ปี “อธิกสุรทิน” ที่หลาย ๆ คนรู้จัก มักถูกเพิ่มวันพิเศษเข้ามา 1 วัน ในเดือน “กุมภาพันธ์” แต่กรณีอย่างนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเสมอไป สาเหตุมาจากอะไร ไปทำความเข้าใจร่วมกันค่ะ
“โลกหมุนรอบตัวเอง” ครบ 1 รอบ (ใช้เวลาประมาณ 24 ชั่วโมง) จะทำให้เกิด “กลางวันและกลางคืน” ในขณะที่ โลกหมุนรอบตัวเองโลกได้โคจรรอบดวงอาทิตย์ไปด้วย จะทำให้เกิด “ฤดูกาล” ซึ่งใช้เวลาประมาณ 365.25 วัน หรือ 365 วัน และอีก 5 ชั่วโมง 48 นาที 56 วินาที
ตามปฏิทินโดยทั่วไปหากปีไหนมี 365 วัน จะถูกเรียกว่า “ปีทั่วไป” ซึ่งเป็นตัวกำหนดจำนวนวัน ที่โลกใช้เวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบหนึ่งรอบ แต่จริง ๆ แล้ว 365 นั้น เป็นเลขปัดเศษ เพราะโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ 365 วัน กับอีก 5 ชั่วโมง 48 นาที 56 วินาที ส่วนปี “อธิกสุรทิน” พิเศษขึ้นมาเล็กน้อยตรงที่ ต้องคำนึงถึงเวลาที่เพิ่มขึ้นมา ด้วยวิธีการใดวิธีหนึ่ง เพราะหากเราไม่คำนวณช่วงที่เพิ่มมานั้น จะทำให้ฤดูกาลต่าง ๆ เริ่มเคลื่อนไปเรื่อย ๆ ในตลอดระยะเวลาประมาณ 700 ปี ฤดูร้อนที่เราคาดว่าจะเกิดในเดือนมิถุนายน อาจเกิดขึ้นในเดือนธันวาคมแทน !
ซึ่งการเพิ่มวันพิเศษมา 1 วัน ในเดือนกุมภาพันธ์ ทุก ๆ 4 ปี หรือที่เรียกกันว่าปี “อธิกสุรทิน” นี้ ถ้าหากคิดเลขตามสูตรคณิตศาสตร์ง่าย ๆ ก็จะรู้ว่า ปี “อธิกสุรทิน” นั้นไม่ใช่ 24 ชั่วโมงพอดิบพอดี แต่จะเป็น 23.2422 ชั่วโมง ซึ่งได้ทำการปัดเศษอีกแล้ว ! แต่ถึงอย่างนั้นในการเพิ่มปี “อธิกสุรทิน” ก็ทำให้ปฏิทินยาวขึ้นได้กว่า 44 นาที
แต่เมื่อเวลาผ่านไป 44 นาทีที่เพิ่มขึ้นนี้อาจทำให้ฤดูกาลต่าง ๆ ในปฏิทินของเราเคลื่อนไปด้วย นั่นจึงทำให้ไม่ใช่ทุก ๆ 4 ปี ที่จะเป็นปีอธิกสุรทิน แต่กฎในการคำนวณคือ ถ้าหารด้วย 100 ลงตัวและหารด้วย 400 ไม่ลงตัว ปี “อธิกสุรทิน” จะถูกข้ามไป ตัวอย่างเช่น ปี 2000 เป็นปี “อธิกสุรทิน” แต่ปี 1700, 1800 และ 1900 ไม่ใช่ ครั้งต่อไปที่จะข้ามปี “อธิกสุรทิน” คือปี 2100
สาเหตุที่เรียกปีที่มี 366 วัน ว่าปี “อธิกสุรทิน” เพราะว่าโดยปกติแล้ววันเกิดเฉพาะตัวบุคคลจะเลื่อนไปหนึ่งวันในทุกปี เช่น ถ้าเป็นวันจันทร์ของปีหนึ่ง ในปีถัดไปจะตรงวันอังคาร แต่ปี “อธิกสุรทิน” ถูกเพิ่มวันพิเศษเข้าไป 1 วัน วันเกิดจึงถูก “ข้าม” มากกว่าหนึ่งวัน ดังนั้น หากวันเกิดครั้งล่าสุดของคุณคือวันจันทร์ ตอนนี้ก็จะเป็นวันพุธแทน
🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : economictimes