ที่นี่บ้านเรา สารคดีโดย กอนกวย กลุ่มอนุรักษ์วัฒนธรรมกวยตำบลโพธิ์กระสังข์ วันนี้จะไปกันที่บ้านหนองขนาน อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ ไปดูวิถีการดักจับสัตว์น้ำด้วยลอบ การวางเบ็ด ของเหล่าเกษตรกร...ติดตามชมรายการที่นี่บ้านเรา ตอน เพชฌฆาตน้ำจืด ในวันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ติดตามที่มาของการจัด "งานหัวโต" โดยมีชาวบ้านจากทุกหมู่บ้านในชุมชนจรเข้สามพัน จ.สุพรรณบุรี เป็นเจ้าภาพจัดงานอย่างจริงจัง เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาติพันธ์ุด้วยกัน...ติดตามชมรายการที่นี่บ้านเรา ตอน หัวโตชาติพันธุ์ ในวันพุธที่ 27 มกราคม 2559 เวลา 13.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
จากการได้รับประสบการณ์ไม่ดี เมื่อครั้งสร้างก่อสร้างเขื่อน Shwegyin ปี 2553 ทำให้วันนี้ชาวบ้านสบเมย จ.แม่ฮ่องสอน จึงรวมตัวกันลุกขึ้นมาคัดค้านกับกรณีแผน "โครงการก่อสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำสาละวิน" ในรัฐกะเหรี่ยง....ติดตามชมรายการที่นี่บ้านเรา ตอน เรื่องเล่าจากตองจา ในวันพุธที่ 20 มกราคม 2559 เวลา 13.30 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ไปดูโครงการ "โรงเรียนครึ่งวัน ศูนย์พัฒนาการศึกษาเพื่อลูกหญิงและชุมชน อ.แม่สาย จ.เชียงราย" ที่ก่อตั้งขึ้น เพื่อให้ความรู้แก่เด็กที่อยู่ในชายต่อเขตแดน ซึ่งมีอีกเป็นจำนวนมากที่อยู่นอกระบบการศึกษา ในรายการ "ที่นี่บ้านเรา" ตอน นักเรียนนอก ในวันพุธที่ 13 มกราคม 2559 เวลา 13.30 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live
ย้อนกลับไปเมื่อ 30 ปีที่แล้ว บริการ "หนังกลางแปลง" ไม่ว่าจะอยู่ที่อุบลราชธานีหรือว่าอยู่ต่างจังหวัด เสียงคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ต่างก็กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่าเป็นยุคที่หนังกลางแปลงเฟื่องฟูสูงสุด เห็นได้จากในคืนหนึ่ง ๆ มีออกงานหลายที่ ยิ่งในวันนั้นหากฟิล์มที่ออกฉายได้ มิตร-เพชรา เป็นพระนางแล้ว เจ้าของบริการเตรียมรับทรัพย์ได้เลย เวลาเดียวกันความอิ่มเอมใจที่หาไม่ได้ง่ายๆ ดังเช่นการดูทีวีที่แสนง่ายอย่างในปัจจุบัน ทำให้หนังกลางแปลงกลายเป็นความทรงจำ ติดตามชม รายการสารคดีฝีมือการผลิตและมุมมองจากผู้ผลิตรายการภาคพลเมือง "ที่นี่บ้านเรา" ตอน เสียงในฟิล์ม ในวันพุธที่ 16 ธันวาคม 2558 เวลา 13.30 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live
ปัจจุบัน "ชาวม้ง" ส่วนใหญ่ในประเทศไทย ตั้งถิ่นฐานพำนักอยู่บนที่ราบสูงหรือที่ราบเชิงเขา มีสภาพสังคมที่เชิดชูชายเป็นใหญ่ ผู้ชายมักจะได้รับการศึกษาก่อนผู้หญิงเสมอ ด้วยความเชื่อที่มีกันว่า "ผู้หญิงเปรียบเสมือนเป็นสมบัติของผู้ชาย" เพราะตอนแต่งงานผู้หญิงมาตัวเปล่า มาอาศัยเศรษฐกิจของผู้ชาย การแต่งงานของชาวม้งจึงเสมือนเป็นการเสี่ยงดวง ฐานะของผู้หญิงจึงเปลี่ยนแปลงไปตามสามี ติดตามชม รายการสารคดีฝีมือการผลิตและมุมมองจากผู้ผลิตรายการภาคพลเมือง "ที่นี่บ้านเรา" ตอน รับลูกสาวม้งกลับบ้าน ในวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2558 เวลา 13.30 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live
วิถีชีวิตของชาวลาหู่ จ.เชียงใหม่ กับแนวคิดที่พอเพียงกับการดำรงชีวิต น่าจะช่วยฉุดดึงความคิดของคนในเมืองให้ช้าลงได้ เพราะต้นไม้กับสัตว์อย่าง "ควาย" ยังสามารถอยู่ร่วมกันได้โดยมนุษย์แทบไม่ต้องทำอะไร ป่าไม้ก็กลับเจริญงอกงามมากขึ้น ดังนั้น แนวคิด "การปลูกป่า" ที่คนในเมืองโหมโรงรณรงค์เชิญชวนอย่างต่อเนื่องอาจจะไม่ใช่หนทางที่ดีสุด หากแต่การรักษาป่าให้เติบโตตามวัฏจักรของมันน่าจะเป็นทางที่ดีที่สุดมากกว่า เพราะจะทำให้ป่าไม้อยู่กับมนุษย์เราได้ตลอดไป ติดตามชม รายการสารคดีฝีมือการผลิตและมุมมองจากผู้ผลิตรายการภาคพลเมือง "ที่นี่บ้านเรา" ตอน ลาหู่ : เป็นอยู่คือ ในวันพุธที่ 2 ธันวาคม 2558 เวลา 13.30 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live
ไม่ได้ขี่บิ๊กไบค์ ไม่ใช่เด็กแว๊นซ์ สองล้อของพวกเขาเป็นเพียงรถธรรมดาที่บางคราต้องใช้โซ่พัน เราไม่รู้ว่าแต่ละคนมีเสียงร้องเพลงไพเราะเสนาะหูเพียงใด แต่ชาวบ้านไม่น้อยที่ได้ยินเพียงเสียงมอเตอร์ไซค์ก็ใจชื้นและมีความหวัง ชมภารกิจของคนธรรมดากับสองล้อคู่ใจโดยมีปลายทางคือ ชีวิตคนบนผืนดินที่ถูกลืม ติดตามชม รายการสารคดีฝีมือการผลิตและมุมมองจากผู้ผลิตรายการภาคพลเมือง "ที่นี่บ้านเรา" ตอน THE DOCTOR : หมออนามัย ในวันพุธที่ 25 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13.30 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live
"การเกษตร" ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องของปากท้องเท่านั้น หากยังเกี่ยวข้องกับการบำบัดทางกายและทางใจ ดังเช่น โครงการฟื้นฟูศักยภาพทางสังคม จิตใจผู้ป่วยจิตเวช โดย เกษตรกรรม ที่ไม่เพียงแค่บำบัดแต่คนไข้ยังดำรงชีพได้ด้วยอาชีพคนสวน ซึ่งสามารถต่อยอดไปสู่การดำรงชีวิตในชุมชนในภายภาคหน้า หากจิตใจเปรียบกับต้นกล้า..ต้นกล้าของพวกเขาในวันนี้ก็ได้ถูกฟื้นฟู ฟูมฟัก จนเติบโตและเริ่มแข็งแกร่ง ติดตามชม รายการสารคดีฝีมือการผลิตและมุมมองจากผู้ผลิตรายการภาคพลเมือง "ที่นี่บ้านเรา" ตอน เกษตรบำบัด ในวันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13.30 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live
ที่นี่บ้านเราสัปดาห์นี้ สารคดีโดย กอนกวย กลุ่มอนุรักษ์วัฒนธรรมกวยตำบลโพธิ์กระสังข์ จะพาไปดูกลุ่มชาติพันธุ์ชาวกวยในจังหวัดศรีสะเกษกับความเชื่อเกี่ยวกับพญาแถน ถึงพิธีกรรมที่ใช้บำบัดรักษาโรคเรียกกันว่า "สะเอง" ซึ่งสืบทอดกันมาแต่โบราณ คล้ายกับพิธีรำผีฟ้าของกลุ่มอีสานเหนือหรือภาคกลาง ติดตามชม รายการสารคดีฝีมือการผลิตและมุมมองจากผู้ผลิตรายการภาคพลเมือง "ที่นี่บ้านเรา" ตอน สะเองกวย ในวันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13.30 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live
จากการที่เราสัมผัสหรือรับรู้เกี่ยวกับชาติพันธุ์ ซึ่งคนในแถบจังหวัดพัทลุงจะเรียกกันว่า เงาะป่าซาไก รวมถึงนิยามของคนกลุ่มนี้ต่างๆ นานา ด้วยการบอกเล่า แต่เรายังไม่เคยได้พบเห็นและรับทราบเรื่องราวจากปากของพวกเขาโดยตรง จนเกิดคำถามว่า "ปัจจัยสี่ของพวกเขามีอะไรบ้าง" ทีมนครมีเดียจึงลงพื้นที่แถบทิวเขาบรรทัดเพื่อไปพบเจอกับพวกเขา "กลุ่มมันนิ หรือ เซมัง" ติดตามชม รายการสารคดีฝีมือการผลิตและมุมมองจากผู้ผลิตรายการภาคพลเมือง "ที่นี่บ้านเรา" ตอน "มันนิ" คนธรรมดาแห่งเทือกเขาบรรทัด ในวันพุธที่ 4 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13.30 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live
"บ้านของผมถูกเผา ต้องอพยพไปอยู่ที่อื่น ไปอยู่ได้หนึ่งปี แม่ของผมบอกว่าน้าสาวจะไปมาเลเซีย ให้ผมไปส่ง ผมไปส่งน้าที่ตลาด นายหน้าพูดว่า "ไอ้หนุ่มต้องไปด้วยกันนะ" ผมบอกว่าผมไม่ไป เดินย้อนกลับมาบ้านได้ครึ่งทาง นายหน้าตามมาอุ้มตัวผมแล้วจับโยนใส่เรือ" "ผู้หญิงรุ่นเดียวกันกับฉัน บางคนถูกนายหน้าทำร้ายร่างกายจนตาย บางคนกระโดดทะเลฆ่าตัวตาย ฉันโชคดีที่มีชีวิตรอด" "ตั้งแต่มาอยู่ที่บ้านพักเด็กและครอบครัว มีคนไทยดูแลผมอย่างดี ติดตามชม รายการสารคดีฝีมือการผลิตและมุมมองจากผู้ผลิตรายการภาคพลเมือง "ที่นี่บ้านเรา" ตอน "โรฮิงญา" ใต้ขอบฟ้าเดียวกัน ในวันพุธที่ 28 ตุลาคม 2558 เวลา 13.30 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมผ่านทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/live