จากกรณีเกิดเหตุแผ่นดินไหวในพื้นที่กรุงเทพฯ จนทำให้อาคารที่อยู่ระหว่างก่อสร้างพังถล่มจนทำให้มีผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก รวมถึงยังมีผู้ติดค้างอยู่ภายในหลายคน
- ปภ.เผยพบสัญญาณชีพ 15 คนติดใต้ซากตึกถล่ม - จนท.เร่งช่วย
- ในหลวง-พระราชินี ทรงรับผู้บาดเจ็บเหตุแผ่นดินไหว ไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์
- เรียนรู้ตั้งแต่เด็ก "ญี่ปุ่น" สอนเอาตัวรอดด้วย "กระเป๋านักเรียน"

ล่าสุด วันนี้ (29 มี.ค.2568) ผศ.ธเนศ วีระศิริ นายกสภาวิศวกร เปิดเผยว่า ยังไม่สามารถตรวจสอบหาสาเหตุโครงสร้างของอาคารที่ถล่มลงมาได้ในขณะนี้ แต่สิ่งที่น่ากังวลคือการรื้อถอนโครงสร้างเพื่อค้นหาผู้รอดชีวิตเป็นไปได้ยาก จึงต้องมีวิศวกรผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบแรงเคลื่อนตัวของโครงสร้าง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่ติดค้างภายใน

ผศ.ธเนศ วีระศิริ นายกสภาวิศวกร
ผศ.ธเนศ วีระศิริ นายกสภาวิศวกร
การรื้อถอนขณะนี้ยังจำเป็นต้องใช้เครื่องจักรขนาดเล็ก ในการเข้าไปรื้อย้ายในจุดที่ยังพบสัญญาณชีพ ส่วนในเรื่องของเครื่องจักรหนักนั้นสามารถรื้อถอนในส่วนที่ไม่มีผลกระทบ

แต่ในส่วนที่จะใช้เครื่องจักรหนักเจาะโพรงเพื่อที่จะเข้าไปค้นหาผู้รอดชีวิต ในโครงสร้างชั้นในมีความเสี่ยงเป็นอย่างมาก แต่เป็นวิธีกู้ภัยที่สามารถเข้าไปช่วยได้รวดเร็วที่สุด จำเป็นต้องประเมินทุกขั้นตอนในการช่วยเหลือ ในส่วนของการรื้อโครงสร้างที่ถล่มทั้งหมด จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์หรือเครื่องจักรขนาดใหญ่ รื้อถอนจากชิ้นส่วนด้านบนลงมา

ผศ.ธเนศ ยังกล่าว หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว สังคมมีความกังวลไม่น้อย เกี่ยวกับเรื่องของรอยร้าวที่เกิดขึ้นในอาคารบ้านเรือน หรือ อาคารคอนโดมิเนียม โดยรอยร้าวของจุดต่าง ๆ แบ่งระดับได้เป็น 3 ระดับ

สีเขียว คือ มีรอยแตกร้าวบริเวณผิวผนัง คือ อยู่ในระดับปลอดภัยไม่ส่งผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัย, สีเหลือง คือ โครงสร้างเริ่มมีการแตกร้าว ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเข้ามาตรวจสอบ, สีแดง เป็นอันตรายไม่สมควรเข้าไปอยู่อาศัย ซึ่งรอยร้าวที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด คือ รอยร้าวที่เห็น ทะลุอีกฝั่งของผนังและเห็นโครงเหล็ก ซึ่งรอยร้าวลักษณะนี้ จะเป็นผลมาจากโครงสร้างที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจำเป็นต้องออกจากพื้นที่และซ่อมแซม
อ่านข่าว : Traffy Fondue รับแจ้งความกังวลรอยร้าวอาคารแล้ว 5,500 เคส
ถึงเวลาต้องจัด "ถุงยังชีพ" อุปกรณ์ "เอาตัวรอด" ที่ขาดไม่ได้ยามวิกฤต
ในหลวง-พระราชินี ทรงรับผู้บาดเจ็บเหตุแผ่นดินไหว ไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์