ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

วิเคราะห์ : “เพื่อไทย-ปิยบุตร” เปิดศึกวิวาทะ ชิงเก้าอี้ “ประธานรัฐสภา”

การเมือง
24 พ.ค. 66
17:19
2,052
Logo Thai PBS
วิเคราะห์ : “เพื่อไทย-ปิยบุตร” เปิดศึกวิวาทะ ชิงเก้าอี้  “ประธานรัฐสภา”
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

แม้การก่อร่างสร้างรัฐบาลใหม่ ยังไม่ไปถึงไหน แต่ดูเหมือนว่า วิวาทะแย่งเก้าอี้ตำแหน่งประธานรัฐสภา ระหว่างพรรคก้าวไกลและเพื่อไทย ยังไม่จบง่ายๆ หลังนายปิยบุตร แสงกนกกุล ผู้ช่วยหาเสียงพรรคก้าวไกลโพสต์ข้อความ

“ประธานสภาผู้แทนราษฎร” ตำแหน่งที่พรรคก้าวไกลเสียไปไม่ได้เป็นอันขาด และ “การประนีประนอม การเจรจาต่อรองของพรรคก้าวไกล จะต้องไม่ไปถึงขนาดที่ยกตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรให้กับ ส.ส. พรรคอื่น โดยทั่วไปประธานสภาผู้แทนราษฎร ก็มาจาก ส.ส. ของพรรคอันดับที่หนึ่งอยู่แล้ว”...

พลันก็มีเสียงตอบโต้จาก นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ว่า ความเห็นของนายปิยบุตรเป็นการแสดงความคิดเห็นของคนที่เรียกได้ว่า เป็นคนทั่วไป

ไม่เพียงแค่นี้ แต่ยังสำทับด้วย นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองเลขาฯ คณะกรรมการยุทธศาสตร์และทิศทางการเมืองพรรคเพื่อไทย ทวีตข้อความตอนหนึ่งว่า เรื่องตำแหน่งประธานสภาเป็นคนละประเด็น ไม่ควรเหมารวม เมื่อยอมให้พรรคอันดับ 1 เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลแล้ว พรรคร่วมอื่นๆ ต้องก้มหน้ายอมรับในทุกเงื่อนไข

และนายอดิศร เพียงเกษ ว่าที่ ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ระบุว่า 152 เสียง ยังไม่เกินครึ่ง ถ้าอยากได้ทุกตำแหน่ง ต้องทำให้ได้แบบพรรคไทยรักไทย 377 เสียง ที่จะชี้เป็นชี้ตายเอาตำแหน่งไหนก็ได้ และไม่ใช่ว่าได้ฝ่ายบริหารแล้ว จะไม่ให้พรรคอื่นไปดำรงตำแหน่งฝ่ายนิติบัญญัติ

ต้องดูบุคลากรของทั้งสองพรรค ซึ่งผมคิดว่าพรรค พท. น่าจะมีความเหมาะสมในตำแหน่งประธานสภาฯ มากกว่า

สามประสานจากพรรคเพื่อไทย แม้จะไม่ใช่เจ้าของพรรคตัวจริง แต่จากน้ำเสียงพอจะอนุมานได้ว่า ซีกฝั่งเพื่อไทยจะไม่ได้พอใจกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนัก ไม่ใช่เฉพาะตัวเต็งของพรรคก้าวไกลที่คาดหมายว่า จะถูกนำเสนอให้เข้าชิงเก้าอี้ประธานรัฐสภา ยังอ่อนอาวุโสทางการเมืองอย่างเดียว

หากความสำคัญของตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร ควบประธานรัฐสภาอีกตำแหน่ง เป็นไปตามบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญปี 2535 และรัฐธรรมนูญปี 2560 ที่ระบุชัดเจนว่า เป็นผู้นำชื่อนายกรัฐมนตรีขึ้นทูลเกล้าฯ ต่อพระมหากษัตริย์ หลังที่ประชุมรัฐสภาลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี เพื่อโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญ

สำหรับตัวเต็งของพรรคก้าวไกลที่คาดว่ามีชื่ออยู่ในโผที่ถูกเสนอชื่อชิงเก้าอี้ประธานรัฐสภา คือ นายณัฐวุฒิ บัวประทุม รองหัวหน้าพรรค ฝ่ายกฎหมาย และนายปดิพัทธ์ สันติภาดา หรือ “หมออ๋อง” ว่าที่ ส.ส.พิษณุโลก ในฐานะกรรมการบริหารสัดส่วนภาคเหนือ

พลิกประวัติ นายณัฐวุฒิ ปัจจุบันอายุ 46 ปี จบปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโท คณะนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง เคยเป็นหัวหน้างานกฎหมาย มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก ระหว่างปิ 2544-2562 และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่ พรรคก้าวไกล (2562-2566)

ขณะที่นายปดิพัทธ์ หรือ “หมออ๋อง” ปัจจุบันอายุ 42 ปี จบการศึกษาปริญญาตรีจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวิทยาลัยศาสตรบัณฑิตทรีนีตี้ ประเทศสิงคโปร์ เคยทำงานเป็นนายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ 2 ปี และทำงานด้านการพัฒนาเยาวชนและแก้ไขปัญหาสังคมกับสมาคมนักศึกษาคริสเตียนไทย ตั้งแต่ปี (2548 – 2561)

มีคำถามว่า เหตุใด นายปิยบุตร จึงออกมาตีตราจองเก้าอี้ประธานรัฐสภาฯ ให้เป็นโควต้าพรรคก้าวไกล นอกเหนือจากการนำรายชื่อนายกรัฐมนตรีขึ้นทูลเกล้าฯ ประเด็นหลักที่ยอมไม่ได้ คือ ความสำคัญในฐานะผู้กำกับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร

เนื่องจากประธานสภาฯ เป็นผู้วินิจฉัยอนุญาต หรือจำกัดการอภิปรายของ ส.ส. ในสภา การอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรี หรือการอภิปรายร่าง พ.ร.บ.รายจ่ายงบประมาณประจำปี รวมทั้งอำนาจในการบรรจุญัตติต่างๆ เข้าสภา

และตามข้อบังคับการประชุมสภาฯ จะระบุว่า ประธานสภาฯ ซึ่งเป็นประธานของที่ประชุมต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่แต่หลายครั้งปฏิเสธไม่ได้ว่า หน้าที่นี้ทำให้ความ "ได้เปรียบ-เสียเปรียบ"

โดยเฉพาะในช่วงที่พรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลเพลี่ยงพล้ำ ถูกพรรคฝ่ายค้านเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

เลือกตั้ง2566 : "ปิยบุตร" โพสต์ "ก้าวไกล" ต้องไม่เสียตำแหน่ง ปธ.สภาฯ

เลือกตั้ง2566 : "หมอชลน่าน" รูดซิปปาก งดวิจารณ์ปมโควตา ปธ.สภา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง