ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"World Ocean Day" ฟื้นโลกสีคราม ในวันทะเลป่วย

สิ่งแวดล้อม
7 มิ.ย. 66
16:11
704
Logo Thai PBS
"World Ocean Day" ฟื้นโลกสีคราม ในวันทะเลป่วย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ทั่วโลกเคาะธีม “วันทะเลโลก” 8 มิ.ย.ปีนี้ ร่วมปลุกเปลี่ยน พลิกฟื้น คืนโลกสีคราม "อาจารย์ธรณ์" ชี้ภัยคุกคามโลกร้อน ทำปะการังฝั่งอ่าวไทยฟอกขาว สัตว์ทะเลหายากถูกคร่าชีวิตจากขยะ-เครื่องมือประมง 900 ตัวเกินครึ่ง "เต่าทะเล"

ภาพ “เต่าหญ้า” ที่มีขนาดกระดองกว้างถึงครึ่งเมตร เกยตื้นบริเวณหาดท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติเขาลำปีหาดท้ายเหมือง จ.พังงา แม้มันจะยังมีชีวิต แต่กลับสร้างความหดหู่ใจกับผู้ที่พบเห็น

สภาพเต่าหญ้าที่มีอาการอ่อนเพลีย มีพายหน้าด้านขวาขาดหาย เป็นสาเหตุให้มันถูกคลื่นซัดมาเกยตื้น สัตวแพทย์สันนิษฐานว่าเกิดจากติดเครื่องมือประมงรัดพายจนเกิดแผลเน่า และขาดลง

แม้จะเป็นเพียงสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่อาศัยในผืนมหาสมุทรของไทย แต่ข้อมูลนี้อาจบ่งชี้สัตว์ทะเลหายากที่ถูกคุกคามจากมนุษย์ โดยเฉพาะบ้านอันกว้างใหญ่ที่กลายเป็นแพขยะ และเครื่องมือประมง และกลายเป็นที่กลืนกินชีวิตของสัตว์ทะเลปีละหลายหมื่นชีวิตทั่วโลก

เต่าหญ้า เกยตื้นเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.นี้ที่อุทยานแห่งชาติเขาลำปีหาดท้ายเหมือง จ.พังงา มีอาการอ่อนเพลีย มีพายหน้าด้านขวาขาดหาย สาเหตุติดเครื่องมือประมง

"เต่าหญ้า" เกยตื้นเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.นี้ที่อุทยานแห่งชาติเขาลำปีหาดท้ายเหมือง จ.พังงา มีอาการอ่อนเพลีย มีพายหน้าด้านขวาขาดหาย สาเหตุติดเครื่องมือประมง

"เต่าหญ้า" เกยตื้นเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.นี้ที่อุทยานแห่งชาติเขาลำปีหาดท้ายเหมือง จ.พังงา มีอาการอ่อนเพลีย มีพายหน้าด้านขวาขาดหาย สาเหตุติดเครื่องมือประมง

นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นเมื่อปี 2552 องค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ต้องปลุกกระแสให้ประเทศสมาชิกกว่า 178 ประเทศ ร่วมปกป้องดูแลรักษาทะเล และมหาสมุทรอย่างพร้อมเพรียง โดยกำหนดให้ให้วันที่ 8 มิ.ย.ของทุกปี เป็น “วันทะเลโลก” หรือวันมหาสมุทรโลก (World Ocean Day)

โดยเริ่มต้นอย่างเป็นทางการในปี 2552 ภายใต้ธีมการขับเคลื่อนไม่ซ้ำกันมาอย่างยาวนานถึง 15 ปี สำหรับในปีนี้

Planet Ocean : Tides are Changing :เปลี่ยน พลิกฟื้น คืนโลกสีคราม คือคำขวัญรณรงค์ในปี 2566

ถ้อยแถลงของ Ban Ki-moon เลขาธิการสหประชาชาติ คนที่ 8 เมื่อปี 2552 ถูกส่งผ่านไปยังประชาคมโลก เรียกร้องให้รัฐบาลและประชาชนของทุกชาติช่วยกันปกป้องรักษาทะเล

พร้อมคำเตือนว่าในอนาคตทั่วโลก จะต้องเผชิญผลกระทบจากทะเลอย่างหนัก “ยูเอ็น” เรียกร้องทั่วโลกให้อนุรักษ์ทะเล และหากมีการใช้ทรัพยากรทางทะเลจนหมด จะทำให้เกิดผลกระทบจากสภาวะอากาศแปรปรวน

ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยทางทะเล เป็นปัญหาที่สำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ หลังพบว่าขยะในทะเลส่งผลกระทบมหาศาลต่อระบบนิเวศ  จำนวนสัตว์ทะเลหายาก ที่ได้รับบาดเจ็บจากการกินขยะพลาสติก ทำให้ติดบริเวณทางเดินอาหาร ส่งผลให้สัตว์ทะเลล้มตายจำนวนมาก

สัตวแพทย์และทช.นำ

สัตวแพทย์และทช.นำ

สัตวแพทย์และทช.นำ "เต่าหญ้า"มารักษาอาการบาดเจ็บ

สัตว์ทะเลหายากตายปีละ 900 ตัว

สอดคล้องข้อมูลจากสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) พบว่าในปีงบประมาณ 2566 (ต.ค.-มี.ค.) พบซากสัตว์ทะเลหายาก จำนวน 233 ตัว

ในจำนวนนี้เป็นเต่า 95 ตัว โลมาและวาฬ 123 ตัว พะยูน 15 ตัว ยังมีชีวิต 75 ตัว แบ่งเป็นเต่า 71 ตัว โลมาและวาฬ 3 ตัว และพะยูน 1 ตัว ส่วนสัตว์ที่ตาย 18 ตัว แบ่งเป็นเต่า 16 ตัว และโลมาและวาฬ 2 ตัว

โดยเมื่อรักษาและปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ 22 ตัว แบ่งเป็นเต่า 20 ตัว โลมาและวาฬ 1 ตัว และพะยูน 1 ตัว อัตราการรอดชีวิต 76% อัตราการช่วยเหลือสำเร็จ 29.33%

ส่วนตัวเลขขยะที่เก็บได้จากทะเลพบว่ามีมากถึง 128,563 ชิ้น คิดเป็นน้ำหนักขยะ 11 ตัน ในจำนวนนี้เป็นถุงพลาสติก 24% รองลงมา เศษโฟม 11% ถุงก็อบแก๊บ 10% ขวดเครื่องดื่ม 10% และถุงอาหาร 6%

ทะเลไม่ใช่แค่ป่วย-โลกร้อนเร่งปะการังพัง

ทะเลไม่ใช่แค่ป่วย แต่รอวันตาย แต่บางพื้นที่ปะการังฟอกขาว โดยเฉพาะฝั่งทะเลอ่าวไทย ทั้งในระยอง เกาะสมุย เกาะพะงัน ส่วนฝั่งอันดามันยังไม่กระทบมากนัก 

ธรณ์ ธำรงค์นาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ว่า ถ้าให้ประเมินสถานการณ์ทะเลไทย จาก 15 ปีก่อนของการรณรงค์วันทะเลโลก เปลี่ยนภัยคุกคามในอดีต ที่เกิดจากผลกระทบด้านการท่องเที่ยว แต่ช่วง 3-4 ปีนี้ คือปัญหาขยะทะเล สัตว์ทะเลหายาก ติดขยะตายปีละมากถึง 900 ตัว และครึ่งหนึ่งเป็นกลุ่มเต่าทะเลหายาก ที่กินขยะพลาสติก และติดเครื่องมือประมงตาย

ปีนี้ภาวะโลกร้อน ถือเป็นภัยคุกคามลำดับแรก เพราะอุณหภูมิน้ำทะเลช่วง เม.ย.-มิ.ย.นี้ ในฝั่งอ่าวไทยสูงเนื่องเกิน 32 องศาฯ จากการสำ รวจปะการังที่เกาะมันใน จ.ระยอง ที่เคยฟอกขาวเริ่มซีด และตายลงคาดว่าอัตรารอดแค่ 5-10%
อาจารย์ธรณ์ ระบุโลกร้อนทำให้ปะการังอ่อนแอ ฟอกขาวในฝั่งทะเลอ่าวไทย

อาจารย์ธรณ์ ระบุโลกร้อนทำให้ปะการังอ่อนแอ ฟอกขาวในฝั่งทะเลอ่าวไทย

อาจารย์ธรณ์ ระบุโลกร้อนทำให้ปะการังอ่อนแอ ฟอกขาวในฝั่งทะเลอ่าวไทย

ผู้เชี่ยวชาญด้านทะเล บอกอีกว่า ปัญหาภาวะโลกร้อนที่ส่งผลต่อปะการังฟอกขาว มันแก้ไขยาก เพราะต้องใช้การจัดการร่วมกันสิ่งที่จะช่วยได้คือการประทัง เช่น ถ้าปะการังฟอกขาวอ่อนแอ ก็ลดการใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวทางทะเลเริ่มคึกคัก นักท่องเที่ยวเริ่มมีหน่าแน่น

ภัยคุกคามที่รองลงมา คงหนีไม่พ้นปัญหาขยะทะเล ในช่วง 3-4 ปีที่ตั้งแต่ลูกพะยูนมาเรียมตาย ตอนนี้ขยะทะเลยังทรงตัว ไม่ได้เพิ่มและไม่ลด แม้จะมีมาตรการลดใช้ถุงพลาสติก แต่ยังไม่มีกฎหมายขยะบังคับใช้

ส่วนสัญญาณบวกจัดการพื้นที่คุ้มครองทางทะเลถือว่าดีขึ้นในระดับหนึ่ง อุทยานพื้นที่คุ้มครองทางทะเล ในหมู่เกาะราชา จ.ภูเก็ต และพยายามประกาศเพิ่มขึ้น เป้าหมายต้องอย่างน้อย 10% ภายในปี 2030 เป็นข้อตกลงทั่วโลก 

ส่วนการประกาศสัตว์คุ้มครองทางทะเล ปีนี้มีข่าวดีที่ประกาศคุ้มครองวาฬสีน้ำ เงิน รวมทั้งประกาศพื้นที่คุ้มครองพะยูน จ.ตรัง และคุ้มครองวาฬบรูด้า รวมทั้งโลมาอิรวดี ในทะเลสาบสงขลา 

ติดตามสถานการณ์สภาพแวดล้อม ภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไปกับไทยพีบีเอสใน 1.5องศาจุดเปลี่ยนโลก

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

โลกร้อนพ่นพิษ นับถอยหลัง 30 ปี ปะการังทั่วโลกตาย 90 %

ข่าวที่เกี่ยวข้อง