ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ทำไม ? “น้ำมูกไหล” เพราะอากาศหนาว


วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี

23 ธ.ค. 67

จิราภพ ทวีสูงส่ง

Logo Thai PBS
แชร์

ทำไม ? “น้ำมูกไหล” เพราะอากาศหนาว

https://www.thaipbs.or.th/now/content/2067

ทำไม ? “น้ำมูกไหล” เพราะอากาศหนาว
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

เมื่อเราสัมผัสกับอากาศหนาว ลมพัดแรง ทำไม ? “น้ำมูกไหล”  เพราะอะไรจึงเกิดอาการนี้ขึ้น Thai PBS Sci & Tech พาไปหาคำตอบกัน

sick-korean-woman-home

คำอธิบายสำหรับการเกิด “น้ำมูกไหล” เนื่องจาก “อากาศหนาว” นั้นค่อนข้างเรียบง่าย โดยในทางเทคนิคแล้วถือเป็นเรื่องดี เพราะน้ำมูกที่ไหลในอากาศเย็นแสดงว่าจมูกกำลังทำหน้าที่ แม้ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยจะดีก็ตาม เนื่องจากเมื่อเราสูดอากาศเย็น จมูกจะทำงานเพื่อให้ความอบอุ่นและเพิ่มความชื้นให้กับอากาศก่อนจะเข้าสู่ปอด ซึ่งทำได้โดยทำให้หลอดเลือดในโพรงจมูกขยายตัว เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและสร้างความอบอุ่นมากขึ้นนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม เพื่อเพิ่มความชื้น กระบวนการเดียวกันนี้จะกระตุ้นให้ “ต่อมจมูก” ของเรา “ผลิตเมือก” เมื่ออากาศหนาวและมีลมแรง จมูกอาจผลิตเมือกมากเกินไปจนไหลออกมาทางรูจมูก จากนั้นเมื่อผสมกับไอน้ำจากลมหายใจออกหรือความชื้นจากอากาศ เมือกอาจยิ่งไหลชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ไม่สบายและจาม

ขณะเดียวกัน ลมแรงอาจทำให้ดวงตาของเรามีน้ำตาไหลได้เนื่องจากระคายเคือง โดยอาจทำให้น้ำตาไหลออกมามากเกินไป ไหลลงมาตามใบหน้าหรือไหลออกทางรูเล็ก ๆ ที่เรียกว่า “รูน้ำตา” (punctum) ซึ่งอยู่บริเวณหางตาถัดจากจมูก รูน้ำตาจะไหลเข้าไปในโพรงไซนัสและจมูก ทำให้น้ำตาผสมกับเมือกส่วนเกินจนเกิดเป็นของเหลวใสขึ้น

กลไกการชดเชยที่เหนียวเหนอะหนะเหล่านี้ เป็นส่วนปกติของร่างกายที่พยายามปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ โดยผู้คนประมาณ 50 - 90% อาจมีน้ำมูกไหลเมื่ออากาศหนาว แต่บางคนก็อาจมีแนวโน้มน้ำมูกไหลมากกว่าคนอื่น ๆ เช่น ผู้ที่เป็นโรคหอบหืด กลาก รวมถึงไข้ละอองฟาง (โรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่งเกิดจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน) มักจะมีอาการดังกล่าวมากกว่า

ผู้หญิงไม่สบาย น้ำมูกไหล

สำหรับการรับมือ “น้ำมูกไหล” อาจทำได้โดยใส่เสื้อหนา ๆ รวมถึงสวมผ้าพันคอเพื่อให้ร่างกายอบอุ่น เลี่ยงการสัมผัสลม - อากาศชื้น แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรพกทิชชูหรือผ้าเช็ดหน้าติดตัวไว้ หรือถ้าไม่มีอาจจำเป็นต้องใช้แขนเสื้อเช็ดน้ำมูก ซึ่งนอกจากเทคนิคเมื่อกี้แล้ว สเปรย์พ่นจมูกที่มีฤทธิ์ต้านโคลิเนอร์จิก (Cholinergic) และยาแก้อักเสบก็สามารถช่วยได้เช่นกัน


อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS
 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : iflscience

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

แท็กที่เกี่ยวข้อง

น้ำมูกไหลอากาศหนาวจมูกต่อมจมูกน้ำมูกแพ้อากาศวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์น่ารู้Thai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Science
จิราภพ ทวีสูงส่ง
ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

เซบา บาสตี้ : เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส / Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover (ติดต่อ jiraphob.thawisoonsong@gmail.com หรือ 0854129703)

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด