ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ชาวบ้านมึน! สผ.เรียกเก็บค่าถ่ายเอกสาร EIA ผันน้ำยวม 2 หมื่นบาท

สิ่งแวดล้อม
17 ก.ย. 64
13:46
526
Logo Thai PBS
ชาวบ้านมึน! สผ.เรียกเก็บค่าถ่ายเอกสาร EIA ผันน้ำยวม 2 หมื่นบาท
ชาวบ้าน -อาจารย์มก.ตั้งคำถาม สผ.เรียกเก็บเงินค่าถ่ายเอกสาร EIA รับรองสำเนาเอกสารคำร้อง 20,526 บาท หลังบอร์ดเพิ่งผ่านโครงการอุโมงค์ผันน้ำยวม วงเงิน 70,000 ล้านบาท ปลัดทส.ใจป้ำ หลังชาวบ้านระดมทุน บอกขาดเท่าไหร่ขอออกให้เอง

วันนี้ (17 ก.ย.2564) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊ก Decharut Sukkumnoed ของอาจารย์เดชรัตน์ สุขกำเนิด นักวิชาการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความว่า "เรื่องนี้ ผมเศร้ามากครับ" 

กรมชลประทานจะทำโครงการผันน้ำยวม จ.แม่ฮ่องสอน โดยกรมจะไปสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำ ดึงน้ำจากลำน้ำของชาวแม่ฮ่องสอน เพื่อมาเติมให้ภาคกลาง ใช้เงินลงทุน 71,000 ล้านบาท

พอชาวบ้านที่แม่ฮ่องสอนจะไปขอรายงาน EIA มาดู ทางสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรม ชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ขอคิดค่าใช้จ่าย 20,000 กว่าบาท เป็นค่าถ่ายเอกสาร จนชาวบ้านต้องเปิดบัญชีเพื่อระดมทุนกันในการไปจ่ายค่าถ่ายเอกสาร เพื่อให้ได้รายงาน EIA มาดูว่า โครงการนี้กระทบกับเขาอย่างไรบ้าง

เชื่อว่า หน่วยงานจะตอบเรื่องนี้ โดยยกระเบียบ มาอ้าง แต่ผมอยากให้หน่วยงานช่วยพิจารณาด้วยเหตุและผลหน่อยว่า เมื่อเรา (หมายถึง รัฐ) กำลังจะทำสิ่งที่ (อาจ) กระทบกับวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ และสิทธิของเขา เขาควรจะได้รับเอกสารนี้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายหรือไม่? อย่าให้ประชาชนด่าว่า เป็นรัฐที่ใจดำและไร้ความนึกคิด เลยนะครับ

อ่านข่าวเพิ่ม ด่วน! บอร์ดสวล.ผ่าน EIA อุโมงค์ผันน้ำยวม-เขื่อนภูมิพล

ปลัดขอควักจ่ายเองค่าถ่ายเอกสาร EIA 

นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ว่า ยังไม่ทราบเรื่องนี้ แต่ถ้าสผ.จะเก็บเงินชาวบ้านจริง จนต้องไประดมทุนกัน ขอออกค่าใช้จ่ายในส่วนที่ยังขาดอยู่เอง

ขอออกเงินค่าถ่ายเอกสารดังกล่าวเอง ตอนนี้ชาวบ้านขาดเงินเท่าไหร่ที่ต้องจ่าย ขอชดใช้แทน

ปลัดทส.กล่าวถึงการอุมัติ EIA ท่ามกลางเสียงคัดค้านของกลุ่มอนุรักษ์ว่า เนื่องจากโครงการนี้มีการผลักดันมานาน และได้นำเข้าพิจารณาในคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณาโครงการ (คชก.) หลายครั้ง ซึ่งได้มีการพิจารณาพอสมควรแล้ว และที่ประชุมบอร์ดสิ่งแวดล้อม ก็ได้พิจารณาถ้วนถี่เช่นกัน ส่วนพื้นที่ป่ากว่า 3,000 ไร่ที่จะใช้พื้นที่นั้น ทั้งหมดอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และเงื่อนไขว่าเจ้าของโครงการต้องปลูกป่าทดแทนกับการใช้พื้นที่เท่าไหร่ต้องปลูกป่าทดแทน

ภาพ:เฟซบุ๊ก Decharut Sukkumnoed

ภาพ:เฟซบุ๊ก Decharut Sukkumnoed

ภาพ:เฟซบุ๊ก Decharut Sukkumnoed

 เปิดค่าใช้จ่ายขอสำเนา EIA  จำนวน 20,526 บาท

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 15 ก.ย.ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่มีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีมติผ่านความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล แนวส่งน้ำยวม–อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล ของกรมชลประทาน มูลค่าโครงการกว่า 70,000 ล้านบาท

ตามแผนจะก่อสร้างอุโมงค์ผันน้ำที่มีความยาวกว่า 60 กิโลเมตร และก่อสร้างอ่างเก็บน้ำยวม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบโครงการ ผ่านพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 5 แห่ง และพื้นที่เตรียมประกาศอุทยานแห่งชาติ 1 แห่ง สูญเสียพื้นที่ป่าทั้งสิ้น 3,641.77 ไร่

ภาพ:เฟซบุ๊ก Decharut Sukkumnoed

ภาพ:เฟซบุ๊ก Decharut Sukkumnoed

ภาพ:เฟซบุ๊ก Decharut Sukkumnoed

 

สำหรับหนังสือที่เผยแพร่ในโซเชียลดังกล่าว สืบเนื่องจากเครือช่ายประชาชนลุ่มน้ำยวม-เงา-เมย-สาละวิน ได้ทำหนังสือไปยังสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) เพื่อขอคัด สำเนารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการศึกษาทบทวนเพิ่มปริมาณน้ำตันทุนให้เชื่อนภูมิพล ของกรมชลประทาน พร้อมความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ ในการพิจารณาผ่านรายงานโครงการตังกล่าว เพื่อจะได้นำไปศึกษาทราบถึงข้อมูลในเอกสารตังกล่าวซึ่งการขอข้อมูลตังกล่าวนี้เป็นไปตามสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของรัฐ และตามกฎหมายเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของรัฐ

แต่ปรากฎว่าทางสผ.ได้ตอบหนังสือกับว่า การขอคัดสำเนาเอกสารดังกล่าวต้องเสียค่าธรรมเนียมการขอสำเนาเอกสารขนาดกระดาษเอ 4 หน้าละ 1 บาท จำนวน 4,803 หน้า เป็นเงิน 4,803 บาท  ขนาดกระตาษเอ 3  หน้าละ 3 บาท จำนวน 219 หน้า เป็นเงิน 657 บาท รวมเป็นเงิน 5,460 บาท และหากให้รับรองสำเนาเอกสาร อัตราคำรับรองละ 3 บาท 5,022 หน้า จะมีค่าใช้จ่ายรวมเป็นเงิน 15,066 บาท ดังนั้น จึงมีคำใช้จ่ายรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 20,526 บาท ตามที่กำหนดในประกาศสผ.การจัดก็บคำธรรมนียมการขอและการรับรองสำเนาข้อมูลข่าวสารของราชการ ลงวันที่ 9 พ.ย.2561 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง