วันโรคหอบหืดโลก (World Ashma Day) ถูกกำหนดโดย Global Initiative for Asthma หรือ GINA ตั้งแต่ พ.ศ.2536 ให้ตรงกับวันอังคารแรกของเดือน พ.ค.ทุกปี จุดประสงค์ เพื่อให้ความสนใจกับโรคหอบหืดและสร้างความตระหนักรู้แก่ผู้คน เกี่ยวกับภาวะสุขภาพเรื้อรังและการรักษา
สำหรับปี 2566 ตรงกับวันอังคารที่ 2 พ.ค.
องค์การอนามัยโลก (WHO) นิยามโรคหอบหืด เป็นโรคระยะยาวที่ส่งผลกระทบต่อทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ภาวะนี้ทำให้เกิดการอักเสบและตึงตัวของกล้ามเนื้อรอบๆ ทางเดินหายใจเล็กๆ ในปอด ทำให้ทางเดินของอากาศแคบลง ส่งผลให้ผู้ที่เป็นโรคหอบหืด มีอาการไอ หายใจมีเสียงหวีด หายใจถี่ และแน่นหน้าอก
โรคหอบหืดมักถูกละเลยและไม่ได้รับการรักษาอย่างจริงจัง โดยเฉพาะในประเทศที่มีรายได้น้อยและปานกลาง แม้ว่าจะไม่มีวิธีรักษาโรคหอบหืด แต่ผู้ป่วยสามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยยาพ่น ซึ่งช่วยให้ผู้ที่เป็นโรคหอบหืดสามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติและลดอาการได้
กรมสุขภาพจิตห่วง ปชช.เสพข่าวความรุนแรง ทำระแวงสังคม
8 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคหอบหืด
- เป็นโรคทางเดินหายใจระยะยาว ทำให้เกิดการอักเสบและทางเดินหายใจในปอดตีบแคบลง
- มีคนต้องดำเนินชีวิตลำบาดด้วยโรคนี้ประมาณ 339 ล้านคนทั่วโลก
- พบได้บ่อยในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่
- ยังหาสาเหตุที่แน่ชัดไม่ได้ คาดว่าเกิดจาก ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม และ พันธุกรรม ร่วมกัน
- อาการทั่วไป ได้แก่ หายใจมีเสียงหวีด ไอ แน่นหน้าอก และ หายใจถี่
- อาจถูกกระตุ้นได้จากปัจจัยต่างๆ เช่น สารก่อภูมิแพ้ การออกกำลังกาย การติดเชื้อทางเดินหายใจ และมลพิษทางอากาศ
- ต้องใช้ยารักษา เช่น ยาขยายหลอดลม และคอยการเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตเพื่อเลี่ยงสิ่งเร้า
- หากมีการดูแลตัวเองดี ผู้เป็นโรคหอบหืดสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ
ที่มา : Indiatimes