ยินดีต้อนรับสู่กุ้ยโจว ตอนที่ 11หวางเข่ออ้าย ชาวกุ้ยหยางโดยกำเนิด เชิญเพื่อนใหม่ ชื่อมิเกล มาจากบราซิล มาท่องราตรีตามแบบฉบับวัยรุ่นคนเมืองชาวกุ้ยหยาง สัมผัสกีฬาร่อนจานที่ไร้ขีดจำกัด ลองเล่นเซิร์ฟสเก็ต ลิ้มลองอาหารว่างมากมาย
ยินดีต้อนรับสู่กุ้ยโจว ตอนที่ 10เสี่ยวหลิน ชาวเมืองอันซุน ได้ชวนเพื่อนจากตูนีเซีย มาท่องเที่ยวที่บ้านเกิด เมืองอันซุน มณฑลกุ้ยโจว ที่นี่มีน้ำตกมากกว่าร้อยแห่ง ถ้ำหินปูนมากกว่าพันแห่ง ป่าเขาทะเลสาบ แม่น้ำใต้ดิน น้ำพุและสายน้ำหุบเขานับพัน
ยินดีต้อนรับสู่กุ้ยโจว ตอนที่ 9บล็อกเกอร์สาวสายท่องเที่ยวจากกุ้ยโจว ได้จัดทริปเที่ยวปี้เจี๋ย ให้เพื่อนจากอียิปต์ ได้สัมผัสประสบการณ์ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
ยินดีต้อนรับสู่กุ้ยโจว ตอนที่ 8โรเบิร์ต ชาวเยอรมันผู้ที่หลงใหลในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของจีน ได้มาสัมผัสจีนในมุมใหม่ที่แตกต่างจากเดิม โดยพาเขาเที่ยวชมงานบิ๊กดาต้าเอ็กซ์โป นำเสนอเทคโนโลยีใหม่ที่น่าสนใจหลายอย่าง
ยินดีต้อนรับสู่กุ้ยโจว ตอนที่ 7ฟางจิ้งเสวียน มาจากเขตปกครองตัวเองชนชาติปู้อีและแม้ว ได้เชิญเพื่อนต่างชาติ ชื่อไป๋ลู่ มาจากทาจิกิสถานมาเที่ยวซิงอี้บ้านเกิด ที่ซึ่งมีอากาศบริสุทธิ์ และทัศนียภาพ ที่หลากหลาย
ยินดีต้อนรับสู่กุ้ยโจว ตอนที่ 6โจวหยวนเจี๋ย ช่างภาพถ้ำใต้น้ำและนักสำรวจ ได้เชิญเพื่อนจากต่างชาติ ชื่อ หวังเล่อชาวรัสเซีย และ เสี่ยวเหมย ชาวคาซัคสถาน มาสัมผัสขุนเขาของกุ้ยโจว ด้วยประสบการณ์สำรวจภูเขาที่ไม่ซ้ำใคร
ยินดีต้อนรับสู่กุ้ยโจว ตอนที่ 5จุนอี้ เมืองที่มีชื่อเสียงทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์อย่างแท้จริง เช่นการล่องไผ่ลำเดียว, ละครหนัว (ละครสวมหน้ากาก) และธรรมเนียมการกินสามยก อีกทั้งยังมีตำบลเจิ้งอัน ปัจจุบัน ได้กลายเป็นหนึ่งในเมืองการผลิตกีต้าร์ที่สำคัญของจีน
ยินดีต้อนรับสู่กุ้ยโจว ตอนที่ 4สัมผัสถึงชนเผ่าปู้อี ที่อาศัยอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ และมีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ทุกสิ่งในการดำเนินชีวิต มาจากความรักความผูกพันธ์ที่มีต่อธรรมชาติ ทั้งดนตรี ที่อยู่อาศัย อาหาร และเครื่องนุ่งห่ม โดยเฉพาะ เครื่องแต่งกายชนเผ่าปู้อีที่งดงาม
ยินดีต้อนรับสู่กุ้ยโจว ตอนที่ 3สัมผัสวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม อาหาร และความเป็นอยู่ของชนเผ่าต้ง โดยเฉพาะได้เรียนรู้บทเพลงชนเผ่าต้ง จากบรมครูของหมู่บ้าน
ยินดีต้อนรับสู่กุ้ยโจว ตอนที่ 2เหมิงหลงเฉินซี ชายหนุ่มเมืองลิโบ ได้ชวนเพื่อนชาวต่างชาติชื่อเสียวเสี่ยว มาเยือนที่บ้านเกิด เมืองลิโบเป็นแหล่งธรรมชาติขนาดใหญ่ ดูสถานที่สำคัญเรียกว่า สามขุนเขาแห่งลิโบ
ยินดีต้อนรับสู่กุ้ยโจว ตอนที่ 1เซียงเซียง หญิงสาวในอำเภอไถเจียง ได้ชวนเพื่อนชื่อ ด็อฟเล็ท ที่มาจากประเทศเติร์กเมนิสถาน มาเยือนที่บ้านเกิด เพื่อสัมผัสกลิ่นอายชนเผ่าม้ง
วิถีชีวิต ณ กุ้ยโจว ตอนที่ 16ติดตามเรื่องราวของ ฟางจิ้ง บรรณารักษ์และเจ้าของห้องสมุดอิสระซานเคอเต่า และ เฉาอวี่เถิง เถิง ผู้นำโครงการพิกซิตี้ (PIX CITY)เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสำหรับผู้คน
วิถีชีวิต ณ กุ้ยโจว ตอนที่ 15ณ หุบเขาเขตเฉียนหนานเมืองกุ้ยโจว ได้ทำการติดตั้งกล้องโทรทรรศน์วิทยุ จานรับสัญญาณเดี่ยว ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ถูกขนานนามว่า ดวงตาจักรวาลจีน
วิถีชีวิต ณ กุ้ยโจว ตอนที่ 14หมู่บ้านไป๋ปี้เมืองซีเจียงมณฑลเหลยซาน กำลังมีเทศกาลกู่ซางในรอบ 13 ปี เทศกาลกู่ซางจะถูกจัดขึ้นภายในชนเผ่า ถือเป็นพิธีบวงสรวงใหญ่ และสำคัญที่สุดของชาวเผ่าแม้ว
วิถีชีวิต ณ กุ้ยโจว ตอนที่ 13ไปดูหมู่บ้านจิ่วหลงหนึ่งในแหล่งกำเนิดบทเพลงต้ง เพลงต้ง เป็นการร้องประสานเสียงแบบโบราณ ที่ไม่อาศัยเครื่องดนตรี ให้เสียงกลมกลืนกับธรรมชาติ
วิถีชีวิต ณ กุ้ยโจว ตอนที่ 12เฉียนซีหนาน ได้ชื่อว่ากำแพงตะวันตกเฉียงใต้ ในหมู่บ้านซินหง อำเภอฉิงหลง มีหมู่บ้านชนเผ่าแม้ว 195 ครัวเรือน
วิถีชีวิต ณ กุ้ยโจว ตอนที่ 11ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกุ้ยโจว,เขตปกครองตนเองชาติพันธุ์ม้งและต้ง มีชาวบ้านอาศัยอยู่กว่า 700 คน ร้อยละ 80 เป็นชาวม้ง
วิถีชีวิต ณ กุ้ยโจว ตอนที่ 10สือเชียน ตั้งอยู่ตะวันออกเฉียงเหนือของกุ้ยโจว มีแม่น้ำหลงฉวนไหลผ่านตัวเมือง ใช้สะพานหินเชื่อมโยงสองฝั่ง ผู้คนในเมืองเล็ก ๆ ล้วนอาศัยสะพานหินแห่งนี้
วิถีชีวิต ณ กุ้ยโจว ตอนที่ 9กุ้ยโจว มีสมยานามว่า "พิพิธภัณฑ์สะพานโลก” มีสะพานประมาณ 21,000 แห่ง ในเขตมณฑลนี้ และมีสะพานอย่างน้อย 5 แห่ง ที่มีความสำคัญติดอันดับโลก
วิถีชีวิต ณ กุ้ยโจว ตอนที่ 8สำรวจถ้ำเหมี่ยวถิงประเทศจีน มีพื้นที่ปริมาตรใหญ่ที่สุดในโลก และจากการสำรวจใหม่จึงได้ข้อสรุปว่า ถ้ำเหมี่ยวถิงมีปริมาตร 19.78 ล้านลูกบาศก์เมตร
No More Lonely Nights - Paul McCartney อัลบั้ม Give My Regards to Broad Street ปี ค.ศ.1973 ขับร้อง : บรรณ ใบชา
เรากำลังอยู่ในช่วงของฤดูฝุ่น ซึ่งเป็นเหมือนฝันร้ายที่สังคมเผชิญร่วมกันในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แม้จะเห็นความพยายาม ในการเตรียมรับมือสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ของภาคส่วนต่าง ๆ ในปีนี้ ล่วงหน้า
ชวนเข้าครัวทำขนมหวานญี่ปุ่นแบบโบราณ อย่าง เนริกิริ (Nerikiri) ขนมหวานที่นิยมเสิร์ฟในพิธีชงชา ทำจากถั่วขาวอินทรีย์กวน และเพิ่มสีสันลวดลายสวยงามตามช่วงฤดูกาล ปั้นเป็นรูปดอกไม้ฤดูหนาว อย่าง ดอกโบตั๋น กับ ลูกส้ม
บุกตะลุยขึ้นดอย ท่ามกลางทะเลหมอก ไปเรียนรู้เรี่องราวของ "หอมชู" ที่ดอยอ่างขาง ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ พร้อมเข้าครัวปรุงเมนูพื้นถิ่น "แตงหุงฮากคิวใส่ซี่โครงหมู" และเมนู "สำรับหอมชู"
รวมพลตัวแทนคนลูกทุ่งเสียงดี ดีกรีติดยศข้าราชการกองดุริยางค์ทหาร จัดเต็ม 3 เหล่าทัพ บก – เรือ - อากาศ เจอหญิงเก่งรุ่นเก๋า ‘แม่สมศรี ม่วงศรเขียว’
อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ถือเป็นแหล่งผลิตเกลือทะเลที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย เพราะทำกันแทบทุกตำบล คนที่นี่จึงมีวิถีผูกพันกับนาเกลือมาอย่างนานจากรุ่นสู่รุ่น
แม้ว่าคุณสุดจะสอบผ่าน แต่กรมหมื่นไกรสรวิชิตก็ยังเป็นกังวลอยู่กลัวจะมีปัญหาเพราะคุณสุดเป็นผู้หญิง จึงไปปรึกษากับพระองค์ชายนวมเพื่อจัดสอบอาลักษณ์หลวงด้วยการสอบคัดลายมืออีกครั้ง จะได้ไม่เป็นที่ครหาของเหล่าบุตรหลานขุนนางที่ร่วมแข่งขัน เมื่อพระองค์เจ้าวิลาสรู้จึงสั่งให้คุณสุวรรณสอนคุณสุดอย่างสุดฝีมือ
เมื่อพระเจนอภิบาลได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้เป็นแม่กองปราบฝิ่นที่หัวเมืองปักษ์ใต้ ก่อนออกเดินทางจึงไปขอคำอวยพรปลอบขวัญจากคุณขำ และยังฝากผ้ายกเมืองนครมาให้อีกด้วย ซึ่งสร้างความไม่สบายใจให้ คุณสุดจนพระองค์เจ้าวิลาส ต้องเก็บผ้าผืนนี้ไว้ก่อนเพื่อให้คุณสุดได้ตั้งใจสอบอาลักษณ์หลวงให้ผ่านตามความมุ่งหวัง
การจากไปอย่างกะทันหันของอึ่งทำให้แม่เนียมไม่สบายใจถึงขั้นกินไม่ได้และนอนฝันร้ายทุกคืน ทุกคนในเรือนบ่าวเห็นอาการของแม่เนียมจึงเป็นห่วง จนยวงต้องตัดสินใจไปปรึกษาพระองค์เจ้าวิลาสเพื่อหาทางปลอบใจ
สูตรเด็ดเคล็ด(ไม่)ลับ กับเมนูเคยคั่วหอยไฟไหม้ดอง เมนูชวนข้าวหมดหม้อ อร่อยจนต้องขอเติม ติดตามได้ในรายการภัตตาคารบ้านทุ่ง ชมวิธีทำต่อได้ที่ www.thaipbs.or.th/program/BanTung/episodes/104918
หลังจากพระเจนอภิบาลได้เบาะแสเรื่องพ่อค้าฝิ่นรายใหญ่ก็ได้นำกำลังตำรวจหลวงบุกไปจับเจ้าสัวเหลียงทันที แต่เจ้าสัวเหลียงไม่ยอมให้จับง่าย ๆ ทำให้เกิดการปะทะขึ้น ส่วนแม่แก้วหลบหนีไปกับชุ่ม ซึ่งสร้างความกังวลใจให้พระองค์เจ้าวิลาสอย่างมากเพราะเกรงแม่แก้วจะก่อเรื่องเดือดร้อนขึ้นอีก
ถือว่าเป็นการเปิดประสบการณ์การดำน้ำในต่างประเทศครั้งแรกของ Navigator ทุกอย่างดูแปลกตาและตื่นเต้นมากๆ เพราะที่ Red Sea ของประเทศอียิปต์ เราจะได้มีโอกาสเจอสัตว์ใหญ่ใต้ท้องทะเลหลายชนิด โดยเฉพาะไฮไลท์ของที่นี่คือ ฉลามหัวค้อน นอกจากนี้การท่องเที่ยวบนบกของที่อียิปต์ยิ่งน่าสนใจโดยเฉพาะ ความยิ่งใหญ่ ของสิ่งก่อสร้างที่ชื่อว่า "พีระมิด"
หลังจากกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพฯ เสด็จสวรรคต สร้างความโศกเศร้าให้ พระองค์เจ้าดาราวดี อย่างยิ่ง รวมถึง หม่อมขำ ก็ร้องไห้หนัก จน หม่อมสุด ต้องคอยปลอบใจ ระหว่างนั้น หม่อมสอน กับ หม่อมเภา ผ่านมาเห็น ก็ว่าหม่อมขำกับหม่อมสุดเป็นคู่เล่นเพื่อนกัน
คุณสุด ตัดสินใจไปกราบทูลขอประทานอนุญาตพระองค์เจ้าวิลาส เพื่ออยู่กินกับคุณขำดังเช่นคู่เล่นเพื่อนคู่อื่น ๆ ซึ่งทำให้พระองค์เจ้าวิลาสรวมถึงคุณสุวรรณพยายามดึงสติคุณสุดด้วยความเป็นห่วง
นุชนาฏ ได้งานเป็นผู้ช่วยเชฟในโรงเรียนสอนทําอาหารในโรงแรมชื่อดังเธอได้ร่วมงานกับหัวหน้าเชฟสุดเนี้ยบอย่าง ปกรณ์ ที่เป็นคนไทยเหมือนกันแต่กลับไม่เคยออมชอม...
ความรักเอย ... เจ้าลอยลมมาหรือไร .... มาดลจิต มาดลใจ เสน่หา เพลง : เสน่หา (เพลงประกอบละคร "จากเจ้าพระยาสู่อิรวดี") คำร้อง : มนัส ปิติสานต์ เรียบเรียง : ณัฐพากย์ กวีธรรมวงษ์ ขับร้อง : จีรภัทร จันทร์แจ้ง ติดตามชมละคร #จากเจ้าพระยาสู่อิรวดี ตอนแรก วันที่ 1 – 2 มกราคมนี้ เวลา 20.15 - 21.10 น. ทาง #ThaiPBS #ช่องหมายเลข3 ▶ ชมสดออนไลน์ Website : www.thaipbs.or.th/Live Facebook : @ThaiPBS ▶ ชมอีกครั้งทาง Website : www.VIPA.me Application VIPA : https://bit.ly/3rJQ7HA
บทบาทใหม่ของ #ก๊อตจิรายุ และการร่วมงานกับไทยพีบีเอสครั้งแรก! แค่เปิดตัว "ปกรณ์" มาก็หล่อหนักมาก แฟน ๆ เตรียมกรี๊ดกันได้เลย พบกันในละคร #จากเจ้าพระยาสู่อิรวดี ละครรัก ย้อนประวัติศาสตร์
เบื้องหลังการผลิตละครหม่อมเป็ดสวรรค์นั้นมีความน่าสนใจในหลากหลายแง่มุม ทั้งวิธีคิดในการหยิบยกเอาเรื่องราวความหลากหลายทางเพศที่เกิดขึ้นจริงในยุคสมัยของรัชกาลที่ 3 ซึ่งไม่เพียงสะท้อนถึงเรื่องราวที่มีต้นกำเนิดจาก บทประพันธ์เพลงยาวหม่อมเป็ดสวรรค์เท่านั้นยังครอบคลุมถึงวิธีคิดในการสืบค้นข้อมูลจำนวนมากของเหล่าทีมงานเบื้องหลัง
ครูทองคำหลังจากแสดงในงานพระศพพระองค์เจ้าสังข์เสร็จก็ออกไปเป็นละครเร่ดังเดิม ยวงชวนปานไปเปิดหูเปิดตาที่ตลาด พอปริกรู้จึงขอตามไปด้วยเผื่อจะได้เจอกับมั่นพร้อมทั้งอาสาพาปานไปเที่ยววัดโพธิ์ด้วย ระหว่างที่ปริกแอบเลี่ยงไปหามั่น อึ่งสะกดรอยตามไปด้วยความหึงหวงและโกรธแค้นใจ
น้ำชุบ หรือที่คนทั่วไปรู้จักในกันว่าน้ำพริก เป็นอาหารรสชาติเผ็ดร้อน ที่บ่งบอกความเป็นตัวตนของคนใต้ได้เป็นอย่างดี ทุกพื้นที่ของภาคใต้ล้วนมีเมนูน้ำชุบที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ แต่มีเพียงที่เดียวเท่านั้นที่ได้นำของเหลือทิ้งอย่างกะลามะพร้าว หรือพรก มาต่อยอดให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ประจำชุมชนที่ชื่อว่า "น้ำชุบพรก"
เรื่องราวเริ่มบานปลายเมื่อ คุณสุด กับ คุณขำ มีเรื่องกับ แม่แก้ว และ ชุ่ม ที่ตลาด แม่แก้วเอาไปร้องเรียนกรมวังเพื่อเอาผิดคุณสุดกับคุณขำ เพราะทั้งคู่ทำผิดกฎมณเฑียรบาล ที่ว่าเป็นพวกเล่นเพื่อนกัน วุ่นวายถึงศาลหลวงต้องสั่งให้ตระลาการไต่สวนข้อเท็จจริงในคดีความนี้เป็นการด่วน
ระหว่างที่ "หม่อมขำ" กับ "หม่อมสุด" กำลังเตรียมอาหารอยู่ในครัวตามที่ได้รับมอบหมายหน้าที่จาก พระองค์เจ้าดาราวดี ให้ดูแลเครื่องเสวยถวายเจ้านายในงานพระศพ หม่อมขำ ได้ทำการลองชิมให้ได้รสที่ถูกใจก่อนถวาย พอ "หม่อมแก้ว" เห็นก็ไม่พอใจที่ หม่อมขำ ตักอาหารกินก่อนเจ้านาย พยายามเอาเรื่องให้ถึงที่สุด
หลังจากคณะละครของครูทองคำได้รับมอบหมายให้แสดงในงานพระศพพระองค์เจ้าสังข์ ครูทองคำตั้งใจจะไปขออนุญาตนำนิทานคำกลอนของท่านสุนทรภู่มาใช้ในการแสดง แต่มีเหตุการณ์บางอย่างทำให้ครูทองคำได้ตัดสินใจจะออกจากพระนครอีกครั้ง
"พระองค์เจ้าวิลาส" เสด็จไปร่วมงานพระศพฯ "หม่อมขำ" ซึ่งทำหน้าที่ดูแลเครื่องเสวยก็ได้จัดเตรียมพระกระยาหารด้วยความกังวลเพราะกลัวจะไม่ถูกพระโอษฐ์พระองค์เจ้าวิลาส พอ "หม่อมสุด" เห็นก็เป็นห่วง จึงพยายามปลอบและให้กำลังใจ
หลังจาก "พระองค์เจ้าวิลาส" ได้ชิมและตัดสินการแข่งขันการทำแกงเนื้อของ "คุณขำ" กับ "แม่อึ่ง" ทั้งคู่ก็เริ่มเปิดใจให้กันมากขึ้น รวมถึงความสัมพันธ์ของคุณขำ กับคุณสุด ก็กำลังไปได้ด้วยดี
สถานการณ์โรคฝีดาษระบาดในสยามยังคงดำเนินต่อไปโดยไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น ส่งผลกระทบถึงคณะละครนอกของครูทองคำที่ต้องพาลูกน้องทั้งหมดเดินทางกลับเข้าพระนครเพื่อความปลอดภัย ในขณะเดียวกัน คุณขำที่ถูกจำสนมได้ล้มป่วยด้วยไข้หนัก พระองค์เจ้าวิลาสจึงมีรับสั่งให้ปล่อยตัวทั้งคุณขำและคุณสุดออกมา
นำเสนอความหลากหลายในศิลปะและวัฒนธรรม ถ่ายทอดเรื่องราว อุดมการณ์ จิตวิญญาณ ความมุ่งมั่นและตัวตนที่เป็นสุดยอดในศิลปะและวัฒนธรรมที่หลากหลาย
วัฒนธรรม ประเพณีที่ดีงาม ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่บรรพบุรุษ และได้สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน นั่นคือ "ทุนทางวัฒนธรรม"
สรรค์สร้างความรู้ ศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี ออกเดินทางไปทั่วประเทศเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ จากทุกภูมิภาค
สารคดีค้นหาเรื่องราวคนบนแผ่นดินที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบัน ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรม ภาษา ไปจนถึงในระดับพันธุกรรม DNA นำไปสู่ข้อมูลความรู้หลักฐานใหม่เพื่อตอบคำถามว่า "คนไทยคือใคร มาจากไหน" สารคดีเธอ เขา เรา ใคร สำรวจคนไทยในแผ่นดิน ออกอากาศทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส