ตำรวจไซเบอร์ ได้มีการเตือนให้ระมัดระวังการสร้างหรือแชร์ข้อมูลเท็จ จนทำให้เกิดความเดือดร้อนหรือสร้างความตื่นตระหนกในสังคม หากพบ ตำรวจไซเบอร์จะจับกุมดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเด็ดขาด
การสร้างหรือแชร์ข่าวปลอม มีความผิดตามกฎหมาย ดังนี้
📱นำเข้าข้อมูลปลอม ข่าวปลอม ข้อมูลเท็จทุจริต ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ม.14(1)
📍โทษจำคุก ไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
📱เผยแพร่ ส่งต่อข้อมูลเท็จ ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ม.14(15)
📍โทษจำคุก ไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
📱ร่วมแชร์ ร่วมด่า แสดงความคิดเห็นที่หยาบคาย ผิดกฎหมายอาญา ม.328 ฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา
📍โทษจำคุก ไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
5 วิธีตรวจสอบข่าวลวงในวันโกหกโลก
✅ เช็กแหล่งที่มา
- ตรวจสอบว่าข่าวมาจากสำนักข่าวที่น่าเชื่อถือหรือไม่
- หากเป็นเว็บไซต์ที่ไม่คุ้นเคย ลองค้นหาชื่อเว็บไซต์เพื่อดูว่ามีประวัติการเผยแพร่ข่าวปลอมหรือไม่
✅ ตรวจสอบเนื้อหาและวันที่เผยแพร่
- ข่าวเก่าที่ถูกนำมาแชร์ใหม่อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิด
- สังเกตภาษาที่ใช้ หากมีคำที่กระตุ้นอารมณ์รุนแรง เช่น “ด่วนมาก” หรือ “ห้ามพลาด” อาจเป็นข่าวลวง
✅ เปรียบเทียบกับแหล่งข่าวอื่น ๆ
- หาข้อมูลจากแหล่งข่าวที่เป็นกลางและได้รับการยืนยัน
- ใช้เครื่องมือค้นหาข่าว เช่น Google Fact Check Explorer
✅ ใช้แพลตฟอร์มตรวจสอบข่าว
- Thai PBS Verify (www.thaipbs.or.th/verify)
- Cofact Thailand (www.cofact.org)
- AFP Fact Check (factcheck.afp.com)
✅ อย่าแชร์ก่อนตรวจสอบ
- หากไม่แน่ใจในความถูกต้องของข่าว ให้หยุดและตรวจสอบก่อน
- หลีกเลี่ยงการแชร์ข่าวที่ไม่มีหลักฐานอ้างอิงหรือมาจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ
Thai PBS Verify ขอย้ำเตือนอีกครั้ง ท่ามกลางวิกฤตนี้ เราควรส่งต่อข้อมูลที่ถูกต้อง และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ให้เราผ่านพ้นเหตุการณ์ครั้งนี้ไปด้วยกัน เพื่อให้เราทุกคนก้าวผ่านสถานการณ์นี้ไปด้วยกันอย่างมีสติและปลอดภัย