ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"ลูกเห็บ" มาจากไหน?

ภัยพิบัติ
18 เม.ย. 61
16:08
2,825
Logo Thai PBS
"ลูกเห็บ" มาจากไหน?
เมื่อเกิดพายุฤดูร้อน ภาคเหนือจะเป็นพื้นที่ที่พบลูกเห็บตกมากกว่าภาคอื่นๆ เนื่องจากมีอากาศเย็น ตั้งแต่วันนี้จะไม่พบลูกเห็บตกแล้ว เพราะพายุฤดูร้อนลดลงแล้ว

ภาพลูกเห็บขาวโพลน ใน จ.เชียงใหม่ ที่แชร์ไปในโซเชียลมีเดีย สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก นายเมธี มหายศนันท์ ผอ.ศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ บอกว่า ลูกเห็บที่ตก บริเวณ อ.สะเมิง หางดง และแม่ริม เป็นส่วนหนึ่งของพายุฤดูร้อน ซึ่งในพื้นที่นั้นจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ฟ้าผ่า หรือ ลูกเห็บตก ในบางพื้นที่ได้ สภาพอากาศของจังหวัดเชียงใหม่ ค่อนข้างเย็นกว่าทุกๆ ภาค จึงมีโอกาสเกิดลูกเห็บตกมากที่สุด

อากาศในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่มีความร้อนมาก จะนำความชื้นโดยรอบๆ ลอยสูงขึ้นไปด้วย และกลั่นตัวเป็นก้อนเมฆ ภายในก้อนเมฆจะเป็นน้ำแข็งที่ลอยตัวอยู่บนท้องฟ้า บรรยากาศลอยสูงขึ้นเช่นกัน น้ำแข็งในก้อนเมฆจะตกลงมาตามแรงดึงดูดของโลก และแรงลอยตัวของอากาศที่ร้อนขึ้นลงๆ จนกระทั่ง มีน้ำหนักมากพอเอาชนะแรงโน้มถ่วงของโลกได้ ในที่สุดก็ตกลงมา เมื่อก้อนน้ำแข็งตกผ่านบริเวณที่สูงที่มีอุณหภูมิสูงกว่า น้ำแข็งจะละลายกลายเป็นน้ำฝน แต่อุณหภูมิโดยรอบๆ ไม่สูงมาก น้ำแข็งที่ตกลงมาจึงละลายเป็นน้ำไม่หมด จึงตกลงมาเป็นก้อนน้ำแข็งเล็กๆ ที่เรียกว่า ลูกเห็บ ดังเช่นในภาคเหนือที่มีลูกเห็บเม็ดโตๆ มากกว่าภาคอื่นๆ

นายเมธี กล่าวว่า ความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ มีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนลดลง ซึ่งโอกาสเกิดลูกเห็บจะลดลงด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง