ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยโรคไต ถือเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเสียชีวิตหากติดเชื้อโควิด-19 เนื่องจากมีสภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง มีโอกาสที่เชื้อจะลงปอดแล้วส่งผลให้เกิดอาการอักเสบรุนแรง นวัตกรรมทางการแพทย์ได้คิดค้นภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป LAAB (Long Acting Antibody) เพื่อใช้สำหรับป้องกันโควิด-19 สามารถลดความรุนแรงของอาการและลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากการติดเชื้อได้ ติดตามความรู้จาก รศ. นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ อาจารย์สาขาวิชาโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล
อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังจากออกกำลังกาย หรือที่เรียกว่า DOMS (Delayed onset muscle soreness) สามารถเกิดขึ้นได้บ่อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่เริ่มฝึกใหม่ ๆ เนื่องจากกล้ามเนื้อถูกกระตุ้นจนทำให้เกิดอาการระบม สร้างความเจ็บปวดที่ทำให้หลายคนไม่อยากกลับมาออกกำลังกายอีก วิธีการ Warm up ก่อนออกกำลังกาย และ Cool down ทุกครั้งหลังออกกำลังกาย จะช่วยลดการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายได้ ติดตามคำแนะนำจาก อ. ดร.สุทธิกร อาภานุกูล ผู้ช่วยคณะบดี คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การเล่นกับเด็ก หากเล่นไม่ถูกวิธี หรือมีการเล่นกับเด็กที่แรงเกินไป เช่น มีการดึง การกระชาก อาจส่งผลเสียทำให้ข้อศอกเด็กหลุดได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็กวัย 1-5 ปี เนื่องจากกระดูกยังไม่แข็งแรง เช็กข้อควรรู้เกี่ยวกับการเล่นกับเด็กให้ปลอดภัย กับ นพ.เจตพัฒน์ ทวีโภคา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันอังคารที่ 20 กันยายน 2565 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live
ผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยโรคไต ถือเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเสียชีวิตหากติดเชื้อโควิด-19 เนื่องจากมีสภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรง มีโอกาสที่เชื้อจะลงปอดแล้วส่งผลให้เกิดอาการอักเสบรุนแรง นวัตกรรมทางการแพทย์ได้คิดค้นภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป LAAB (Long Acting Antibody) เพื่อใช้สำหรับป้องกันโควิด-19 สามารถลดความรุนแรงของอาการและลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากการติดเชื้อได้ ติดตามความรู้จาก รศ. นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ อาจารย์สาขาวิชาโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ รพ.รามาธิบดี ม.มหิดล
อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังจากออกกำลังกาย หรือที่เรียกว่า DOMS (Delayed onset muscle soreness) สามารถเกิดขึ้นได้บ่อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่เริ่มฝึกใหม่ ๆ เนื่องจากกล้ามเนื้อถูกกระตุ้นจนทำให้เกิดอาการระบม สร้างความเจ็บปวดที่ทำให้หลายคนไม่อยากกลับมาออกกำลังกายอีก วิธีการ Warm up ก่อนออกกำลังกาย และ Cool down ทุกครั้งหลังออกกำลังกาย จะช่วยลดการบาดเจ็บจากการออกกำลังกายได้ ติดตามคำแนะนำจาก อ. ดร.สุทธิกร อาภานุกูล ผู้ช่วยคณะบดี คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การเล่นกับเด็ก หากเล่นไม่ถูกวิธี หรือมีการเล่นกับเด็กที่แรงเกินไป เช่น มีการดึง การกระชาก อาจส่งผลเสียทำให้ข้อศอกเด็กหลุดได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็กวัย 1-5 ปี เนื่องจากกระดูกยังไม่แข็งแรง เช็กข้อควรรู้เกี่ยวกับการเล่นกับเด็กให้ปลอดภัย กับ นพ.เจตพัฒน์ ทวีโภคา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
ติดตามชมในรายการคนสู้โรค วันอังคารที่ 20 กันยายน 2565 เวลา 15.05 - 15.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือ รับชมสดออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live