ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สธ.เฝ้าระวัง 3 กลุ่มอาการเสี่ยงสัมผัสสาร "ซีเซียม-137"

สังคม
20 มี.ค. 66
15:55
1,174
Logo Thai PBS
สธ.เฝ้าระวัง 3 กลุ่มอาการเสี่ยงสัมผัสสาร "ซีเซียม-137"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สธ.สั่งจับตา 3 กลุ่มอาการหวั่นได้รับผลกระทบจากซีเซียม-137 เบื้องต้นยังไม่พบผู้ป่วยในพื้นที่ จ.ปราจีนบุรี นับตั้งแต่มีข่าวซีเซียมหาย

วันนี้ (20 มี.ค.2566) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงการติดตามซีเซียม-137 ที่ จ.ปราจีนบุรี ว่า ขณะนี้รอความชัดเจนจากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติว่าปัจจุบันมีการหลอมแท่งซีเซียมแล้วหรือไม่ รวมถึงพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบ

เบื้องต้น จับตา 3 กลุ่มอาการในจังหวัดที่อาจมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับซีเซียม ได้แก่ 1.อาการทางผิวหนัง เนื้อเยื่อ ว่ามีการระคายและเกิดอาการเนื้อตายหรือเปล่า 2.คนมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ และ 3.กลุ่มอื่นๆ เช่น มีเม็ดเลือดขาวผิดปกติเป็นกลุ่มก้อน เนื่องจากเม็ดเลือดขาวคุณสมบัติแบ่งเซลล์ไว

ส่วนการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ต้องรอให้สำนักงานปรมาณูฯ ระบุความชัดเจนก่อน ซึ่งมาตรการเฝ้าระวังของ สธ. ยังระบุเวลาที่แน่ชัดไม่ได้ จนกว่าสำนักงานปรมาณูฯ จะออกประกาศการควบคุมออกมา ซึ่งอนุภาคของกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่สามารถประเมินได้ด้วยตาเปล่า ต้องใช้เครื่องมือวัดอนุภาคของสารเท่านั้น

นพ.โอภาส กล่าวอีกว่า นับตั้งแต่มีการแจ้งว่า ซีเซียม-137 หายไปตั้งแต่วันที่ 10 มี.ค.ที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้ยังไม่มีรายงานผู้ป่วยในพื้นที่ จ.ปราจีนบุรี

สำหรับอนุภาคของสารซีเซียม-137 มีค่าครึ่งชีวิตนานถึง 30 ปี หมายความว่าสารดังกล่าวสลายไปได้ร้อยละ 50 ต้องใช้เวลานานถึง 30 ปี ขณะที่การวัดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม สธ.ไม่สามารถทำได้ ต้องใช้เครื่องมือของสำนักงานปรมาณูฯ ส่วนการวัดว่าคนได้รับผลกระทบจากอนุภาคของกัมมันตรังสี จะใช้การตรวจวัดจากปัสสาวะว่าสารดังกล่าวตกค้างในร่างกายหรือไม่ ซึ่งระบบการตรวจวัดต้องจำกัดคน จำกัดพื้นที่ ทำให้ห้องปฏิบัติการมีความรัดกุม

ก่อนหน้านี้ ไทยเคยประสบปัญหาโคบอลล์-60 เมื่อปี 2543 ขณะนั้นมีผู้เสียชีวิต 3 คน ได้รับผลกระทบอีกจำนวนหนึ่ง แต่ซีเซียม-137 แม้เป็นสารอันตรายแ ต่ความเข็มข้นน้อยกว่า ดังนั้นไม่ว่าคนร่างกายแข็งแรง เด็ก ผู้สูงอายุ หากสัมผัสก็อาจได้รับอันตรายได้ โดยปัจจัยของผลกระทบขึ้นอยู่กับระยะเวลาการสัมผัสและปริมาณของสารที่ออกมา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยืนยันถูกหลอมแล้ว แท่งเหล็กบรรจุ "ซีเซียม-137" ตรวจเลือดกลุ่มเสี่ยง

อันตราย? "ซีเซียม-137" ถูกหลอมเป็นฝุ่นแดง คน-ระบบนิเวศเสี่ยง

ย้อนไทม์ไลน์ แจ้ง-ค้นหาวัตถุกัมมันตรังสี "ซีเซียม-137"

ย้อนรอยโลกเผชิญ "ฝุ่นกัมมันตรังสี" จากซีเซียม-137

ข่าวที่เกี่ยวข้อง