ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

อิสราเอลสร้างหุ่นยนต์ไฮบริดขนาดจิ๋ว ช่วยตรวจจับเซลล์ที่ผิดปกติในร่างกาย

Logo Thai PBS
อิสราเอลสร้างหุ่นยนต์ไฮบริดขนาดจิ๋ว ช่วยตรวจจับเซลล์ที่ผิดปกติในร่างกาย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
นักวิจัยชาวอิสราเอลพัฒนาหุ่นยนต์ไมโครไฮบริดขนาดจิ๋ว ช่วยตรวจจับและวิเคราะห์เซลล์ที่มีความผิดปกติในร่างกาย โดยสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย

การพัฒนาความสามารถของหุ่นยนต์ขนาดเล็กในการเคลื่อนที่อย่างอิสระ นั้นได้รับแรงบันดาลใจจากนักว่ายน้ำขนาดเล็ก เช่น แบคทีเรีย เซลล์ และสเปิร์ม โดยเป็นพื้นที่การวิจัยเชิงนวัตกรรมที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และพร้อมนำไปใช้งานได้อย่างหลากหลายในด้านต่าง ๆ เช่น การแพทย์และสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล ได้พัฒนาหุ่นยนต์แบบไฮบริดขนาดเล็ก ซึ่งมีขนาดเท่าเซลล์ชีวภาพ ที่สามารถควบคุมได้โดยใช้กลไกไฟฟ้า และแม่เหล็ก หุ่นยนต์ขนาดเล็กนี้สามารถนำทางเซลล์ต่าง ๆ ในทางชีวภาพ เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างเซลล์ประเภทต่าง ๆ และระบุว่าเซลล์เหล่านั้นมีสุขภาพดีหรือเป็นโรค เมื่อดักจับได้แล้ว หุ่นยนต์จิ๋วจะทำการย้ายหรือขนส่งเซลล์ที่ต้องการไปทำการวิเคราะห์เพิ่มเติม เช่น การวิเคราะห์ทางพันธุกรรม

นักวิจัยใช้หุ่นยนต์ไมโครไฮบริดขนาดเล็กนี้ในการตรวจจับเลือด เซลล์มะเร็ง แบคทีเรีย และยังแสดงให้เห็นว่ามันสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างเซลล์ที่มีชีวิตในระดับต่าง ๆ ได้ เช่น เซลล์ที่แข็งแรง เซลล์เสียหายจากยา หรือเซลล์ที่กำลังจะตาย ซึ่งหุ่นยนต์ไมโครไฮบริดขนาดเล็กยังตรวจจับเซลล์ที่ไม่รู้จัก โดยสามารถระบุประเภทของเซลล์ และสถานะของเซลล์ เช่น ระดับความสมบูรณ์ โดยใช้กลไกการตรวจจับในตัวตามคุณสมบัติทางไฟฟ้าเฉพาะของเซลล์ หลังจากระบุเซลล์ที่ต้องการแล้ว หุ่นยนต์ไมโครไฮบริดขนาดเล็กจะตรวจจับเซลล์ และย้ายไปยังตำแหน่งที่สามารถวิเคราะห์เพิ่มเติมได้

หุ่นยนต์ไมโครไฮบริด สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยตัวเอง หรืออาศัยการควบคุมจากภายนอกก็ได้เช่นกัน โดยกลไกการทำงานมีด้วยกัน 2 ระบบ คือ ระบบแม่เหล็ก และระบบไฟฟ้า จึงเป็นระบบการเคลื่อนที่แบบไฮบริดที่ดึงเอาข้อดีของแต่ละระบบมารวมเข้าด้วยกัน การพัฒนาในครั้งนี้ทำให้เกิดความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างมากใน 2 ด้าน คือ การขับเคลื่อนแบบไฮบริด และการนำทางด้วย 2 กลไกที่แตกต่างกัน

ที่มาข้อมูล: newatlas, tau, sciencedaily, i24news
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง