ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เสาแสง หรือ Light Pillars บนท้องฟ้า เกิดขึ้นได้อย่างไร

Logo Thai PBS
เสาแสง หรือ Light Pillars บนท้องฟ้า เกิดขึ้นได้อย่างไร
โซเชียลตื่นตากับปรากฏการณ์ "แสงสีเขียว" เหนือท้องฟ้า มาหาคำตอบ แสงนี้คืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร

เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2568 โลกโซเชียลตื่นตา เมื่อมีการแชร์ภาพ "แสงสีเขียว" เหนือท้องฟ้าในหลายจังหวัดฝั่งทะเลอันดามันทั้ง ภูเก็ต พังงา และกระบี่ ในช่วงหลังเที่ยงคืน เป็นแนวเสาตั้งหลายสิบแท่ง ซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า พร้อมตั้งคำถามว่านี่คืออะไรเพราะเป็นภาพที่ไม่ค่อยมีโอกาสได้เห็นบ่อยนัก 

ภาพจากเพจ : Phuket Times ภูเก็ตไทม์

ภาพจากเพจ : Phuket Times ภูเก็ตไทม์

ภาพจากเพจ : Phuket Times ภูเก็ตไทม์

ภาพจากเพจ : Phuket Times ภูเก็ตไทม์

ภาพจากเพจ : Phuket Times ภูเก็ตไทม์

ภาพจากเพจ : Phuket Times ภูเก็ตไทม์

แต่นี่มันคืออะไรกันแน่ ฝนดาวตก หรือ สิ่งลึกลับจากนอกโลกหรือไม่ ในเรื่องนี้ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาแสดงความเห็น โดยระบุว่า แสงที่เห็นนั้นเป็น "Pillars of Light" (หรือ light pillars) หรือ "เสาแห่งแสง" มักพบเห็นกันเป็นระยะๆ ตามจังหวัดต่างๆ ริมทะเล

ปรากฏการณ์ลักษณะเดียวกันนี้เคยเกิดขึ้น ย้อนกลับไปในปี 2564 เคยเกิดขึ้นที่ จ.ระนอง มีข้อมูลจาก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เคยระบุไว้ว่า "เสาแสง" หรือ "Light Pillars" ปรากฏการณ์ในชั้นบรรยากาศที่หาชมยาก นั้น เคยมีการพบเห็นแสงประหลาดมีลักษณะเป็นเส้นแสงแนวตั้ง ได้เคยมีชาวบ้านพบเห็น ปรากฏอยู่เหนือท้องฟ้าบริเวณพื้นที่ อ.ละอุ่น และ อ.กระบุรี จ.ระนอง มาแล้ว เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ในปี 2564 

ชื่อภาพ:  เสาแห่งแสง Light Pillars ภาพ: นายธีรวัฒน์ ไชยกุลเจริญสิน รางวัลชนะเลิศ ประเภทภาพถ่ายปรากฏการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของโลก การประกวดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ ประจำปี 2564 สถานที่ : เขาแหลมหญ้า จังหวัดระยอง (ภาพจากเพจ NARIT )

ชื่อภาพ: เสาแห่งแสง Light Pillars ภาพ: นายธีรวัฒน์ ไชยกุลเจริญสิน รางวัลชนะเลิศ ประเภทภาพถ่ายปรากฏการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของโลก การประกวดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ ประจำปี 2564 สถานที่ : เขาแหลมหญ้า จังหวัดระยอง (ภาพจากเพจ NARIT )

ชื่อภาพ: เสาแห่งแสง Light Pillars ภาพ: นายธีรวัฒน์ ไชยกุลเจริญสิน รางวัลชนะเลิศ ประเภทภาพถ่ายปรากฏการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของโลก การประกวดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ ประจำปี 2564 สถานที่ : เขาแหลมหญ้า จังหวัดระยอง (ภาพจากเพจ NARIT )

ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดจากการที่มีผลึกน้ำแข็งรูปแผ่นแบน (plate ice crystals) จำนวนมากอยู่ในอากาศ อยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางระหว่างแหล่งกำเนิดแสงและผู้มอง ทำให้แสงจากแหล่งกำเนิดแสงสะท้อนผิวล่างของผลึกน้ำแข็งเหล่านี้ พุ่งตรงไปยังผู้มอง ทำให้ผู้มองเห็นเป็นเส้นแสงในแนวดิ่ง เรียกว่า เสาแสง (light pillars)

ในประเทศที่มีอากาศหนาวเย็นจัด ผลึกน้ำแข็งดังกล่าวมักล่องลอยอยู่ใกล้พื้น ทำให้เห็นเสาแสงพุ่งขึ้นจากพื้น ส่วนกรณีอื่นๆ เช่น ปรากฏการณ์เสาแสงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้น เกิดจากผลึกน้ำแข็งในเมฆระดับสูง เช่น เมฆซีร์โรสเตรตัส (Cirrostratus) ทำหน้าที่เป็นตัวสะท้อนแสง จึงเห็นเสาแสงจะปรากฏอยู่สูงจากพื้นค่อนข้างมาก

ฟิลิปปินส์ ก็เคยมีการพบเห็น pillars of light

รศ.ดร.เจษฎา ระบุว่า ในต่างประเทศ อย่างประเทศฟิลิปปินส์ ก็มีการพบเห็น pillars of light แบบนี้มาก่อน และเคยเป็นที่แตกตื่นกันก่อนเช่นกัน โดยเรียกกันว่า Lansuk-Lansuk ที่แปลว่า "เทียนไข" ซึ่งทางหน่วยงาน PAGASA (Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration) ประเทศฟิลิปปินส์ ได้อธิบายปรากฏการณ์แสงประหลาดนี้ไว้ว่าเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ ทางอุตุนิยมวิทยา ที่เกิดจากผลึกน้ำแข็งในอากาศ สะท้อนแสงของดวงจันทร์

และแม้ว่าเมฆชนิดต่างๆ จะสามารถมีผลึกน้ำแข็งอยู่ในเมฆได้ แต่ไม่ใช่ว่าเมฆทุกชนิดจะสามารถสะท้อนแสง ให้เกิด "แสงในแนวตั้ง" ขึ้นบนท้องฟ้าได้

เสาแห่งแสงนั้นอาจจะปรากฏขึ้นที่ไหนก็ได้ ตราบเท่าที่สภาพแวดล้อมปัจจัยตรงนั้นจะเหมาะสม โดยแสงที่เห็นที่ฟิลิปปินส์ครั้งนั้น ปรากฏขึ้นประมาณ 20-30 นาที เนื่องจากผลึกน้ำแข็งในก้อนเมฆนั้นก็ค่อยๆ สลายตัวไป ทำให้การสะท้อนแสงนั้นค่อยๆ หายไปด้วย หลักการเดียวกันนี้ ก็สามารถจะใช้อธิบายปรากฏการณ์ที่ "จันทร์ทรงกลด" หรือ "halo" ขึ้นได้เช่นกัน

อ่านข่าว : “นิด้าโพล” ระบุ “แพทองธาร” ควรปรับครม.เร็วที่สุด กระทรวงแรกสุดคือ “พาณิชย์”

ระดม “ช้างกู้ภัย” เคลียร์พื้นที่ อ.แม่ริม หลังพายุฤดูร้อนถล่ม

เหตุ “ลูกนายกฯ เบี้ยว” ซิ่งชนรถกระบะ สั่นสะเทือนถึงเพื่อไทย-ทักษิณ และนายก ฯ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง