ภูเก็ต สวรรค์เมืองใต้ ที่หลายคนนิยมมาท่องเที่ยว ทะเล สถาปัตยกรรมย่านเมืองเก่า สไตล์ชิโน - โปรตุกีส และสิ่งที่ดึงดูดไม่แพ้กัน คือ อาหารของชาวภูเก็ต อาหารพื้นเมืองที่มีอัตลักษณ์ และยังเป็นตำรับฟิวชันเก่าแก่ Cook Culture จะพาไปพบกับ 2 ตำรับอาหาร ชาวจีนลูกผสม หรือ ที่เรียกว่า "เปอรานากัน"
เปอรานากัน ภาษามลายู แปลว่า "เกิดที่นี่" คือกลุ่มลูกครึ่งจีน - มลายู มีถิ่นกำเนิดในช่องแคบมะละกา ซึ่งเกาะภูเก็ตเองก็เป็นหนึ่งในชุมชนใหญ่ของชาวเปอรานากันในเมืองไทย วัฒนธรรมผสมผสานที่เป็นเอกลักษณ์ทั้งเรื่องของการแต่งกาย ลายผ้าแบบมลายู คอเสื้อแบบจีน รวมไปถึงอาหารที่โดดเด่น เมนูเปอรานากันที่ภูเก็ต มักเป็นเมนูสืบต่อกันมา แต่ละบ้านจะมีสูตรเฉพาะของตัวเอง ภูเก็ตจึงเป็นสถานที่ของวัฒนธรรมอาหารที่หลากหลายและมีเสนห์
"เมนูแกงตูมี้" แกงที่ได้รับอิทธิพลจากมาเลเซีย การเคี่ยวเครื่องแกงให้ได้รสเข้มข้นพร้อมปลาเนื้อแน่นสดใหม่จากทะเล ชูโรงด้วยกระเจี๊ยบเขียวที่เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร ได้รสเปรี้ยวอมหวานจากน้ำมะขาม ปิดท้ายด้วยกลิ่นหอมอ่อน ๆ ของดอกดาหลา
"เมนูกะหรี่ไหมฝาน ตับห่าน" เป็นการเพิ่มมูลค่าด้วยวัตถุดิบอย่างตับห่าน เพื่อเป็นประตูให้กับชาวต่างชาติที่อาจคุ้นชินในรสชาติอยู่แล้ว ได้ลองตับห่านในรสชาติแบบภูเก็ต หอมเครื่องแกงกะหรี่ กับเส้นหมี่ไรซ์เบอร์รี สีสันน่ารับประทานด้วยขมิ้นสดที่ผสมในเครื่องแกง เพิ่มรสสัมผัสด้วยเต้าหู้ทอดและผักลวก หากตักทุกอย่างรวมกันในหนึ่งคำ สร้างอรรถรสได้เป็นอย่างดี
เมื่อได้ชื่อว่า เมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร อาจทำให้มีเหตุผลหรือเป้าหมายในการไปภูเก็ตเพิ่มขึ้น การมาลิ้มลองอาหารที่ได้รับมรดกตกทอดทางความอร่อย เป็น Food Tourism สำหรับการท่องเที่ยว ชิมอาหารฟิวชัน ที่ผสมผสานวัฒนธรรมเปอรานากัน ลูกครึ่ง จีน - มลายู เหล่านี้เพิ่มเสน่ห์ให้ภูเก็ตได้ไม่น้อยทีเดียว
ติดตามชมได้ในรายการ Cook Culture วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม 2566 เวลา 08.00 - 08.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ภูเก็ต สวรรค์เมืองใต้ ที่หลายคนนิยมมาท่องเที่ยว ทะเล สถาปัตยกรรมย่านเมืองเก่า สไตล์ชิโน - โปรตุกีส และสิ่งที่ดึงดูดไม่แพ้กัน คือ อาหารของชาวภูเก็ต อาหารพื้นเมืองที่มีอัตลักษณ์ และยังเป็นตำรับฟิวชันเก่าแก่ Cook Culture จะพาไปพบกับ 2 ตำรับอาหาร ชาวจีนลูกผสม หรือ ที่เรียกว่า "เปอรานากัน"
เปอรานากัน ภาษามลายู แปลว่า "เกิดที่นี่" คือกลุ่มลูกครึ่งจีน - มลายู มีถิ่นกำเนิดในช่องแคบมะละกา ซึ่งเกาะภูเก็ตเองก็เป็นหนึ่งในชุมชนใหญ่ของชาวเปอรานากันในเมืองไทย วัฒนธรรมผสมผสานที่เป็นเอกลักษณ์ทั้งเรื่องของการแต่งกาย ลายผ้าแบบมลายู คอเสื้อแบบจีน รวมไปถึงอาหารที่โดดเด่น เมนูเปอรานากันที่ภูเก็ต มักเป็นเมนูสืบต่อกันมา แต่ละบ้านจะมีสูตรเฉพาะของตัวเอง ภูเก็ตจึงเป็นสถานที่ของวัฒนธรรมอาหารที่หลากหลายและมีเสนห์
"เมนูแกงตูมี้" แกงที่ได้รับอิทธิพลจากมาเลเซีย การเคี่ยวเครื่องแกงให้ได้รสเข้มข้นพร้อมปลาเนื้อแน่นสดใหม่จากทะเล ชูโรงด้วยกระเจี๊ยบเขียวที่เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร ได้รสเปรี้ยวอมหวานจากน้ำมะขาม ปิดท้ายด้วยกลิ่นหอมอ่อน ๆ ของดอกดาหลา
"เมนูกะหรี่ไหมฝาน ตับห่าน" เป็นการเพิ่มมูลค่าด้วยวัตถุดิบอย่างตับห่าน เพื่อเป็นประตูให้กับชาวต่างชาติที่อาจคุ้นชินในรสชาติอยู่แล้ว ได้ลองตับห่านในรสชาติแบบภูเก็ต หอมเครื่องแกงกะหรี่ กับเส้นหมี่ไรซ์เบอร์รี สีสันน่ารับประทานด้วยขมิ้นสดที่ผสมในเครื่องแกง เพิ่มรสสัมผัสด้วยเต้าหู้ทอดและผักลวก หากตักทุกอย่างรวมกันในหนึ่งคำ สร้างอรรถรสได้เป็นอย่างดี
เมื่อได้ชื่อว่า เมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร อาจทำให้มีเหตุผลหรือเป้าหมายในการไปภูเก็ตเพิ่มขึ้น การมาลิ้มลองอาหารที่ได้รับมรดกตกทอดทางความอร่อย เป็น Food Tourism สำหรับการท่องเที่ยว ชิมอาหารฟิวชัน ที่ผสมผสานวัฒนธรรมเปอรานากัน ลูกครึ่ง จีน - มลายู เหล่านี้เพิ่มเสน่ห์ให้ภูเก็ตได้ไม่น้อยทีเดียว
ติดตามชมได้ในรายการ Cook Culture วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม 2566 เวลา 08.00 - 08.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live