ซีรีส์วิถีคน
ซีรีส์วิถีคน

วิถีคนต้มต๋าว บ้านผาสุก ต.ภูฟ้า อ.บ่อเกลือ จ.น่าน

หน้ารายการ
16 ก.ย. 66

"ลูกต๋าว" ก็คือ ลูกชิด ลูกชิด ก็คือ ลูกต๋าว วัตถุดิบที่ใช้เพิ่มเติมความอร่อยในไอศกรีมบ้านเรา แต่มีคนจำนวนมากที่ไม่รู้ว่าลูกชิดนั้น มีต้น มีผล และมีวิธีการผลิตอย่างไร พาไปสัมผัสกับวิถีชีวิตของคนต้มลูกชิดที่บ้านผาสุก ต.ภูฟ้า จ.น่าน

ผู้ช่วยโย หรือ นายสถาพร ใจปิง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านบ้านผาสุก เล่าว่าคนที่นี่เรียกว่า ลูกต๋าว หรือ มะต๋าว พืชดึกดำบรรพ์ตระกูลเดียวกับปาล์ม ลำต้นสูง 4 - 15 เมตร ออกลูกเป็นทลาย ในแต่ละลูกมีเมล็ดใสเรียงชิดกันอยู่ 3 เม็ด กว่าต้นต๋าวจะเติบโตจนออกลูกได้ต้องใช้เวลา 8 - 10 ปี ลูกต๋าว หล่อเลี้ยงชีวิตของคนบ้านผาสุกมานาน เพราะในสมัยก่อนหลังฤดูเก็บเกี่ยวไม่มีอาชีพ แทบทุกครอบครัวจึงเดินทางเข้าป่าลึกเพื่อตัดลูกต๋าวมาต้ม แล้วนำออกมาขาย จึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่า "คนต้มต๋าว"

วิถีคนต้มต๋าวนั้นเริ่มต้นประมาณต้นเดือนตุลาคม - มีนาคม ประมาณ 6 เดือนที่คนบ้านผาสุกสามารถหาลูกต๋าวได้ หากต้องไปต้มในป่าก็ต้องเตรียมสัมภาระ ข้าวสาร อาหารแห้ง เดินเท้าขึ้นเขาไปพักค้างแรมในป่า 10 - 30 วัน เพื่อให้ได้ต๋าวกลับมาให้มากที่สุด การต้มต๋าวในป่านั้นเป็นวิถีชีวิตของคนขยันและอดทน เพราะต้องลงมือลงแรงทุกขั้นตอน ตั้งแต่ปีนต้นต๋าว แบกลูกต๋าวมาต้ม ทำไม้หนีบให้ได้เนื้อต๋าว และที่สำคัญต้องใช้เรี่ยวแรงมากในการขนต๋าวด้วยการแบกหรือขนด้วยแพออกจากป่ามาขาย ซึ่งแต่ละเที่ยวต้องขนออกมาไม่น้อยกว่า 200 กิโลกรัม

ปัจจุบันมีการส่งเสริมให้ปลูกในชุมชนมากขึ้น ทำให้คนเดินทางไปต้มต๋าวในป่าเหลือเพียง 2 - 3 ครอบครัว หนึ่งในนั้นคือ พี่ดร หรือนายดร จาระรักษ์ ผู้ที่ต้มต๋าวในป่ามานานถึง 20 ปี ซึ่งบอกว่าต๋าวมีบุญคุณมากให้ทั้งความสุขและเงินทอง เพราะปีนี้พ่อค้าในหมู่บ้านรับซื้อต๋าวกิโลกรัมละ 20 บาท ทำให้มีรายได้จากการต้มต๋าวไม่น้อยกว่า 4,000 - 5,000 บาท/เที่ยว แม้จะราคาไม่สูงนักแต่ก็คุ้มกับความเหนื่อยยาก

ติดตามได้ในรายการซีรีส์วิถีคน วันเสาร์ที่ 16 กันยายน 2566 เวลา 14.30 - 15.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

วิถีคนต้มต๋าว บ้านผาสุก ต.ภูฟ้า อ.บ่อเกลือ จ.น่าน

16 ก.ย. 66

"ลูกต๋าว" ก็คือ ลูกชิด ลูกชิด ก็คือ ลูกต๋าว วัตถุดิบที่ใช้เพิ่มเติมความอร่อยในไอศกรีมบ้านเรา แต่มีคนจำนวนมากที่ไม่รู้ว่าลูกชิดนั้น มีต้น มีผล และมีวิธีการผลิตอย่างไร พาไปสัมผัสกับวิถีชีวิตของคนต้มลูกชิดที่บ้านผาสุก ต.ภูฟ้า จ.น่าน

ผู้ช่วยโย หรือ นายสถาพร ใจปิง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านบ้านผาสุก เล่าว่าคนที่นี่เรียกว่า ลูกต๋าว หรือ มะต๋าว พืชดึกดำบรรพ์ตระกูลเดียวกับปาล์ม ลำต้นสูง 4 - 15 เมตร ออกลูกเป็นทลาย ในแต่ละลูกมีเมล็ดใสเรียงชิดกันอยู่ 3 เม็ด กว่าต้นต๋าวจะเติบโตจนออกลูกได้ต้องใช้เวลา 8 - 10 ปี ลูกต๋าว หล่อเลี้ยงชีวิตของคนบ้านผาสุกมานาน เพราะในสมัยก่อนหลังฤดูเก็บเกี่ยวไม่มีอาชีพ แทบทุกครอบครัวจึงเดินทางเข้าป่าลึกเพื่อตัดลูกต๋าวมาต้ม แล้วนำออกมาขาย จึงเรียกคนกลุ่มนี้ว่า "คนต้มต๋าว"

วิถีคนต้มต๋าวนั้นเริ่มต้นประมาณต้นเดือนตุลาคม - มีนาคม ประมาณ 6 เดือนที่คนบ้านผาสุกสามารถหาลูกต๋าวได้ หากต้องไปต้มในป่าก็ต้องเตรียมสัมภาระ ข้าวสาร อาหารแห้ง เดินเท้าขึ้นเขาไปพักค้างแรมในป่า 10 - 30 วัน เพื่อให้ได้ต๋าวกลับมาให้มากที่สุด การต้มต๋าวในป่านั้นเป็นวิถีชีวิตของคนขยันและอดทน เพราะต้องลงมือลงแรงทุกขั้นตอน ตั้งแต่ปีนต้นต๋าว แบกลูกต๋าวมาต้ม ทำไม้หนีบให้ได้เนื้อต๋าว และที่สำคัญต้องใช้เรี่ยวแรงมากในการขนต๋าวด้วยการแบกหรือขนด้วยแพออกจากป่ามาขาย ซึ่งแต่ละเที่ยวต้องขนออกมาไม่น้อยกว่า 200 กิโลกรัม

ปัจจุบันมีการส่งเสริมให้ปลูกในชุมชนมากขึ้น ทำให้คนเดินทางไปต้มต๋าวในป่าเหลือเพียง 2 - 3 ครอบครัว หนึ่งในนั้นคือ พี่ดร หรือนายดร จาระรักษ์ ผู้ที่ต้มต๋าวในป่ามานานถึง 20 ปี ซึ่งบอกว่าต๋าวมีบุญคุณมากให้ทั้งความสุขและเงินทอง เพราะปีนี้พ่อค้าในหมู่บ้านรับซื้อต๋าวกิโลกรัมละ 20 บาท ทำให้มีรายได้จากการต้มต๋าวไม่น้อยกว่า 4,000 - 5,000 บาท/เที่ยว แม้จะราคาไม่สูงนักแต่ก็คุ้มกับความเหนื่อยยาก

ติดตามได้ในรายการซีรีส์วิถีคน วันเสาร์ที่ 16 กันยายน 2566 เวลา 14.30 - 15.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

23:00

ข่าวดึก

ละครย้อนยุค

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย