ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

THE EXIT : กลเกม "ทุนไทย-ต่างชาติ" ฮุบเหมืองทองอัครา

อาชญากรรม
2 ก.ย. 63
19:48
3,657
Logo Thai PBS
THE EXIT : กลเกม "ทุนไทย-ต่างชาติ" ฮุบเหมืองทองอัครา
เปิดอาวุธรัฐบาลไทยสู้คดี "เหมืองอัครา" เลี่ยงค่าโง่ ใช้ปมบริษัทแม่ผิดเงื่อนไขลงทุน ส่อใช้ "นอมินี" ลงทุนในไทย และพบจ่ายสินบนเจ้าหน้าที่รัฐ ขณะที่กลเกม "โต๊ะเจรจา" ช่วงโค้งสุดท้าย พบกลุ่มทุนไทยสบโอกาสทวงหุ้นส่วนธุรกิจเหมือง

บริษัท คิงส์เกต คือบริษัทแม่ที่อยู่เบื้องหลังการลงทุนของ บริษัทอัครา ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2535 หลังจากนั้นมีกลุ่มทุนในประเทศไทยหมุนเวียนเข้าไปหลายกลุ่ม กระทั่ง ปี 2549 พบกลุ่มทุนใหญ่ คือ "บริษัท เอ็มไพร์ เอเชีย" เข้าไปร่วมลงทุน หลังจากนั้นในปี 2552 พบมีการเปลี่ยนกลุ่มทุนใหญ่ คือ "บริษัท สินภูมิ จำกัด" เข้าไปร่วมลงทุน

เมื่อค้นหาจากข้อมูลเชิงลึก ไทยพีบีเอสตรวจสอบโครงข่ายของผู้ถือหุ้นในลักษณะ "การถือหุ้นไขว้" พบว่าทั้งกลุ่ม "บริษัท เอ็มไพร์ เอเชีย" และกลุ่ม "บริษัท สินภูมิ จำกัด" แท้จริงแล้ว อาจมีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่ตรงกันเป็นกลุ่มเดียวกันมี 3 ตระกูลใหญ่ที่ลงทุนในกลุ่มนี้ คือ

  1. กลุ่ม เตชะอุบล
  2. กลุ่มจึงรุ่งเรืองกิจ
  3. กลุ่ม เปี่ยมพงษ์สานต์  

แต่ต่อมา กลุ่มทุนใหญ่ของไทย ถูกผลักออกจากการลงทุนใน บริษัท อัครา แล้วว่าพบมีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็น "บุคคล" เข้ามาถือหุ้นแทน คือ "นางณุชรีย์ ไศละสูต" ซึ่งเมื่อตรวจข้อมูลส่วนบุคคล พบว่า นางณุชรีย์ มีสามีเป็นวิศวกรสัญชาติออสเตรเลียมีบริษัทรับดำเนินกิจการเกี่ยวกับเหมืองแร่ คือ "บริษัท ไลตัส ฮอลล์ ไมนิ่ง" จดทะเบียนธุรกิจการค้าในไทย ดำเนินกิจการที่ จ.ลำปาง


"บริษัท ไลตัส ฮอลล์ ไมนิ่ง" เป็นบริษัทรับเหมาช่วงต่อ หรือที่รู้จักกันในวงการก่อสร้าง ว่า (Subcontractor) จากบริษัท คิงส์เกต อีกทอดหนึ่ง เช่น รับเหมาช่วงต่อดำเนินการเหมืองชาตรีในประเทศไทย และดำเนินกิจการเหมืองแร่ในประเทศลาว ต่อมา เมื่อ บริษัท อัครา จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไทย พบว่า ขณะที่ นางณุชรีย์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 51.75% มูลค่า 265 ล้านบาท และมีบริษัท คิงส์เกต ถือหุ้น 48.24% มูลค่า 244 ล้านบาท

การสอบสวนเชิงลึก นางณุชรีย์ อ้างว่า มีรายได้จากบริษัทที่เป็น Subcontractor หรือ บริษัท ไลตัส ฮอลล์ ไมนิ่ง" เพื่อเข้าร่วมลงทุนกับ อัครารีซอสเซส แต่ข้อสังเกตสำคัญ คือ บริษัทนี้รับเหมาช่วงต่อจากบริษัทคิงส์เกตหลายโครงการ และปี 2553 ช่วงที่นางณุชรีย์ เข้าร่วมหุ้นกับบริษัท อัครา มีกำไรจากธุรกิจของเธอแค่ปีละ 6 ล้านบาทเท่านั้น แต่กลับกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่มีเงินไหลเข้าร่วมลงทุนกับอัครา รีซอสเซส กว่า 265 ล้านบาท ในปี 2556

ส่งผลให้เส้นทางการเงินกว่า 200 ล้านบาท ของ "นางณุชรีย์" จึงน่าสนใจว่า ภายในเวลาไม่กี่ปี จากที่มีเคยแจ้งรายได้ผลประกอบการ ปี 2553 เพียง6 ล้านบาท แต่ในเวลาเพียง 2-3 ปี "นางณุชรีย์" จึงกลับมาเงินลงทุนธูรกิจเหมืองทองถึง กว่า 200 ล้านบาท 

ขณะเดียวกันอีกข้อมูลที่น่าสนใจ คือ บริษัท คิงก์เกต แจ้งข้อมูลต่อตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลียขัดกับข้อมูลที่บริษัท อัคราแจ้งในตลาดหลักทรัพย์ของไทย โดยบริษัท คิงส์เกต แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลียว่า เป็นผู้ถือหุ้น 100% ในบริษัทอัครา ขณะที่บริษัท อัครา แจ้งตลาดหลักทรัพย์ไทยว่า บริษัทอัครามีผู้ถือหุ้นใหญ่ 2 เจ้า คือ บริษัทคิงส์เกต และนางณุชรีย์


กรณีที่บริษัท คิงส์เกต เข้าข่ายการผิดเงื่อนไขการลงทุน คาดว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่ คสช.เลือกสั่งยุติการทำเหมืองแร่ และจะเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่นำไปสู้คดี แต่ในปี 2551 กลุ่มทุนใหญ่ของไทย 3 ตระกูลเคยเป็นผู้ร่วมลงทุนหลัก คือ 1.กลุ่มเตชะอุบล 2.กลุ่มจึงรุ่งเรืองกิจ และ 3.กลุ่มเปี่ยมพงษ์สานต์ ถูกผลักออกไปจากการลงทุนใน บริษัทอัครา ก่อนจะกลายเป็นของ นางณุชรีย์

ล่าสุด นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรมในฐานะผู้รับผิดชอบการเจรจา ระบุว่า การเจราคืบหน้าไปมาก หากการเจรจตกลงกันได้ก็ไม่จำเป็นต้องนำเรื่องเข้าสู่ศาล เดือน พ.ย.นี้  เนื้อหาข้อมูลประเด็นนี้ จึงสำคัญกว่าการเจรจราหรือข้อตกลงกับบริษัทคิงส์เกต ก่อนถึงวันพิจารณาของอนุญาโตตุลาการปลายปีนี้จะมีข้อตกลงอะไรบ้าง


เบื้องลึกของเจรจา มีรายงานว่า มีข้อตกลง ที่จะให้บริษัท คิงส์เกตเปลี่ยนสัดส่วนผู้ถือหุ้นเพื่อแลกเปลี่ยนให้บริษัท คิงส์เกต ดำเนินการต่อ ขณะที่กลุ่มทุนบางกลุ่ม ก็จะได้ประโยชน์จากการกลับเข้าไปร่วมลงทุน หากมองเรื่องนี้เป็นเกมบนโต๊ะการเจรจา แต่ละฝ่ายล้วนมีไพ่อยู่ในมือ รัฐบาลไทย มีคดีทุจริตที่พบว่า บริษัท คิงส์เกตจ่ายสินบนให้กับเจ้าหน้าที่เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจการในไทย

ขณะที่ บริษัท คิงส์เกต อาศัยข้อตกลง TAFTA (ข้อตกลงเขตการค้าเสรี ไทย-ออสเตรเลีย) ที่ชี้ว่ารัฐบาลไทย ใช้อำนาจสั่งยุติกิจกรรมโดยมิชอบด้วยข้อตกลง TAFTA

ส่วนกลุ่มทุนไทย น่าจะเป็นกลุ่มที่ได้ประโยชน์จากเรื่องนี้มากที่สุดเพราะหากไกล่เกลี่ยนให้ บริษัท คิงส์เกต ปรับเปลี่ยนสัดส่วนผู้ถือหุ้นได้เท่ากับว่าเปิดโอกาสให้กลุ่มทุนไทยเข้าไปร่วมลงทุนแลกกับการเดินหน้ากิจการเหมืองแร่ และไม่ดำเนินคดีกรณีบริษัท คิงส์เกตติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐ ส่วนคนที่น่าจะเสียประโยชน์ที่สุด คือ ประชาชนคนไทยที่ทางหนึ่ง รับมลพิษจากการทำเหมืองหาการเจรจาสำเร็จ แต่หากเจรจาไม่สำเร็จ และไทยแพ้คดีก็ต้องช่วยกันจ่ายค่าโง่


คดีเหมืองทองอัคราเป็นคดีที่ต้องสู้กันอีกยาว ประเด็นแรก ที่คาดว่ารัฐบาลไทยจะใช้สู้คดีคือ การสอบทุจริต นักการเมือง-เจ้าหน้าที่ ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการรับสินบนจาก บริษัทคิงส์เกต บริษัทแม่ที่เข้ามาทำเหมืองในนาม บริษัทอัครา รีซอสเซส จำกัด ซึ่งเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา ป.ป.ช. เพิ่งชี้มูลความผิดอดีตอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานฯ สมเกียรติ ภู่ธงชัยทธิ์ กรณีอนุมัติ EIA ขยายพื้นที่สัมปทานเหมือง โดยมิชอบด้วยกฎหมาย

นอกจากนี้ ป.ป.ช. ยังขยายผล – ตั้งอนุกรรมการ ไต่สวน นักการเมืองในสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ทั้งประเสริฐ บุญชัยสุข อดีต รมว.อุตสาหกรรม และจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ อดีต รมว.มหาดไทย หลังจากออสเตรเลียส่งหลักฐานเส้นทางการเงินของ บริษัท คิงส์เกตที่ส่งเงินสินบนไปพักไว้ที่ ฮ่องกง-สิงคโปร์ รวมถึงอีเมล์ที่เป็นหลักฐานยืนยันการเรียกรับสินบน

ทั้งนี้ การชี้ให้เห็นว่า บริษัท คิงส์เกต ผิดเงื่อนไขในการลงทุนในประเทศไทย มีความน่าสงสัยว่า บริษัท คิงส์เกต อาจใช้ระบบตัวแทนหรือ "นอมินี" ร่วมถือหุ้นลงทุนในบริษัท อัครา รีซอสเซส ทั้งที่ตามกฎหมายต่างชาติ ไม่เข้ามาเป็นเจ้าของกิจการและถือหุ้นได้ไม่เกิน 49% เท่านั้นประเด็นนี้ยังอยู่ระหว่างการสืบสวนในทางลับ

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง