วันนี้ (3เม.ย.2568) รศ.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รายงานตัวเลขคนทำงานในตึกสำนักงานตวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถล่มจากเหตุแผ่นดินไหวว่า จากเดิมเคยรายงานตัวเลขแรงงานที่ทำงานในตึกวันเกิดเหตุจำนวน 96 คน แต่ล่าสุดได้ตรวจสอบกับทางสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ใหม่ทำให้พบว่ามีแรงงานทำงานในตึกขณะแผ่นดินไหว 103 คนส่วนตัวเลขผู้เสียชีวิตคงเดิม 15 คน สูญหาย 81 คน
นอกจากนี้ยังปรับตัวเลขผู้บาดเจ็บ และรักษาตัวและกลับบ้าน ซึ่งเดิมมีแรงงานบาดเจ็บจากอาคารถล่มรวม 7 คน แต่ตอนนี้พบว่ายังมีประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บจาการขายของ หรือมาทำธุระในพื้นที่เกิดเหตุบาดเจ็บ และนำส่งโรงพยาบาลใกล้เคียง หรือเข้ารักษาภายหลังเพิ่มเติมอีก 12 คนรวมคนบาดเจ็บ 19 คน

รศ.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รศ.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ส่วนอาคารที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวที่มีการตรวจสอบจาก 17,300 เคส เสียหายมากใน กทม.มีแค่ 2 อาคาร ที่สั่งระงับใช้งานไปแล้ว ส่วนที่เหลือเป็นอาคารสีเขียวไม่ได้รับผลกระทบกว่า 300 แห่ง รวมทั้งยังมีการเปิดพื้นที่ให้ญาติของผู้สูญหายได้มีพื้นที่พักคอยในวัดเสมียนนารีเพิ่มเติม

ภาพการระดมค้นหาผู้สูญหายตึกสตง.ถล่ม เข้าสู่วันที่ 7 ของเหตุแผ่นดินไหว
ภาพการระดมค้นหาผู้สูญหายตึกสตง.ถล่ม เข้าสู่วันที่ 7 ของเหตุแผ่นดินไหว
เปิดขั้นตอนยื่นขอรับเงินเยียวยาบ้านเสียหาย
สำหรับการเยียวยา บ้านที่ได้รับความเสียหาย การจ่ายเงินหลังละไม่เกิน 45,000 บาทและเป็นไปตามระเบียบของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) โดยประชาชนที่มีบ้าน อาคารได้รับความเสียหายให้ทำคำร้องไปที่สำนักงานเขต และขอชดเชย ส่วนค่าเช่าบ้านจ่ายให้เดือนละ 3,000 บาท
ค่าจัดงานศพผู้เสียชีวิตและในกรณีเป็นหัวหน้าครอบครัว 29,700 บาท ส่วนกรณีการบาดเจ็บสาหัสช่วยเหลือเบื้องต้น 4,000 บาท และกรณีบาดเจ็บพิการ เบื้องต้น 13,3000 บาท เงินปลอบขวัญ (ตามใบรับรองแพทย์) กรณีรับบาดเจ็บจากเหตุสาธารณภัยคนละ 2,300 บาท เงินทุนประกอบอาชีพครอบครัวละ 11,400 บาท

โดยประชาชนต้องเตรียมเอกสาร และยื่นคำร้องขอรับความช่วยเหลือ และใบประกอบ อช.2 จากเดิมต้องแจ้งที่สถานีตำรวจ แต่ทาง กทม.ได้ขอความร่วมมือตำรวจให้ไปประจำที่สำนักงานเขต เพื่อรองรับประชาชน โดยจะเริ่มวันที่ 8 เม.ย.นี้

ในส่วนของญาติผู้สูญหาย ตำรวจอยากให้เดินทางไปเก็บดีเอ็นเอไว้ที่ศูนย์ตรวจเอกลักษณ์บุคคล โรงพยาบาลตำรวจ เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการตรวจเทียบกับผู้สูญหาย เพราะขณะนี้ศพของผู้สูญหายที่ผ่านการเสียชีวิตมาแล้ว 1 สัปดาห์พบว่าสภาพค่อนข้างเน่าแล้ว ทำให้ต้องใช้เวลาในการตรวจอัตลักษณ์บุคคลพร้อมทั้งแนะนำให้ญาติอาจไปหาประวัติการทำฟันรอไว้ด้วย
อ่านข่าว “พาณิชย์” ลุยสอบ 26 โครงการรัฐ นอมินี-วัสดุไม่ได้มาตรฐาน พบ 37 บ. เอี่ยวตึกสตง. ถล่ม

อีก 1 เมตรถึงตัวเสียงร้องขอ"ช่วยเหลือ"
นายสุริยชัย รวิวรรณ ผอ.สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่าการช่วยผู้ติดค้างเน้นไปที่โซนบี และโซนซี ที่พบจุดต้องสงสัยและคาดว่ามีผู้ติดค้างอยู่ภายในสร้างอาคาร
โดยโซน บี เป็นบริเวณใกล้ช่องบันไดหนีไฟ ที่พบสัญญาณต้องสงสัยว่าจะมีผู้ติดค้างที่ร้องขอความช่วยเหลืออยู่ใต้ซากที่ทับถมกันลึกลงไป 3 เมตร ขณะนี้ ดำเนินการไปได้ 2 เมตรกว่า จากการสแกนน่าจะใกล้ถึงตัวผู้ติดค้างที่อยู่ด้านใน ส่วนการตอบรับจากผู้ที่ติดค้างอยู่ ปัจจุบันไม่ได้รับการตอบรับเหมือนเมื่อคืน และช่วงเมื่อเช้าที่ผ่านมา

โซน ซี ใกล้เคียงโซนดี ซึ่งเป็นบริเวณช่องลิฟต์ และเป็นส่วนที่แข็งแรงที่สุดของโครงสร้างที่ผ่านถล่มลงมา คาดว่ามีผู้ติดตามอยู่ภายใน และเป็นจุดที่สุนัข K9 มีปฏิกิริยาที่ต้องสงสัยว่าพบผู้ติดค้าง
นายสุริยชัย กล่าวว่า ตลอดทั้งวันได้ระดมกำลังค้นหา สนัข K9 และเจ้าหน้าที่นานาชาติเข้าไปค้นหาปัจจุบันได้เจาะและเคลื่อนย้าย ซากอาคาร และขุดเจาะเข้าไปถึงผนังช่องลิฟต์แล้ว และกำลังจะดำเนินการเจาะผนังช่องลิฟต์ เข้าไปถึงโพรงด้านใน ที่ยังคงมีความหวังอยู่ว่าจะพบผู้ติดค้างอยู่บริเวณนี้
ส่วนปัญหาและอุปสรรค คือพื้นคอนกรีตที่กดทับลงมาหลายชั้น มีความหนา ยากที่จะขุดเจาะช่องให้คนเข้าไปได้ ซึ่งต้องกว้างพอสมควร
อ่านข่าว