ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

อะไรคือ? Sodium thiosulfate ยาแก้พิษไซยาไนด์

อาชญากรรม
28 เม.ย. 66
12:54
12,992
Logo Thai PBS
อะไรคือ? Sodium thiosulfate ยาแก้พิษไซยาไนด์
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
รู้จัก "โซเดียม ไทโอซัลเฟต" (Sodium thiosulfate) ที่พบในรถของแอม คดีวางยา พบเป็นยาแก้พิษ "ไซยาไนด์" มีฤทธิ์เปลี่ยนไซยาไนด์ให้เป็นพิษน้อยลง ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี ชี้ผู้ใช้ต้องเป็นบุคลากรแพทย์ และมีวิธีการใช้เฉพาะ

กรณี รศ.วีรชัย พุทธวงศ์ ภาควิชาเคมี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หนึ่งในผู้เชี่ยวชาญด้านสารเคมี ระบุผลตรวจสารในกล่องพัสดุคดีแอมไซยาไนด์ สั่งซื้อทางออนไลน์ พบเป็นโซเดียม ไทโอซัลเฟต (Sodium thiosulfate) ใช้แก้พิษไซยาไนด์  

ไทยพีบีเอสออนไลน์ ตรวจสอบข้อมูลจาก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี ระบุว่า Sodium thiosulfate 

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาให้ sulfur group แก้ไซยาไนด์ ที่ถูกดึงออกมาจากไซโทโครม (cytochrome) เพื่อเปลี่ยนไซยาไนด์ ให้เป็นไทโอไซยาเนต (thiocyanate) ซึ่งเป็นพิษน้อยกว่าแล้วถูกขับออกทางไต เป็นยาที่ค่อนข้างปลอดภัย ใช้ร่วมกับไนไตรท์ (nitrite) ในผู้ป่วยที่เกิดภาวะเป็นพิษจากไซยาไนด์ใช้ร่วมกับ nitrite ในผู้ป่วยที่เกิดภาวะเป็นพิษจากไซยาไนด์ 

ข้อมูลเพิ่ม 

  • ข้อบ่งใช้ภาวะไซยาไนด์ เป็นพิษเฉียบพลัน
  • ข้อห้ามใช้ ไม่มี
  • อาการไม่พึงประสงค์ แสบร้อนบริเวณที่ฉีด
  • ปฏิกิริยาต่อยาอื่น ไม่พบ

ขนาดและวิธีใช้ "โซเดียม ไทโอซัลเฟต" มีดังนี้ ผู้ใหญ่ 12.5 g (50 มิลลิลิตรของสารละลาย 25%) ฉีดเข้าเส้นเลือดดำช้าๆ เด็ก 400 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (1.6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมของ 25% สารละลาย) ให้ได้ถึง 50 มิลลิลิตร ให้ซ้ำได้ใน 30-60 นาที

อ่านข่าวเพิ่ม อ.อ๊อด เปิดผลตรวจสารในกล่องพัสดุ "แอม" ใช้แก้พิษไซยาไนด์

ศูนย์พิษวิทยา ระบุ "โซเดียม ไทโอซัลเฟต" ต้องผู้เชี่ยวชาญใช้

ไทยพีบีเอสออนไลน์ สอบถามไปที่ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี ระบุว่า "โซเดียม ไทโอซัลเฟต" เป็นหนึ่งในตัวยาในโครงการของยาต้านพิษของศูนย์พิษวิทยา ซึ่งการสั่งซื้อยาต้องผ่านทางสภากาชาดไทย ยาที่สั่งมาจะเป็นยาที่พร้อมใช้สำหรับบุคลากรแพทย์ และมีสต็อกยาเพียงพอที่ส่งให้กับโรงพยาบาลต่างๆทั่วประเทศ 

ผู้ที่ใช้ยาตัวนี้ ต้องเชี่ยวชาญเพราะยามีความเข้มข้น ยาตัวนี้พร้อมฉีดให้กับผู้รับพิษโดยบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น เพราะมีข้อจำกัดและวิธีการใช้เฉพาะ

สำหรับไทย คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้บรรจุให้ยาโซเดียม ไทโอซัลเฟต อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นยาแก้พิษไซยาไนด์ และใช้เป็นยาทาเพื่อรักษาโรคเชื้อราที่ผิวหนัง การใช้ยานี้ได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และเกิดประโยชน์สูงสุดจะต้องเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์

สพฉ.แนะวิธีปฐมพยาบาลผู้รับสารพิษไซยาไนด์

ขณะที่เพจเฟซบุ๊ก สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ -สพฉ.1669 ยังแนะนำวิธีการปฐมพยาบาลผู้รับสารพิษไซยาไนด์ โดยระบุว่า ไซยาไนด์ สารเคมีอันตราย ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทอง การสังเคราะห์ทางอินทรีย์ และการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า โดยเฉพาะยาฆ่าแมลง ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

สามารถแบ่งลักษณะได้เป็น 3 รูปแบบ คือ 1.ลักษณะเป็นเกล็ดของแข็งผลึกสีขาวสามารถละลายน้ำได้ดีมาก 2.ลักษณะเป็นของเหลวสีใส และ 3.ลักษณะเป็นแก๊ส ซึ่งจัดอยู่ในรูปของสารประกอบ โพแทสเซียมไซยาไนด์ โซเดียมไซยาไนด์ และไฮโดรเจนไซยาไนด์ มีกลิ่นจางๆ คล้ายอัลมอนด์

เป็นสารที่มีพิษสูง เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ โดยเมื่อได้รับสารไซยาไนด์ สารเข้าสู่ร่างกายแค่ 0.3 มิลลิกรัม ก็สามารถทำให้เสียชีวิตได้

อาการเมื่อได้รับสารเข้าสู่ร่างกายการในปริมาณต่ำ จะทำให้เกิดอาการปวดศรีษะ วิงเวียน สับสนเล็กน้อย ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน หรือการระคายเคืองบริเวณที่สัมผัส

แต่หากได้รับสารเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมาก จะทำให้มีอาการเกี่ยวกับระบบการหายใจ ทำลายระบบการสร้างพลังงาน ระดับเซลล์ ทำให้เกิดการพร่องออกซิเจน ระดับเซลล์ โดยปกติ ร่างกายสมองและหัวใจต้องการออกซิเจนและพลังงาน ถ้ากระบวนการนี้เสีย เป็นสาเหตุให้เสียชีวิตเฉียบพลันได้ ให้โทร 1669 และนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด  

อ่านข่าวเพิ่ม ค้นบ้านพี่สาว "แอม" พบสมุนไพร-แคปซูล รอผลพิสูจน์ไซยาไนด์

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อได้รับสารไซยาไนด์

  • หากสัมผัสไซยาไนด์ทางผิวหนัง ให้รีบถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนสารออก แล้วล้างทำความสะอาดด้วยน้ำสบู่
  • หากสัมผัสทางดวงตา ให้ใช้น้ำสะอาดล้างตาอย่างน้อย 10 นาที
  • ในกรณีที่ผู้ป่วยหยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น ให้ทำ CPR แต่ “ห้ามใช้วิธีเป่าปาก” เพื่อป้องกันผู้ช่วยเหลือได้รับพิษ

สำหรับ ไซยาไนด์ จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามพ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 บทลงโทษ ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออกหรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 โดยมิได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไซยาไนด์? หาไม่ได้ในร้านขายยา-แต่ช่องโหว่ร้านค้าออนไลน์

วันแรกในเรือนจำ "แอม" เครียด-ความดันขึ้น" เข้ารพ.ราชทัณฑ์ 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง