NASA พัฒนา AI เพื่อใช้ในงานพยากรณ์อากาศและสู้ภัยโลกร้อน


Logo Thai PBS
NASA พัฒนา AI เพื่อใช้ในงานพยากรณ์อากาศและสู้ภัยโลกร้อน

เนื่องจากสภาวะ “โลกร้อน” ทำให้ “สภาพอากาศโลก” นั้นเปลี่ยนแปลง แบบจำลองในการ “พยากรณ์อากาศ” เดิมที่เคยใช้งานนั้นยากต่อการนำมาใช้คาดเดาสภาพอากาศในปัจจุบัน NASA จึงได้ริเริ่มที่จะการใช้ “ปัญญาประดิษฐ์” ในการสร้างเครื่องมือเพื่อการพยากรณ์อากาศ

เมื่อปี 2023 NASA ได้ร่วมมือกับ IBM เพื่อริเริ่มโครงการการพัฒนาแบบจำลองทางภูมิสารสนเทศโดยการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ แบบจำลองนี้ได้รับการฝึกบนพื้นฐานข้อมูลจากโครงการ Harmonized Landsat and Sentinel-2 (HLS) ซึ่งเป็นโครงการดาวเทียมสำรวจชั้นบรรยากาศเพื่อการพยากรณ์อากาศที่ใช้ข้อมูลจากดาวเทียม Sentinel-2A และ 2B และ Landsats 8 และ 9

ภาพถ่ายแนวชายฝั่งทางตอนเหนือของเปรู ถ่ายเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2024 ด้วยกล้องถ่ายภาพ OLI-2 (Operational Land Imager-2) บนดาวเทียม Landsat 9

โครงการนี้เริ่มต้นจากการสร้างแบบจำลองพื้นฐานเพื่อที่จะทำให้แบบจำลองนี้สามารถนำข้อมูลมาใส่แล้วเริ่มต้นการสอนแบบจำลองได้เลยทันที แบบจำลองพื้นฐานนั้นเรียนรู้ถึงเรื่องความสัมพันธ์พื้นฐานและวิธีการจัดการกับข้อมูลต่าง ๆ ได้ ซึ่งเป็นแบบจำลองเพื่อการทำนายพยากรณ์อากาศจากข้อมูลการสำรวจสภาพอากาศโดยตรง ทำให้สามารถใส่ข้อมูลดิบจากการตรวจวัดสภาพอากาศได้โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลากับการสอนแบบจำลองตั้งแต่เริ่มต้นใหม่ทั้งหมดทุกครั้ง

จากนั้นทีมนักวิจัยจะนำข้อมูลเล็กป้อนและสอนแบบจำลองเพื่อให้แบบจำลองสามารถทำการทำนายหรือวิเคราะห์ที่มีความเฉพาะเจาะจงได้ เช่น ตรวจหาการเกิดไฟป่า ตรวจจับสถานการณ์น้ำท่วม หรือจำแนกพืชผลทางการเกษตรและการใช้ประโยชน์บนที่ดิน

ภาพถ่ายแม่น้ำโคโลราโด แม่น้ำสายสำคัญของสหรัฐอเมริกาที่หล่อเลี้ยงผู้คนมากกว่า 40 ล้านชีวิต แอ่งโคโลราโดถูกระบุในการศึกษาที่นำโดย NASA ว่าเป็นภูมิภาคที่ประสบปัญหาด้านการใช้น้ำของมนุษย์อย่างต่อเนื่อง

NASA ได้ใช้ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจสภาพชั้นบรรยากาศตั้งแต่ปี 1980 จนถึงปัจจุบันมาสร้างแบบจำลองปัญญาประดิษฐ์ขนาดใหญ่ในการทำนายสภาพอากาศ แต่เนื่องจากข้อมูลและขนาดของแบบจำลองที่สร้างขึ้นมานั้นใหญ่มาก ทำให้ทางนักวิทยาศาสตร์ของ NASA เชื่อว่าไม่สามารถดำเนินโครงการนี้เพื่อศึกษาได้ทุกซอกทุกมุมได้ครบถ้วน ข้อมูลที่ใช้ในการสอน เขียนโปรแกรม และสร้างแบบจำลองนั้นจึงถูกเปิดเผยสู่สาธารณะเพื่อประโยชน์ในด้านวิทยาศาสตร์และการวิจัย ซึ่งขณะนี้ทาง NASA และ IBM Research กำลังร่วมมือกับ Oak Ridge National Laboratory (ORNL) แห่งบริษัท NVIDIA และมหาวิทยาลัยหลายแห่งเพื่อทำให้แบบจำลองนี้เป็นจริง สามารถใช้ในการจำลองสภาพบรรยากาศของโลกได้

ภาพถ่ายเหนือทวีปยุโรปในยามค่ำคืนจากสถานีอวกาศนานาชาติ

เป้าหมายสูงสุดของโครงการวิจัยนี้ก็เพื่อสร้างแบบจำลองปัญญาประดิษฐ์ขนาดใหญ่ที่สามารถจำลองโลกเสมือนจริงอีกใบที่สามารถป้อนข้อมูลและสร้างการตอบสนองสิ่งที่เกิดขึ้นได้เหมือนกับโลกอีกใบจริง ๆ ทำให้สามารถคาดเดาเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้ ซึ่งฝาแฝดของโลกนี้จะช่วยทำให้เราเข้าใจสภาพแวดล้อมของโลกจริง ๆ และเข้าใจได้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งขึ้นมาจะเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดผลกระทบอย่างไรบ้าง

ไม่ว่าผลลัพธ์ของโครงการการใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อการพยากรณ์อากาศและจำลองโลกของเราจะเป็นอย่างไรก็ตาม วิทยาศาสตร์โลกจะก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดดอย่างแน่นอนโดยอาศัยการใช้งานของเครื่องมือปัญญาประดิษฐ์ และเครื่องมือนี้จะเป็นการปูทางไปสู่การวิจัยเพื่อช่วยดูแลโลกได้ดียิ่งขึ้น

เรียบเรียงโดย : จิรสิน อัศวกุล
พิสูจน์อักษร : ศุภกิจ พัฒนพิฑูรย์


🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS  

ที่มาข้อมูล: NASA, NASA

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

แท็กที่เกี่ยวข้อง

AIปัญญาประดิษฐ์องค์การนาซานาซาNASAพยากรณ์อากาศโลกร้อนเทคโนโลยีTechnologyThai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech InnovationInnovation Tech World
Thai PBS Sci & Tech
ผู้เขียน: Thai PBS Sci & Tech

🌎 "รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก" ไปกับ Thai PBS Sci & Tech • วิทยาศาสตร์ • เทคโนโลยี นวัตกรรม • ดาราศาสตร์ • Media Literacy • Cyber Security • Tips & Tricks • Trends

บทความ NOW แนะนำ