ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

กลยุทธ์ไทยโต้ภาษี "ทรัมป์" นักวิชาการแนะอาเซียนผนึกกำลังต่อรอง

เศรษฐกิจ
8 เม.ย. 68
12:14
500
Logo Thai PBS
กลยุทธ์ไทยโต้ภาษี "ทรัมป์" นักวิชาการแนะอาเซียนผนึกกำลังต่อรอง
อ่านให้ฟัง
06:50อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"รศ.อนุสรณ์" มองกำแพงภาษีสหรัฐส่งผลให้ GDP ของไทยขยายตัวต่ำกว่า 2% แนะไทยควรร่วมอาเซียนเพื่อเพิ่มอำนาจในการต่อรอง ข้อแลกเปลี่ยนควรยึดประโยชน์ของประเทศ ชี้เป้าหมาย "ทรัมป์" หวังย้ายฐานการผลิต การจ้างงานในสหรัฐ

วันนี้ (8 เม.ย.2568) รศ.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษศาสตร์ ม.หอการค้าไทย เปิดเผยถึงการการขยายการนำเข้าสินค้าการเกษตรและปัจจัยการเกษตรขยายการลงทุนของนักลงทุนไทยในสหรัฐฯ เป็นข้อเสนอที่โดนในสหรัฐหรือไม่ในการผ่อนผันปรับภาษีให้กับไทย โดยมองว่าสหรัฐคงจะพอใจระดับหนึ่ง แต่สิ่งที่สำคัญคือรัฐบาลไทยต้องทำงานในเชิงรุก และกำหนดยุทธศาสตร์ของประเทศโดยรวม และยุทธศาสตร์รายธุรกิจอุตสาหกรรม โดยเฉพาะธุรกิจอุตสาหกรรมที่ต้องอาศัยตลาดสหรัฐฯ เป็นหลักในการส่งออก และควรจะมีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับแรงงานที่จะได้รับผลกระทบ

ซึ่งในแง่ของเศรษฐกิจภาพรวม การตอบโต้ทางการค้าในระดับ 36% อาจส่งผลให้ GDP ของไทยขยายตัวต่ำกว่า 2% ได้ แต่ถ้าหากเจรจาลดภาษีได้ก็อาจจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ดีขึ้น

ปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ใช่เกิดเฉพาะประเทศไทย แต่เกิดขึ้นกับระบบการค้าโลกโดยรวม สิ่งที่รัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กำลังกระทำคือระบบการสั่นคลอนการค้าเสรีแบบพหุภาคีภายใต้ขององค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของระบบการค้าโลก

กรณีของไทยควรแสดงจุดยืนสนับสนุนพหุภาคี เมื่อไปเจรจากับสหรัฐฯ นอกจากไปในฐานะประเทศไทยแล้ว และควรจะร่วมอาเซียนกับประเทศต่างๆ ในการเจรจาต่อรอง เพราะถ้าไปในนามอาเซียนอำนาจในการต่อรองจะสูงขึ้น เฉพาะแค่ตลาดไทยแค่ 70 ล้านคน ถ้ารวมทั้งอาเซียน 600 กว่าล้าน พลังจะมากว่าเยอะ และตอนนี้เข้าใจว่า ประธานอาเซียนได้มีการเริ่มประสานงานกับประเทศอาเซียน หลายๆ ประเทศ ในการกำหนดกลยุทธ์และเจรจาต่อรองร่วมกัน

อ่านข่าว : ส่งออก “อัญมณี”กระทบหนัก ภาษีเดิม แค่ 0-6.5% GITแนะหาตลาดทดแทน

โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ

โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ

สำหรับประเทศไทยบางอย่างที่สามารถทำได้ก่อน ก็ควรทำไปก่อนล่วงหน้า เพราะการเตรียมการไม่ได้หมายความว่าต้องไปเจรจาทันที การเจรจาเร็วหรือช้าและเมื่อเจรจาแล้วเราได้ประโยชน์ เพราะการเจรจามีการแลกได้แลกเสีย เช่น สหรัฐฯ เสนอลดภาษีให้ไทย แต่ขอให้เปิดอุตสาหกรรมบริการทั้งหมดของไทย ซึ่งต้องดูว่าไทยพร้อมหรือไม่ หรือการลดภาษีบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นภาษีการส่งออกคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โทรศัพท์ หรือบรรดาชิปทั้งหลาย ซึ่งสินค้าเหล่านี้อยู่ภายใต้การผลิตบรรษัทข้ามชาติที่ใช้เมืองไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออก

"ซึ่งจะลดภาษีให้แต่ให้เปิดประตูสินค้าเกษตร เช่นเนื้อสุกร ซึ่งจะกระทบต่อผู้ผลิตภายใน ซึ่งการเจรจาต้องยึดผลประโยชน์โดยรวมของประเทศเป็นที่ตั้ง และต้องตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลและการวิจัยที่ละเอียด ว่ายอมหรือไม่ยอมอะไร ต้องแลกกับอะไรถึงจะดีที่สุด"

แต่ในความเป็นจริงกระบวนการในการตัดสินใจทางนโยบายมีกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ที่พยายามผลักดัน ซึ่งกระบวนการมีส่วนร่วมและเป็นประชาธิปไตยก็สำคัญ แต่ท้ายที่สุดต้องตัดสินใจของผู้อำนาจทางการเมือง และผู้มีอำนาจทางนโยบาย

อ่านข่าว : เปิดขั้นตอน “ทรัมป์” เก็บภาษีไทย 9 เม.ย.ขึ้น 36% เว้นสินค้าที่ลงเรือแล้ว

รศ.อนุสรณ์ ยังระบุถึงเป้าหมายของทรัมป์ขึ้นกำแพงภาษีเพื่อที่จะให้ย้ายฐานการผลิต สร้างโรงงาน การจ้างงานในสหรัฐ ซึ่งต้องรอดูว่าจะเกิดผลแบบนั้นหรือไม่ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นภายใต้ทุนนิยมโลกาภิวัตน์ซึ่งเปิดเสรีมาโดยตลอดและการเชื่อมโยงของซัพพลายเชน ห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งเมื่อขึ้นภาษีจะมีผลกระทบ และขณะเดียวกันจะเกิดการยืดหยุ่นการปรับตัวของบรรษัทข้ามชาติ เช่น คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ส่วนประกอบซึ่งไทยส่งออกไปยังสหรัฐ และสัดส่วนมูลค่าการส่งออกเกือบ 20% ที่มีทั้งโรงงานในสหรัฐฯ เวียดนาม รวมถึงไทย แต่เมื่อเจอกำแพงภาษีอาจจะลดกำลังการผลิต จะทำให้การส่งออกไปสหรัฐฯ ได้น้อยลง หรือเพิ่มกำลังการผลิตสหรัฐฯ และขายภายในสหรัฐฯ ไม่ต้องเจอกำแพงภาษี ซึ่งเป็นการปรับตัวของบรรษัทข้ามชาติที่มีโรงงานอยู่หลายแห่งทั่วโลก

ส่วนบรรดาบริษัทที่ผลิตคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่อยู่ในไทยขายสหรัฐฯ ไม่ได้ ทั้งที่สหรัฐฯ เป็นตลาดใหญ่ ซึ่งจำเป็นต้องไปหาตลาดใหม่ แต่เมื่อทุกประเทศต้องเจอกำแพงภาษีจากสหรัฐฯ แต่ละประเทศก็ต่างหาตลาดใหม่เช่นกัน ภาพรวมเศรษฐกิจโลก การค้าโลกก็จะหดตัวภายใต้การกีดกันทางการค้า ฉะนั้นถือว่าเป็นโจทย์ที่ยาก

ซึ่งจำเป็นต้องมานั่งดูภายในว่าจะกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างไร ซึ่งต้องดำเนินนโยบายการผ่อนคลายทางการเมือง การคลัง แต่การผ่อนคลายทางการคลังจะติดในเรื่องของงบประมาณขาดดุลอยู่แล้ว หนี้สาธารณะก็สูง ดอกเบี้ยอาจจะลดได้อีกเพื่อประคองเศรษฐกิจ ไม่อย่างนั้นเศรษฐกิจในไตรมาส 2 และ 3 จะทรุดตัวเร็วมาก และจะกระทบผู้ใช้แรงงานที่อยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ส่งออกไม่ได้

นอกจากนี้ รศ.อนุสรณ์ มองว่าจำเป็นอย่างยิ่งในการปรับลดดอกเบี้ยในสถานการณ์แบบนี้ เพราะโอกาสที่เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวต่ำมาก และมีความเป็นไปได้ที่ส่งออกจะติดลบสูง แต่อย่างไรก็ตามต้องรอดูสถานการณ์ในสหรัฐด้วย เพราะมีการประท้วงตามเมืองต่างๆ และมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันในทีมของทรัมป์ที่สวนทางกันอย่างชัดเจน

อ่านข่าว :

ทรัมป์สุมไฟเพิ่ม! ขู่ไม่คุยจีน ขึ้นภาษีรวม 104% หากไม่หยุดตอบโต้

เศรษฐกิจ "เอเชีย" วิกฤตเกิดคาด ภาษีทรัมป์ฉุด "หุ้นร่วง" ทั่วโลก

สหรัฐฯ เผย 50 ชาติขอเจรจา "ทรัมป์" ประเด็นภาษีนำเข้า

ข่าวที่เกี่ยวข้อง