ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เหตุผล! มูลนิธิสืบฯ ค้านปลด "นกกรงหัวจุก"พ้นบัญชีสัตว์คุ้มครอง

สิ่งแวดล้อม
1 เม.ย. 65
10:53
2,283
Logo Thai PBS
เหตุผล! มูลนิธิสืบฯ ค้านปลด "นกกรงหัวจุก"พ้นบัญชีสัตว์คุ้มครอง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
มูลนิธิสืบนาคะเสถียร สมาคมอนุรักษ์นกฯ ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี รมว.ทรัพยากรฯ และกรมอุทยานฯ ค้านปลดนกกรงหัวจุกพ้นบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครอง งัด 3 เหตุผลประชากรในธรรมชาติลด สถิติจับกุมรอบ 8 ปีสูง เพาะเลี้ยงไม่สามารถทดแทนนกในธรรมชาติ

กรณีที่ประชุมคณะกรรมการผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มี พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุม มีการพิจารณาข้อเสนอจากประชาชนในพื้นที่ ที่ต้องการให้ปลด “นกกรงหัวจุก” ออกจากบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองในพ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

วันนี้ (1 เม.ย.2565) สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย และมูลนิธิสืบนาคะเสถียรร่วมส่งจดหมายถึงนายกรัฐมนตรี รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช และผู้บริหารศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เพื่อแสดงเจตนาคัดค้านการปลดนกกรงหัวจุก (นกปรอดหัวโขน) ออกจากการเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ด้วยเหตุผลดังนี้

ปลด-ไม่ปลดไม่มีผล พบประชากรลด

ปัจจุบันแม้นกปรอดหัวโขน Red-whiskered Bulbul : Pycnonotus jocosus หรือที่กลุ่มผู้เลี้ยงนกนิยมเรียกว่านกกรงหัวจุก ประชาชนสามารถเลี้ยง และเพาะขยายพันธุ์เองได้จำนวนมาก หากรวมทั่วประเทศแล้วมีมากกว่าหลายแสนตัว สร้างรายได้ให้ทั้งคนเลี้ยงและกลุ่มชุมชนที่ทำธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับนกปรอดหัวโขน เนื่องจากเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่สามารถเพาะขยายพันธุ์ และจำหน่ายได้ตามกฎหมาย

การไม่ถอดออกจากสัตว์ป่า​คุ้มครองไม่น่าจะส่งผลกระทบแต่อย่างใด

จากข้อมูลการสำรวจของชมรมอนุรักษ์นกและธรรมชาติล้านนา และนักดูนกจากทั่วประเทศได้ช่วยกันทำการสำรวจประชากรนกปรอดหัวโขนอย่างต่อเนื่องมามากว่า 20 ปี พบว่าประชากรในธรรมชาติของนกชนิดนี้ มีจำนวนลดลงไปถึง 90% ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา

ปัญหาสำคัญของการลดจำนวนลงของนกปรอดหัวโขนในธรรมชาติ ข้อมูลจากกระทรวงทรัพยากร ธรรม ชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) พบว่ายังไม่มีข้อมูลทางวิชาการที่สามารถยืนยันสถานภาพของประชากรนกปรอดหัวโขนในธรรมชาติได้อย่างแน่ชัด และจากการประเมินด้วยการพบเห็นในช่วงระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ไม่พบการกระจายในบางพื้นที่แล้ว

อ่านข่าวเพิ่ม  ศอ.บต.ชงกรมอุทยานฯ ปลด "นกกรงหัวจุก" พ้นบัญชีสัตว์สงวน

สถิติ 8 ปีนกถูกจับ 18,096 ตัว

นอกจากนี้ ข้อมูลการรายงานสรุปผลคดีการกระทำผิดด้านสัตว์ป่าของนกปรอดหัวโขน ในช่วงปี พ.ศ. 2549–2551 มีจำนวน 16,353 ตัว และช่วงปี พ.ศ. 2555–2563 จำนวน 18,096 ตัว ซึ่งจะเห็นว่านกปรอดหัวโขนยังคงมีจำนวนการล่าที่เพิ่มขึ้น บ่งชี้ให้เห็นว่ายังคงมีการลักลอบล่านกปรอดหัวโขนในธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง ทั้งที่นกปรอดหัวโขนยังอยู่ในสถานะสัตว์ป่าคุ้มครองของไทย 

ขณะที่สถานภาพนกปรอดหัวโขนในประเทศไทย จากข้อมูล (ร่าง) ทะเบียนชนิดพันธุ์สัตว์ที่ถูกคุกคามของประเทศไทย สำหรับกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังปี 2563 กล่มุ นก National Threat Status (ONEP 2020) ถูกจัดอยู่ในสถานะมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable; VU) เนื่องจากยังคงถูกลักลอบนำมาจำหน่ายเพื่อการค้า ซึ่งนกปรอดหัวโขนมีความสำคัญในระบบนิเวศเนื่องจากเป็นผู้กระจายเมล็ดพันธุ์พืชป่า สร้างความสมดุลให้แก่ธรรมชาติ ซึ่งนกในกรงเลี้ยงไม่สามารถทำหน้าที่นี้ในระบบนิเวศได้

อ่านเนื้อหาฉบับเต็มได้ที่: https://www.seub

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง