วานนี้ (28 เม.ย.2561) นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิท ยาลัยหอการค้าไทย เผยผลสำรวจสถานภาพแรงงานไทยที่เงินเดือนต่ำกว่า 15,000 บาทจากจำนวนกว่า 1,100 ตัวอย่างทั่วประเทศ พบว่าแต่ละครัวเรือนมีหนี้สินราว 137,000 บาท ซึ่งแรงงานส่วนมาก 96% ยังประสบปัญหาหนี้สินสูงที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา
โดยมีภาระผ่อนชำระหนี้เฉลี่ย 5,326 บาทต่อเดือน ในจำนวนนี้เป็นหนี้นอกระบบสูงถึง 34.6% ซึ่งแรงงานส่วนใหญ่ไม่มีเงินออม บางรายที่มีก็ไม่ถึง 500 บาทเท่านั้นโดยส่วนใหญ่กู้เงินเพื่อใช้จ่ายทั่วไป รองลงมาคือซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์
ด้านพล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการและข้อมูล กับธนาคารแห่งประ เทศไทย ความร่วมมือนี้จะช่วยให้เข้าใจพลวัตการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของตลาดแรงงาน จากการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านแรงงาน และประกันสังคม ซึ่งมีผู้ประกันตน 14.1 ล้านคน รวมทั้งสถานประกอบการในเชิงลึกมากขึ้น ก่อนนำมาพัฒนาและกำหนดนโยบายอย่างตรงจุด และมีประสิทธิภาพสูงสุด
นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า กระทรวงแรงงาน เตรียมแผนพิจารณาการดึงเกษตรกร ซึ่งเป็นผู้ใช้แรงงานนอกระบบ ไม่น้อยกว่า 20 ล้านคน เข้าระบบประกันสังคมเพื่อให้ได้สิทธิดูแลตามสมควร และลดภาระงบประมาณภาครัฐ
ขณะที่นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาเชิงโครงสร้างในระบบเศรษฐกิจขณะนี้ ทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจ กระจุกตัวในกลุ่มอุตสาหกรรม และภาคบริการ แต่ภาคเกษตรและชนบท ยังอาจไม่ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจดังกล่าว เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรหลักยังตกต่ำ และเกษตรกรต้องกู้เงินมาลงทุนเพาะปลูกใหม่ เพื่อชดเชยความเสียหายจากภัยแล้ง ส่งผลให้หนี้ภาคครัวเรือนอยู่ในระดับสูง และการเพิ่มขึ้นของรายได้ ไม่สอดคล้องกับการก่อหนี้ที่เพิ่มขึ้น กระทบการฟื้วตัวทางเศรษฐกิจในต่างจังหวัด