Back To Basics
พาย้อนอดีต และร่วมวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ หาเหตุผลว่า อะไรที่ทำโลกในปัจจุบันเป็นดั่งเช่นทุกวันนี้
#BackToBasics EP. 28 พูดคุยกับ คุณแนตตี้ อรรวี แตงมีแสง เจ้าของเพจ Facebook Natty loves Myanmar และเคยอาศัยอยู่ที่ประเทศเมียนมา จะมาเล่าถึงสถานการณ์และความเป็นอยู่ของประชาชน หลังจากมีการก่อรัฐประหาร ที่นำโดย พล.อ. อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ตั้งแต่ 1 ก.พ. 2021 มาถึงปีนี้ 2025 ชาวเมียนมามีชะตากรรมอย่างไรบ้าง
ทำไมตะวันออกกลางถึงมีสงครามไม่จบสิ้น ? วิเคราะห์ชนวนเหตุความขัดแย้ง ประวัติศาสตร์ที่ซับซ้อน และบทบาทของชาติมหาอำนาจในภูมิภาคนี้ พร้อมเจาะลึกกลุ่มติดอาวุธที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลก พวกเขาเกี่ยวข้องอย่างไรกับความรุนแรงในตะวันออกกลาง และประเทศเล็ก ๆ ในภูมิภาคนี้เป็นเพียงหมากในเกมของมหาอำนาจจริงหรือไม่ ?
โลกในยุคปัจจุบัน ก้าวหน้าไปไกลในหลายด้าน แต่เรายังคงเห็นสงครามเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วโลก คำถามคือ ทำไมมนุษย์ถึงไม่สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติได้ ? อะไรคือปมปัญหาที่นำไปสู่ความขัดแย้ง . พูดคุยกับ พล.ท. พงศกร รอดชมภู อดีตรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
พูดคุยกับ ม.ล. ณัฏฐกรณ์ เทวกุล หลังโดนัลด์ ทรัมป์ จากพรรครีพับลิกันชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เอาชนะรองประธานาธิบดีคามาลา แฮร์ริส คู่แข่งจากพรรคเดโมแครต ก้าวขึ้นเป็นผู้นำอเมริกาสมัยที่ 2 คำถามที่ตามมาคือสหรัฐอเมริกา ต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร และจะมีนโยบายใดกระทบต่อโลกนี้บ้าง
พูดคุยกับ ศาสตราจารย์ ดร. สุเนตร ชุตินธรานนท์ เกี่ยวกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา กับเหตุการณ์ลอบปลงประชนม์ "สมเด็จพระไชยราชาธิราช" จากการวางแผนของ ท้าวศรีสุดาจันทร์ อัครมเหสี ร่วมกับ "ขุนวรวงศาธิราช" ที่เชื่อกันว่าเป็นชู้รักของ "แม่หยัวศรีสุดาจันทร์"
#ไซอิ๋ว หนึ่งใน 4 สุดยอดวรรณกรรมจีน นอกหนือจาก สามก๊ก, ซ้องกั๋ง และ ความฝันในหอแดง และถูกดัดแปลงสู่บทละครทีวี หรือภาพยนตร์ บ่อยครั้งที่สุด และเมื่อไม่นานมานี้ผู้พัฒนาเกมสัญชาติจีน ได้หยิบยกเอา #ซุนหงอคง ตัวละครเอกของเรื่อง มาดัดแปลงเป็นรูปแบบวีดีโอเกม ชื่อ Black Myth : Wukong และจุดกระแสอย่างกว้างขวางบนโลกออนไลน์ทั้งไทยและต่างประเทศ ซึ่งการนำเอาตำนานและวัฒนธรรมจีนโบราณมาถ่ายทอดผ่านวิดีโอเกมนั้น สร้างความสนใจและความประทับใจในวัฒนธรรมจีนของผู้เล่นทั่วโลก และปฏิเสธไม่ได้ว่า Black Myth : Wukong กลายเป็นหนึ่งใน Soft Power ให้คนทั่วโลกหันมาสนใจวัฒนธรรมจีนมากขึ้น แต่ถ้าจะมองลึกลงไปในทางประวัติศาสตร์ "นิยายไซอิ๋ว" ก็มีเค้าโครงมาจากการเดินทางของ "พระถังซัมจั๋ง" จริง ๆ เช่นกัน ข้อมูลจากบันทึกของจริงนั้นจะเป็นเช่นไร ร่วมพูดคุยกับ "อ๋อง" นิธิพันธ์ วิประวิทย์ นักสื่อสารประวัติศาสตร์จีน และสุดยอดแฟนพันธุ์แท้ราชวงศ์จีน
ย้อนอดีตการรวมกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แรกเริ่มเดิมทีนั้นมีที่มาที่ไปเป็นอย่างไร มีความเกี่ยวข้องกับการเมืองโลก ณ ขณะนั้นหรือไม่ และกลุ่ม ASEAN 10 ประเทศในปัจจุบันนั้น มีอำนาจต่อรองอะไรกับมหาอำนาจโลกได้บ้าง ภูมิภาคนี้มีความสมัครสมานสามัคคี และเป็นเอกภาพมากแค่ไหน ร่วมพูดคุยกับ อาจารย์ทรงฤทธิ์ โพนเงิน นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขง
อุณหภูมิความตึงเครียดในภูมิภาคตะวันออกกลางร้อนแรงมากขึ้น หลังจากอิสราเอลกับฮิซบอลเลาะห์เปิดฉากโจมตีท่าทีแข็งกร้าวของทั้ง 2 ฝ่าย อาจสร้างความปั่นป่วนภายในภูมิภาคตะวันออกกลาง ไปสู่สงครามเต็มรูปแบบจะยิ่งซ้ำเติมสถานการณ์ให้เลวร้ายลงอีก . ความขัดแย้ง "ฮิซบอลเลาะห์-อิสราเอล" มีต้นตอมาจากไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร ใครเป็นคนเริ่มก่อน พูดคุยกับ ผศ.ดร. มาโนชญ์ อารีย์ อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ดำเนินรายการ : สิปปกร ศรีศรุตวสนะ Producer :กานต์ธิดา คุณพาที, สิปปกร ศรีศรุตวสนะ
เลือกตั้งสหรัฐฯ ในช่วงเดือน พฤศจิกายน ปี 2024 นับเป็นการเลือกตั้งครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของการเมืองสหรัฐฯ และการเมืองระดับโลกด้วย เพราะจากบริบทความขัดแย้งของภูมิรัฐศาสตร์โลก ผู้นำคนต่อไปของ "สหรัฐอเมริกา" ซึ่งเป็นมหาอำนาจโลกย่อมส่งผลถึงหลาย ๆ อย่างเช่น ทิศทางของสงครามยูเครนรัสเซีย การสู้รบกันระหว่างอิสราเอลและกลุ่มฮามาสที่อาจจะลุกลามไปยังตะวันออกกลางด้วย และที่สำคัญคือสงครามการค้ากับ "จีน" พูดคุยกับ ผศ.ดร.ประพีร์ อภิชาติสกล อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์ หลักสูตรนิติศาสตรบัณทิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และอุปนายกสมาคมอเมริกันศึกษาในประเทศไทย ดำเนินรายการ : สิปปกร ศรีศรุตวสนะ Producer : กานต์ธิดา คุณพาที, สิปปกร ศรีศรุตวสนะ Production : วงศกานต์ จิรัฐิติกานต์, ทศพร ทศธำรมย์, พิสิษฐ์ กองแก้ว
รศ.ดร. สมภพ มานะรังสรรค์ อธิการบดีสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ให้ความรู้ในเรื่องของเศรษฐกิจจีน ว่า "สี จิ้นผิง" ประธานาธิบดี ที่เริ่มต้นตำแหน่งผู้นำจีนเมื่อปี 2013 นั้น มีวิธีการและนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างไร เพื่อทำให้ "แผ่นดินใหญ่" พัฒนาด้านเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดโดยใช้เวลาเพียงไม่กี่ปี นอกจากนั้นจีนยังโดดเด่นในเรื่องการส่งออก จนจีนถูกมองว่าเป็น "ผู้ร้าย" สำหรับหลายประเทศ เพราะแต่ละประเทศที่ทำการค้ากับ "แดนมังกร" นั้นล้วนแต่เสียดุลการค้าให้จีนทั้งสิ้น และหนึ่งในนั้นก็คือประเทศไทย และตอนนี้ผู้ประกอบการในไทยเอง ก็กำลังประสบปัญหา "สินค้าจีน" ที่เข้ามาตีตลาดไทยจนหลาย ๆ โรงงานต่างทยอยปิดตัวลง
พูดคุยกับบ พล.ท. พงศกร รอดชมภู อดีตรองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และอดีตประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐฯ ถึงบทบาทของไทย ควรจะมีมาตรการเชิงรุกในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น สงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ยืดเยื้อ รวมถึง สงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ที่นับวันยิ่งขยายวงกว้าง แม้กระทั่งในอาเซียนเองก็มีปัญหาที่แก้ไม่จบ อย่างศึกระหว่างกองทัพเมียนมา กับกองทัพกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ โลกท่ามสมรภูมิสงคราม และมรสุมของเศรษฐกิจ "ประเทศไทย" จะฝ่าไปอย่างไร ในยุคโลกวุ่น ?
พูดคุยกับ นิธิพันธ์ วิประวิทย์ (Ong China) นักสื่อสารประวัติศาสตร์จีน-สุดยอดแฟนพันธุ์แท้ ราชวงศ์จีน ถึงประวัติศาสตร์กว่า 3,500 ปี ของจีนแผ่นดินใหญ่ จากยุคสมัยที่รุ่งเรืองของจักรพรรดิ ความยิ่งใหญ่ของ "จิ๋นซี ฮ่องเต้" การสร้างกำแพงเมืองจีน การรวมชาติให้เป็นหนึ่งเดียว และความลับที่ยังไม่ถูกเปิดเผยของ "สุสานจิ๋นซี" สู่ยุคปฏิวัติวัฒนธรรม นาทีแห่งการล่มสลายของราชวงศ์ เปรียบเทียบผลงานประธานาธิบดีจีน กับ องค์จักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ในอดีต ความแตกต่างในแต่ละยุคสมัยของการเมืองจีน จุดเริ่มต้น "เสื่อผืน หมอนใบ" สาเหตุที่ชาวจีนโพ้นทะเลเดินทางมาไทย จนถือกำเนิดไชนาทาวน์ชื่อดังอย่าง "เยาวราช"
พูดคุยกับ รศ.ดร. ดุลยภาค ปรีชารัชช นายกสมาคมภูมิภาคศึกษา และอาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มุมมองแนวคิด ของผู้นำประเทศที่ขึ้นชื่อว่าเป็น "ผู้นำชาติผเด็จการ" กับเป้าหมายการค้ำยันประเทศฝั่งประชาธิปไตย ที่นำโดย "สหรัฐอเมริกา"
รศ.ดร. อัทธ์ พิศาลวานิช นักวิชาการอิสระและผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จะมาอธิบาย รากลึกของโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ปัญหาการบริหารจัดการในอดีตที่ส่งผลกระทบทำให้เศรษฐกิจไทยในปัจจุบันมาสู่จุดนี้
พูดคุยกับ อ. ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี เล่าที่มาที่ไป ในเรื่องของความเชื่อ และโอกาสที่ไทย จะใช้สิ่งเหล่านี้มาเป็นหนึ่งช่องทางในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เพราะที่ผ่านมานั้น บรรดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เครื่องรางของขลัง ก็ได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติก็และนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลก
หลังจากเกิดภาพการไปเยือนเวียดนาม ของ 2 ชาติมหาอำนาจ คือ สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน และ โจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐฯ นับว่าเป็นสัญญาณหนึ่ง ที่มองได้ว่า เศรษฐกิจเวียดนาม กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น จึงเกิดคำถามว่า เมื่อเทียบกับไทยแล้ว เศรษฐกิจเวียดนาม ที่ตามหลังไทยอยู่นั้น มีแน้มโน้มที่จะขึ้นมาเทียบได้มาก-น้อยแค่ไหน หรือมีโอกาสที่จะแซงไทยไปเลยหรือไม่
การที่อินเดียก้าวขึ้นมามีบทบาทบนเวทีโลกมากขึ้น ทั้งแง่ความใหญ่ของเศรษฐกิจ จำนวนประชากร ตลอดจนการวางตัวเป็นกลางบนเกมการเมืองโลก และศักยภาพด้านเทคโนโลยีที่โดดเด่นในหลายอุตสาหกรรม ปัจจัยดังกล่าวสะท้อนถึงขุมทรัพย์แห่งโอกาสของอินเดีย ที่จะผงาดขึ้นเป็นชาติมหาอำนาจโลก แน่นอนว่า ชาติมหาอำนาจในปัจจุบัน อย่าง สหรัฐฯ จีน หรือ ชาติยุโรป ต่างจับตามอง ร่วม พูดคุยกับ รศ.สุรัตน์ โหราชัยกุล ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ และผู้อำนวยการศูนย์อินเดียศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สงกรานต์ คือ ประเพณีของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนาม และมนฑลยูนานของจีน รวมถึงศรีลังกา และประเทศทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สันนิษฐานกันว่า ประเพณีสงกรานต์นั้นได้รับวัฒนธรรมมาจากเทศกาลโฮลีในอินเดีย Back to Basics พาเจาะเวลาตามหา รากเหง้าของเทศกาลสงกรานต์ เข้ามาในอาเซียน และไทยได้อย่างไร