วันนี้ (26 มี.ค.2563) นายประลอง ดำรงค์ไทย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กล่าวว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวว่า ได้ทำข้อเสนอแนะไปยังกรุงเทพมหานครและกระทรวงมหาดไทย เกี่ยวกับการควบคุมการทิ้งและกำจัดขยะติดเชื้ออย่างหน้ากากอนามัย ทั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อป้องการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) เนื่องจากเทียบจากอัตรากำลังการผลิตหน้ากากอนามัยของประเทศต่อวันอยู่ที่ 1.2 - 1.3 ล้านชิ้น และจากการนำเข้าจากต่างประเทศ จะทำให้เกิดขยะติดเชื้อจากหน้ากากอนามัยใช้แล้วประมาณ 1-2 ล้านชิ้นต่อวัน
ถ้าเทียบจากปริมาณที่ผลิตในไทยคาดว่าจะมีขยะติดเชื้อหน้ากากอนามัยราว 1-2 ล้านชิ้นต่อวัน หรือประมาณ 240 กิโลกรัม หรือเฉลี่ย 1 ชิ้น น้ำหนักประมาณ 0.012 กิโลกรัม
นายประลอง กล่าวว่า ทั้งนี้ได้ทำข้อเสนอแนะว่าการทิ้งขยะหน้ากากำอนามัย ด้วยการให้ทิ้งลงถังขยะเฉพาะให้ทิ้งหน้ากากอนามัยที่ถือเป็นขยะติดเชื้อทุกชิ้นแล้วเข้านำสู่กระบวนการเผากำจัดตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง คือ จัดให้มีถังขยะสำหรับทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วโดยเฉพาะ แล้วติดสัญลักษณ์ รูปภาพข้อความที่สื่อถึงหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว ควรวางไว้ในจุดรวบรวมที่สามารถเห็นได้ชัดเจน และไม่ควรมีจุดรวบรวมเกิน 2 จุด เพื่อบ้องกันการแพร่ระบาดของโรค
ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้การทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วในองค์กรต่อเนื่อง และควรแสดงแผนผังหรือรูปภาพแสดงวิธีการทิ้งที่ถูกต้องไว้บริเวณที่ตั้งถังขยะ รวบรวมโดยแยกทิ้งจากขยะอื่นๆ เพื่อส่งให้กรุงเทพมหานครและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรืงส่งให้สถานที่กำจัดเอกชนนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีต่อไป จัดให้มีถังขยะสำหรับทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วในสถานที่ชุมชนทั่วไปให้เพียงพอ โดยรวบรวมใส่ถุงขยะที่ปิดสนิท
อ่านข่าวเพิ่ม หน้ากากอนามัย ทิ้งแบบไหนถูกวิธี
ต้องนำไปกำจัดถูกวิธีเพื่อป้องกัน
กรณีสถานที่กำจัดบางแห่ง ไม่สามารถรับกำจัดเนื่องจากเกินขีดความสามารถ ควรประสานส่งต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและผู้ประกอบการร่วมมือกันบริหารจัดการเรื่องการกำจัดลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายของเชื้อโรค และสุดท้าย ขอความร่มมือผู้ประกอบการภาคเอกชนที่รับกำจัดมูลฝอยติดเชื้อช่วยลดหรืองดค่าบริการกำจัดช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคติดต่อ
ในเบื้องต้นจะมีบริษัทเอกชนรับเก็บขนหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วหรือขยะมูลฝอยติดเชื้อ แบ่งเป็น บริษัทที่รับเก็บขน (เอกชน) 25 บริษัท และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับเก็บขน 12 แห่ง จากนั้นจะมีบริษัทเอกชน 5 บริษัท และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง รวมศักยภาพระบบกำจัดขยะมูลฝอยติดเชื้อได้ 354.5 ตันต่อวัน เพื่อรับไปกำจัดขยะมูลฝอยติดเชื้อที่มีเตาเผาขยะ โดยใช้อุณหภูมิการเผากำจัดขยะติดเชื้ออยู่ที่ 800 - 1,000 องศาเซลเซียส ถึงจะกำจัดเชื้อไวรัสได้ ในส่วนของสถานพยาบาลมีระบบจัดการและกำจัดขยะติดเชื้ออยู่แล้วด้วยการวิธีการเผาตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง
จุฬาฯมี 4 จุดรับทิ้งหน้ากากอนามัย
ขณะที่ Chulalongkorn U. @ChulalongkornU โพสต์ทวิตเตอร์ว่า จุฬาฯ มีถังรับทิ้งหน้ากากแล้ว ตำแหน่งที่ตั้งถังรับทิ้งหน้ากากอนามัยใช้แล้ว (ณ วันที่ 18 มี.ค. 2563)
- อาคารจุฬาพัฒน์ 14
- ศาลาพระเกี้ยว
- หอสมุดกลาง
- อาคารจามจุรี 9
โดยมีพิกัดดังนี้ ตำแหน่งของถังรับทิ้งหน้ากากฯ https://drive.google.com/open?id=1v1XJbbMqylPV9QI01a0HSOXlQi5fchNj&usp=sharing
จุฬาฯ มีถังรับทิ้งหน้ากากแล้ว
— Chulalongkorn U. (@ChulalongkornU) March 18, 2020
ตำแหน่งที่ตั้งถังรับทิ้งหน้ากากอนามัยใช้แล้ว (ณ วันที่ 18 มี.ค. 2563)
– อาคารจุฬาพัฒน์ 14
– ศาลาพระเกี้ยว
– หอสมุดกลาง
– อาคารจามจุรี 9
ตำแหน่งของถังรับทิ้งหน้ากากฯ https://t.co/yiuYbPPFv1https://t.co/9gIcsicMSw pic.twitter.com/Y6dnkWRZco
ก่อนหน้านี้มีผู้ใช้โซเชียล พบว่ามีการทิ้งหน้ากากอนามัยแบบไม่ถูกวิธี ทั้งบนถนน ในร่องน้ำ และพื้นที่สาธารณะ ซึ่งอาจจะเกิดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคระบาดได้ง่าย โดยผู้ใช้เฟซบุ๊ก วิสันต์ โพธิ์งาม ระบุว่า วิสันต์ โพธิ์งามไวรัสกับปัญหา ที่ต้องแก้ต่อไปของมนุษย์ชาติ ซึ่งพบว่ามีหลากหลายสถานที่ที่เจอการทิ้งหน้ากากอนามัยอย่างไม่ถูกวิธี
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
นายกฯ นั่งคุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19
"ตีกรอบ" คนเข้าประเทศ-เดินทางระหว่างเมือง ลดเสี่ยง COVID-19