วันนี้ (20 เม.ย.2566) กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ไทยมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ เนื่องจากความกดอากาศต่ำจากความร้อนปกคลุมไทยตอนบน ขณะที่ลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมไทยตอนบน ทำให้ไทยตอนบนยังมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด รวมถึงระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่อาจจะเกิดขึ้น
- ภาคเหนือ อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ และตาก อุณหภูมิสูงสุด 39-42 องศาเซลเซียส
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศร้อนถึงร้อนจัดโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณหนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ และศรีสะเกษ อุณหภูมิสูงสุด 40-41 องศาเซลเซียส
- ภาคกลางอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง ส่วนมากบริเวณกาญจนบุรี อุณหภูมิสูงสุด 38-41 องศาเซลเซียส
- ภาคตะวันออก อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณสระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส
- ภาคใต้ฝั่งตะวันออก อากาศร้อนในตอนกลางวัน ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากบริเวณพัทลุง สงขลา ยะลา และนราธิวาส, ภาคใต้ฝั่งตะวันตก อากาศร้อนในตอนกลางวัน ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณกระบี่ ตรัง และสตูล ทะเลคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส
- กรุงเทพและปริมณฑล อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน อุณหภูมิสูงสุด 34-40 องศาเซลเซียส
ส่วนลมตะวันตกเฉียงเหนือและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง
นอกจากนี้ ไทยตอนบนมีการสะสมของฝุ่นละออง หมอกควัน อยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงมาก เนื่องจากการระบายอากาศไม่ดี ส่วนภาคใต้มีการสะสมน้อย เนื่องจากการระบายอากาศในบริเวณดังกล่าวยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี