ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

นิด้าโพล หนุน "อุ๊งอิ๊ง" นั่งนายกฯ "พิธา" รั้งอันดับ 2 - "ประยุทธ์" ที่ 3

การเมือง
16 เม.ย. 66
10:48
1,467
Logo Thai PBS
นิด้าโพล หนุน "อุ๊งอิ๊ง" นั่งนายกฯ  "พิธา" รั้งอันดับ 2 - "ประยุทธ์" ที่ 3
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
นิด้าโพล ร้อยละ 35.70 หนุน "อุ๊งอิ๊ง" นั่งนายกฯ รองลงมา "พิธา" ขณะที่ "พล.อ.ประยุทธ์" อันดับที่ 3 - เลือกกาพรรคเพื่อไทย ทั้ง แบบแบ่งเขตและแบบบัญชีรายชื่อ

วันนี้ (16 เม.ย.2566) ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง "ศึกเลือกตั้ง 2566 ครั้งที่ 2" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 3-7 เม.ย.2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง  

จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งครั้งนี้ พบว่า

  • อันดับ 1 ร้อยละ 35.70 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊ง) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย)
  • อันดับ 2 ร้อยละ 20.25 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล)
  • อันดับ 3 ร้อยละ 13.60 ระบุว่าเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ)
  • อันดับ 4 ร้อยละ 6.10 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้
  • อันดับ 5 ร้อยละ 6.05 ระบุว่าเป็น นายเศรษฐา ทวีสิน (พรรคเพื่อไทย)
  • อันดับ 6 ร้อยละ 4.15 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย)
  • อันดับ 7 ร้อยละ 3.45 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย)
  • อันดับ 8 ร้อยละ 2.55 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย)
  • อันดับ 9 ร้อยละ 2.20 ระบุว่าเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์)
  • อันดับ 10 ร้อยละ 1.95 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า)
  • อันดับ 11 ร้อยละ 1.45 ระบุว่าเป็น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย)
  • ร้อยละ 2.55 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์) น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม (พรรคไทยภักดี) นายเทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนากล้า) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พรรคประชาธิปัตย์) นายชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์) และนายบุญรวี ยมจินดา (พรรครวมใจไทย)

สำหรับพรรคการเมืองที่ประชาชนจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต พบว่า

  • อันดับ 1 ร้อยละ 47.20 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย
  • อันดับ 2 ร้อยละ 21.20 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล
  • อันดับ 3 ร้อยละ 10.80 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ
  • อันดับ 4 ร้อยละ 4.75 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์
  • อันดับ 5 ร้อยละ 3.75 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย
  • อันดับ 6 ร้อยละ 2.75 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ
  • อันดับ 7 ร้อยละ 2.15 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย
  • อันดับ 8 ร้อยละ 2.10 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ
  • อันดับ 9 ร้อยละ 2.05 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย
  • อันดับ 10 ร้อยละ 1.50 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า
  • ร้อยละ 1.75 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคกล้า พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคประชาชาติ พรรคไทยภักดี พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคสร้างอนาคตไทย และพรรคเทิดไท

ส่วนพรรคการเมืองที่ประชาชนจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พบว่า

  • อันดับ 1 ร้อยละ 47.00 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย
  • อันดับ 2 ร้อยละ 21.85 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล
  • อันดับ 3 ร้อยละ 11.40 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ
  • อันดับ 4 ร้อยละ 4.50 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์
  • อันดับ 5 ร้อยละ 3.00 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย
  • อันดับ 6 ร้อยละ 2.65 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย
  • อันดับ 7 ร้อยละ 2.35 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ
  • อันดับ 8 ร้อยละ 2.10 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย
  • อันดับ 9 ร้อยละ 1.80 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ
  • อันดับ 10 ร้อยละ 1.55 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า
  • ร้อยละ 1.80 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคกล้า พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคประชาชาติ พรรคไทยภักดี พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคสร้างอนาคตไทย และพรรคเทิดไท

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง

  • ร้อยละ 8.60 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ
  • ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง
  • ร้อยละ 17.95 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ
  • ร้อยละ 33.45 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ร้อยละ 13.75 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้
  • ร้อยละ 7.70 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก 

ส่วนช่วงอายุกลุ่มตัวอย่าง

  • ร้อยละ 12.90 อายุ 18-25 ปี
  • ร้อยละ 17.80 อายุ 26-35 ปี
  • ร้อยละ 18.95 อายุ 36-45 ปี
  • ร้อยละ 26.65 อายุ 46-59 ปี
  • ร้อยละ 23.70 อายุ 60 ปีขึ้นไป 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

"ซูเปอร์โพล" กางข้อมูลใหม่ แลนด์สไลด์ไม่มีอยู่จริง

จับตาพรรคการเมือง บลัฟนโยบาย "ตัวเลข" แจก-จ่าย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง