ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รู้จัก “ซูดาน” ในมุมที่คุณอาจไม่รู้


รอบโลก

28 เม.ย. 66

จิราภพ ทวีสูงส่ง

Logo Thai PBS
แชร์

รู้จัก “ซูดาน” ในมุมที่คุณอาจไม่รู้

https://www.thaipbs.or.th/now/content/148

รู้จัก “ซูดาน” ในมุมที่คุณอาจไม่รู้
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

     นอกจากการสู้รบที่กำลังดำเนินอยู่ใน #ซูดาน แล้ว ประเทศนี้ยังมีมุมอื่น ๆ ที่น่าศึกษาค้นหาอยู่ไม่น้อย ไทยพีบีเอส จึงรวบรวมมุมต่าง ๆ ที่น่าสนใจมาให้ได้ทราบ เพื่อที่คุณจะได้รู้จัก #ซูดานปัจจุบัน ให้มากยิ่งขึ้น 


“สาธารณรัฐซูดาน” อยู่ตรงไหนของโลก
     ที่ตั้งตามภูมิศาสตร์ ตั้งอยู่ระหว่างภูมิภาคแอฟริกาและตะวันออกกลาง มีพรมแดนติดกับอียิปต์ ลิเบีย ชาด สาธารณรัฐแอฟริกากลาง เอริเทรียเอธิโอเปีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ยูกันดา และเคนยา

     นอกจากนี้เป็นจุดกำเนิดของแม่น้ำไนล์ ที่เกิดจากแม่น้ำบลูไนล์ ซึ่งไหลมารวมกับแม่น้ำไวท์ไนล์ที่กรุงคาร์ทูม (Khartoum) ซึ่งเป็น #เมืองหลวงซูดาน ขณะที่ประชากรทั้งประเทศมีประมาณ 39.4 ล้านคน ส่วนภูมิอากาศ จะร้อนแห้งแล้งแบบทะเลทราย
 


“สาธารณรัฐซูดานใต้” ในอดีต เคยรวมเป็นประเทศเดียวกับ “สาธารณรัฐซูดาน”
     หลังจากเกิด #สงครามกลางเมืองซูดาน มาอย่างยาวนาน เมื่อปี 2011 ประชาชนจึงได้ลงมติแยกตัวออกจากซูดาน ส่งผลให้ #ซูดานใต้ กลายเป็นประเทศใหม่ที่สุดในโลก แต่ถึงอย่างนั้นปัญหาสงครามก็ยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน


“ซูดาน” พื้นที่ขนาดเท่าใด
     2,505,810 ตารางกิโลเมตร (967,493 ตารางไมล์) เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของทวีปแอฟริกา


ภาษาประจำชาติ 
     - อาราบิก เป็นภาษาราชการ 
     - ภาษาอังกฤษ 
     - ภาษาท้องถิ่นอื่น ๆ


#ซูดานศาสนา ประจำชาติ
     - มุสลิม (ซุนหนี่) 70% 
     - คริสเตียน 5%
     - และอื่น ๆ 25%


ระบอบการเมือง ระบบสาธารณรัฐ : ซูดาน
     - มีประธานาธิบดีเป็นประมุขแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาล


#ซูดานเศรษฐกิจ และสังคม
     #ประเทศซูดาน มีฐานะยากจน และมีความหลากหลายทางเชื้อชาติมากที่สุดในแอฟริกา โดยแบ่งเป็น 2 เชื้อชาติหลัก ได้แก่ อาหรับและแอฟริกันผิวดำ โดยประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ในปี 2542 มีการค้นพบแหล่งน้ำมัน ทำให้รัฐบาลเริ่มประกอบอุตสาหกรรมการผลิตน้ำมันและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การเป็นแหล่งทรัพยากรน้ำมันนี้ทำให้ #ประเทศซูดาน ได้รับความสนใจจากต่างประเทศเป็นอย่างมาก และบริษัทต่างชาติจำนวนมากประสงค์เดินทางมาเยือนซูดาน เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนในด้านกิจการน้ำมันในซูดาน 

     ขณะที่เศรษฐกิจของซูดานได้รับผลกระทบจากสงครามกลางเมือง ทำให้สาธารณูปโภคถูกทำลาย การบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจที่ผิดพลาด และการที่มีประชากรผู้พลัดถิ่นและผู้ลี้ภัยกว่า 4 ล้านคนอยู่ในประเทศ อย่างไรก็ตาม หลังจากสงครามระหว่างซูดานเหนือและ #ซูดานใต้ สิ้นสุดลง เศรษฐกิจของซูดานเติบโตขึ้นเป็นสองเท่าภายในระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา

     ดังนั้นแม้สหประชาชาติจะจัดให้ซูดาน เป็น 1 ใน 50 ประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกแต่ซูดานก็มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง เนื่องจากมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่ดีขึ้นตามลำดับ


สินค้าส่งออกสำคัญของ “ซูดาน”
     - แร่ธาตุและสินค้าเกษตร
     - น้ำมันดิบ 
     - ทองคำ 
     - เมล็ดงา 


สินค้านำเข้าที่สำคัญ 
     - อาหาร 
     - สินค้าอุตสาหกรรม 
     - อุปกรณ์ในการกลั่นและการขนส่ง 
     - ยาและเคมีภัณฑ์ 
     - สิ่งทอ 
     - ข้าวสาลี


ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ (ส่งออก)
     - จีน ร้อยละ 82.1 
     - ญี่ปุ่น ร้อยละ 8.4 
     - สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ร้อยละ 2.5


ข้อมูลเศรษฐกิจอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
     - ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ : 17.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
     - รายได้ประชาชาติต่อหัว :  1,808 ดอลลาร์สหรัฐฯ
     - การขยายตัวทางเศรษฐกิจ : ร้อยละ 6.5
     - อัตราเงินเฟ้อ : ร้อยละ 17.8
     - ทุนสำรองต่างประเทศ : 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ


ความสัมพันธ์ : “สาธารณรัฐซูดาน” กับ “ไทย”
ด้านการทูต
     ประเทศไทยสถาปนาความสัมพันธ์กับ #ซูดาน เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2525 โดยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร มีอาณาเขตครอบคลุมถึง #ประเทศซูดาน เอกอัครราชทูตคนปัจจุบันคือนายนภดล เทพพิทักษ์ และกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ กรุงคาร์ทูม คือนาย Gamal B. Elnefeidi ส่วนฝ่ายซูดานมอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูตซูดานประจำประเทศมาเลเซีย ดูแลประเทศไทย กงสุลกิตติมศักดิ์ซูดานประจำประเทศไทยคือ นาย Yahia Elmakki Mohamed

ด้านเศรษฐกิจ
     ปัจจุบันมีนักธุรกิจไทยมีการดำเนินการจัดตั้งศูนย์การค้าไทยที่กรุงคาร์ทูม เช่น ซูเปอร์มาร์เก็ตสินค้าไทย (อาหารฮาลาล) ห้องแสดงสินค้าไทย และร้านอาหารไทย นอกจากนี้ #ประเทศซูดาน ยังมีความต้องการสินค้าจากไทย เช่น เสื้อผ้า วัสดุก่อสร้าง อาหารกระป๋อง ส่วนไทยนำเข้าฝ้ายจากซูดาน


ทำไม ? คนไทยไปเรียนที่ซูดาน
     เนื่องจาก “ซูดาน” เป็นศูนย์กลางการศึกษาศาสนาอิสลาม โดยกว่าร้อยละ 80 ของชาวไทยมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และชาวมุสลิมในประเทศเพื่อนบ้านของไทย นิยมส่งลูกหลานไปเรียนเกี่ยวกับศาสนาอิสลามในประเทศแถบทวีปแอฟริกา นอกจากต้องการเปิดให้คนในครอบครัวได้เรียนรู้การใช้ชีวิตในต่างแดน

     นอกจากนี้ทวีปแอฟริกายังเป็นแหล่งศาสนาอิสลามที่เก่าแก่มากที่สุดอีกแห่งหนึ่งของโลกด้วย โดยในเมืองคาร์ทูม #เมืองหลวงซูดาน เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยนานาชาติแอฟริกา (International University of Africa) สถานที่เผยแพร่และเรียนรู้ศาสนาอิสลามที่สำคัญแห่งหนึ่งที่ผลิต “อิหม่าม” ผู้นำศาสนาอิสลามจำนวนมาก


“ซูดาน” คือแหล่งผลิตแพทย์ภาษาอาหรับชั้นเยี่ยม
     หลายคนไม่กล้าไปซูดานเพราะห่วงเรื่องโรคระบาด หรือโรคประจำถิ่น แต่สำหรับผู้ที่เรียนแพทย์แล้วนั้น "ซูดาน" ถือเป็นแหล่งคลังความรู้ที่ล้ำค่า เพราะความรู้เรื่องโรคประจำถิ่นในแถบแอฟริกา ยังถือเป็นความรู้ใหม่สำหรับเมืองไทย แพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้จะสามารถช่วยรักษาผู้ป่วย ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติที่เดินทางมาจากทวีปแอฟริกาได้

     สิ่งที่ได้กลับมาอีกอย่างคือ "ภาษา" ซูดานใช้ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลัก ชาวต่างชาติที่เข้าไปเรียน จะได้ภาษาอาหรับติดตัวมา และเป็นที่รู้กันว่า ความต้องการแพทย์ไทยที่สื่อสารภาษาอาหรับได้นั้นมีสูงมาก การได้ภาษาอาหรับกลับมา ย่อมเป็นใบเบิกทางสู่อาชีพแพทย์ในเมืองไทยได้ดี

     📌อ่านต่อ : เปิดเหตุผล คนไทยไปเรียนอะไรที่ซูดาน ? 


แหล่งข้อมูลอ้างอิง : กระทรวงการต่างประเทศ

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ซูดานประเทศซูดานสาธารณรัฐซูดาน ซูดานสู้รบ
จิราภพ ทวีสูงส่ง
ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

เซบา บาสตี้ : เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส / Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover (ติดต่อ jiraphobT@thaipbs.or.th หรือ 0854129703)

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด