยขวาง หลักสี่ ดินแดง พญาไท คลองเตย ราษฎร์บูรณะ บางขุนเทียน หนองแขม คลองสาน สาทร บางรัก สวนหลวง คันนายาว

ส่วน จ.นนทบุรี คือ อ.ปากเกร็ด อ.เมือง ปทุมธานี เทศบาลนครรังสิต 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดสถิติ 10 ครั้งหลังสุดแผ่นดินไหวในไทย "ภาคเหนือ" บ่อยสุด

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง