งานวิจัยเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการนอน-สุขภาพของพนักงานกะหรือคนอื่น ๆ ที่ทำงานนอกเวลาทำงานปกติ ซึ่งโดยทั่วไปเวลาเราทำงานนานกว่าปกติก็ต้องนอนเพิ่มเพื่อไม่ให้รู้สึกเพลีย แต่นักวิจัยค้นพบว่าการปรับแต่ง-กระตุ้นเซลล์แอสโทรไซต์ (astrocytes) ในสมองหนู ทำให้หนูตื่นตัวปกติ โดยไม่รู้สึกง่วงนอนแม้นอนน้อยลง 6 ชั่วโมง
โดยนักวิจัยจาก Washington State University (WSU) ได้เปิดเผยผลการวิจัย โดยแสดงให้เห็นว่าแอสโทรไซต์ซึ่งอยู่ในสมองส่วนหน้าของหนูมีบทบาทในการควบคุมความรู้สึก ซึ่งเชื่อมโยงกับวงจรการนอนหลับและความต้องการการนอนหลับ เมื่อนักวิจัยปรับแต่ง-กระตุ้นเซลล์แอสโทรไซต์ของหนู แม้จะนอนน้อยกว่าปกติ 6 ชั่วโมง หนูเหล่านี้ก็ไม่พบสัญญาณความผิดปกติของในสมอง รวมถึงความเฉื่อยชาทางร่างกายที่มักจะมาพร้อมกับการอดนอน
แม้จะนอนน้อยลง 6 ชั่วโมง แต่ผลจากการปรับแต่ง-กระตุ้นเซลล์แอสโทรไซต์ทำให้หนูที่เข้ารับการทดลองตื่นตัวเหมือนนอนหลับเต็มอิ่มทั้งในแง่ระยะเวลาการนอนและหลับสนิท โดยขั้นตอนต่อไปจะมีการศึกษาผลกระทบของการตื่นตัวเป็นเวลานาน เพื่อหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพการนอนหลับของคนที่อดนอนเป็นประจำ รวมถึงผู้ที่ทำงานกะกลางคืน ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ส่งผลกระทบกับสุขภาพ
🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ ThaiPBS
--------------------------
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : newatlas