วันนี้ (13 ก.พ.2568) การประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขมาตรา 256 และเพิ่มหมวด 15/1 เพื่อเปิดทางให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะมีขึ้นในวันที่ 13-14 ก.พ.นี้
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และ รมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ได้ออกมาประกาศว่าพรรคภูมิใจไทยมีมติไม่ร่วมพิจารณาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเห็นว่า การบรรจุวาระเข้ามายังมีความขัดแย้งคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญปี 2564 ที่ระบุว่า ต้องมีการถามประชามติจากประชาชนก่อน
![](https://news.thaipbs.or.th/media/TSNBg3wSBdng7ijMhTpCaofPBODgGMUWFOvmi9KhGTU.jpg)
ล่าสุด รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผู้อำนวยการหลักสูตรการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยว่าทางพรรคประชาชนยอมรับการทำประชามติ 3 ครั้ง แต่เนื่องจากกฎหมายประชามติต้องรอกรอบเวลา 180 วัน ซึ่งอาจจะไม่ทันในการเลือกตั้งปี 2570 และมีความเห็นว่าจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญปี 2564 ก็สามารถที่จะทำประชามติได้ 2 ครั้ง
ซึ่งในกระบวนการนี้นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคประชาชน ได้หารือกับศาลรัฐธรรมนูญรายบุคคลหรือบุคคลอื่นเกี่ยวข้อง และพบว่าในคำวินิจฉัยส่วนบุคคลในศาลรัฐธรรมนูญ ให้ทำประชามติ 2 ครั้ง
ทั้งนี้มีนักการเมืองส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วยกันการแก้ไขโดยสิ้นเชิง เช่น พรรคพลังประชารัฐ และ พรรครวมไทยสร้างชาติ ซึ่งมีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ 2560 กลุ่มพรรคการเมืองที่เคยร่วมกับ คสช. ในสมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา
![](https://news.thaipbs.or.th/media/TSNBg3wSBdng7ijMhTpCaofPBODgGMKX3iKTDnCSct6.jpg)
ขณะที่พรรคภูมิใจไทยมีมติไม่ร่วมพิจารณาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเห็นว่า การบรรจุวาระเข้ามายังมีความขัดแย้งคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญปี 2564 ที่ระบุว่า ต้องมีการถามประชามติจากประชาชนก่อน
ส่วนพรรคเพื่อไทย ที่มีในนโยบายของรัฐบาล และมีการพูดอย่างชัดเจนว่าวาระการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นวาระเร่งด่วน ทั้งนี้ในพรรคเพื่อไทยเองมีเสียงแตกเป็น 2 ส่วน ฝั่งที่มองว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญในการพิจารณามาตรา 256 ไม่มีความจำเป็นต้องมีประชามติ จะมีประชามติต่อเมื่อเริ่มกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญและร่างเสร็จ และอีกฝ่ายมีความใกล้กับแกนนำพรรคที่ไม่เห็นด้วย จะต้องทำประชามติ 3 ครั้ง สำหรับ สว.สายสีน้ำเงิน 150 คน ไปในทิศทางเดียวกันกับพรรคภูมิใจไทย
อ่านข่าว : เทียบร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ "เพื่อไทย-ประชาชน"
รศ.ดร.พิชาย ยังระบุว่าดูองค์ประกอบเบื้องต้นที่เป็นพื้นฐาน โอกาสที่จะมีการพิจารณามาตรา 256 และลงมติรับหลักการค่อนข้างจะยาก อย่างดีที่สุดมีความเป็นได้ว่าจะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา
นอกจากนี้ มองว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญกลายเป็นเกมอำนาจอย่างหนึ่ง และพรรคการเมืองมีจุดยืนที่หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ เล่นการเมืองด้วยความกลัว
กลัวกังวลว่าจะมีคนเข้าไปร้อง ถ้าเข้าไปร่วมจะติดร่างแหไปด้วยอาจจะทำให้ถูกยุบพรรค
ทั้งนี้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้ประโยชน์ เอื้อให้กับกลุ่มที่มีอำนาจอยู่ขณะนี้ การร่างรัฐธรรมนูญใหม่ประเด็นการเลือก สว.จะต้องมีการหยิบยกขึ้นมาพิจารณาที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลง และทำให้การควบคุมยากขึ้น ซึ่งจะเสียประโยชน์อย่างชัดเจน เมื่อพรรคการเมืองได้ประโยชน์จากกลไกเหล่านี้อยู่แล้ว จึงไม่อยากแก้รัฐธรรมนูญ
รศ.ดร.พิชาย กล่าวว่า การวางตัวคลุมเครือ เป็นการเมืองแนวปฏิบัติที่เป็นเอาประโยชน์ของตนเองเป็นที่ตั้ง ไม่ใช่ส่งเสริมแนวการเมืองที่ดำเนินการในลักษณะที่ส่งเสริมการพัฒนาการประชาธิปไตย ซึ่งเป็นการลดโอกาสในการปฏิรูปทางการเมือง และไม่เป็นแบบอย่างของการเมืองที่โปร่งใสและกล้าตัดสินใจ
มีความเป็นไปได้ว่าจะทำให้เกิดความขัดแย้งของภายในพรรคร่วมรัฐบาลในอนาคต
อ่านข่าว :