ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เงินเยนอ่อน ต่างชาติเดินทางพุ่ง ญี่ปุ่นเจอวิกฤตนักท่องเที่ยวล้นเมือง

ต่างประเทศ
26 มี.ค. 68
17:43
312
Logo Thai PBS
เงินเยนอ่อน ต่างชาติเดินทางพุ่ง ญี่ปุ่นเจอวิกฤตนักท่องเที่ยวล้นเมือง
อ่านให้ฟัง
06:11อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ญี่ปุ่นเผชิญวิกฤตนักท่องเที่ยวล้นเมือง (Overtourism) เมื่อยอดพุ่งสูงสุด 36.9 ล้านคนในปี 2024 เกียวโต โตเกียว โอซากะ แออัดจนกระทบชีวิตคนท้องถิ่น รัฐบาลตั้งเป้า 60 ล้านคนอีก 5 ปี แต่ปัญหาความวุ่นวาย ขนส่งล้น พฤติกรรมนักท่องเที่ยวอาจทำลายเอกลักษณ์ดั้งเดิม

"เกียวโต" เมืองหลวงเก่าแก่ที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรม วัดวาอาราม และ วิถีชีวิตดั้งเดิม เป็นจุดหมายยอดนิยมด้วยมรดกโลกของยูเนสโกถึง 17 แห่ง แต่ทุกวันนี้ เกียวโตกลายเป็นภาพของความแออัด

โดยเฉพาะที่ป้ายรถบัสย่านฮิกาชิยามะ (Higashiyama) ซึ่งมีคนต่อคิวยาว 50-60 คนในช่วงเย็น รถบัสจำกัดจำนวนผู้โดยสาร เมื่อเต็มแล้วต้องรอคันต่อไป บางครั้งต้องรอนานเกินครึ่งชั่วโมงและรอถึง 3-4 คันกว่าจะได้ขึ้น แถมยังต้องเบียดกันจนแทบไม่น่าเชื่อว่านี่คือระบบขนส่งสาธารณะชั้นนำของโลก 

บริเวณทางขึ้นหน้าวัดคิโยมิซุ เกียวโต

บริเวณทางขึ้นหน้าวัดคิโยมิซุ เกียวโต

บริเวณทางขึ้นหน้าวัดคิโยมิซุ เกียวโต

ไม่ใช่แค่เกียวโตที่เจอปัญหานี้ โตเกียว โอซากะ ฮอกไกโด และเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมอื่น ๆ ก็เผชิญสถานการณ์เดียวกัน โดยเฉพาะในฤดูท่องเที่ยว เช่น ฤดูหนาว ใบไม้เปลี่ยนสี และช่วงซากุระบานที่เพิ่งผ่านไป ดอกซากุระที่บานสะพรั่งทั่วเกาะดึงดูดนักท่องเที่ยวให้หลั่งไหลเข้ามามากขึ้นทุกปี

องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (JNTO) รายงานว่า ในปี 2024 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเยือนญี่ปุ่นถึง 36.9 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.1 หรือราว 5 ล้านคน จาก 31.9 ล้านคนในปี 2023 ปัจจัยหลักมาจากนโยบายยกเว้นวีซาสำหรับ 70 ประเทศ ค่าเงินเยนที่อ่อนลง (จาก 110 เยนต่อดอลลาร์ในปี 2019 เหลือ 140-160 เยนในปี 2024) และความงดงามของวัฒนธรรมและธรรมชาติ

ทางเดินขึ้นวัดคิโยมิซุ หรือ วัดน้ำใส เกียวโต หนึ่งในสถานที่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกโลกจากยูเนสโก คราครั่งไปด้วยนักท่องเที่ยว

ทางเดินขึ้นวัดคิโยมิซุ หรือ วัดน้ำใส เกียวโต หนึ่งในสถานที่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกโลกจากยูเนสโก คราครั่งไปด้วยนักท่องเที่ยว

ทางเดินขึ้นวัดคิโยมิซุ หรือ วัดน้ำใส เกียวโต หนึ่งในสถานที่ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกโลกจากยูเนสโก คราครั่งไปด้วยนักท่องเที่ยว

นักท่องเที่ยว 3 อันดับแรกที่เดินทางท่องเที่ยวญี่ปุ่น

  1. เกาหลีใต้ จำนวน 8.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.7
  2. จีน จำนวน 7 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 187.9
  3. ไต้หวัน จำนวน 6 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 43.8

ส่วนไทยอยู่อันดับ 6 จำนวน 1.1 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.2 

เป็นที่น่าสังเกตุว่าในปีที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวจีนเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ถึงร้อยละ 187.9 นอกจากค่าเงินเยนที่อ่อนตัวลงแล้ว นโยบายวีซาที่ญี่ปุ่นผ่อนคลายให้จีน ส่งผลให้ญี่ปุ่นกลายเป็นจุดหมายปลายทางอันดับ 1 ของนักท่องเที่ยวจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือน ม.ค.2025 เพียงเดือนเดียว ญี่ปุ่นต้อนรับนักท่องเที่ยวจีนกว่า 980,000 คน มากกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วถึง 2 เท่า

ถนนคนเดินบริเวณ ศาลเจ้าดะไซฟุเท็มมังกุ (Dazaifu Tenmangu) แหล่งท่องเที่ยวสัญลักษณ์เมืองฟุกุโอกะ

ถนนคนเดินบริเวณ ศาลเจ้าดะไซฟุเท็มมังกุ (Dazaifu Tenmangu) แหล่งท่องเที่ยวสัญลักษณ์เมืองฟุกุโอกะ

ถนนคนเดินบริเวณ ศาลเจ้าดะไซฟุเท็มมังกุ (Dazaifu Tenmangu) แหล่งท่องเที่ยวสัญลักษณ์เมืองฟุกุโอกะ

นักท่องเที่ยวที่มากเกินไปส่งผลต่อชีวิตประจำวันของคนญี่ปุ่นอย่างเห็นได้ชัด ในโซเชียลมีเดียปี 2024 มีดรามาเมื่อเจ้าหน้าที่ปิดมุมถ่ายรูปยอดฮิตหน้าร้านสะดวกซื้อที่มีฉากหลังเป็นภูเขาไฟฟูจิ เพราะนักท่องเที่ยวทำตัวไม่เหมาะสม หรือร้านค้าบางแห่งติดป้ายรับเฉพาะคนที่อ่านภาษาญี่ปุ่นได้ 

หน้า วัดโทไดจิ (Tōdai-ji 東大寺) วัดที่มีความสำคัญและเก่าแก่มากที่สุดของเมืองนารา

หน้า วัดโทไดจิ (Tōdai-ji 東大寺) วัดที่มีความสำคัญและเก่าแก่มากที่สุดของเมืองนารา

หน้า วัดโทไดจิ (Tōdai-ji 東大寺) วัดที่มีความสำคัญและเก่าแก่มากที่สุดของเมืองนารา

นอกจากความแออัด นักท่องเที่ยวบางส่วนยังไม่เคารพกฎ เช่น ส่งเสียงดัง เมาสุราในที่สาธารณะ หรือทำลายสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ปัญหาขยะล้นเมืองและสุขอนามัยก็เพิ่มขึ้น ชาวญี่ปุ่นต้องปรับเปลี่ยนชีวิตประจำวันเพื่อรับมือกับความวุ่นวายนี้ ซึ่งอาจทำลายขนบธรรมเนียมและความสงบที่เป็นเอกลักษณ์

รัฐบาลญี่ปุ่นพยายามแก้ปัญหาด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น เก็บค่าธรรมเนียมเข้าชมสถานที่ท่องเที่ยวแบบ "สองราคา" (ต่างชาติและท้องถิ่นราคาต่างกัน) และวางแผนเปลี่ยนจากระบบ Tax Free (ซื้อสินค้าไม่เสียภาษีทันที) เป็น Tax Refund (จ่ายเต็มแล้วขอคืนภาษีตอนกลับประเทศ) คาดเริ่มใช้ครึ่งหลังปี 2026 เพื่อลดแรงจูงใจในการช็อปปิ้งและควบคุมจำนวนนักท่องเที่ยว ซึ่งคล้ายระบบในยุโรป

วัดโทไดจิ (Tōdai-ji 東大寺) วัดที่มีความสำคัญและเก่าแก่มากที่สุดของเมืองนารา

วัดโทไดจิ (Tōdai-ji 東大寺) วัดที่มีความสำคัญและเก่าแก่มากที่สุดของเมืองนารา

วัดโทไดจิ (Tōdai-ji 東大寺) วัดที่มีความสำคัญและเก่าแก่มากที่สุดของเมืองนารา

รัฐบาลตั้งเป้า 60 ล้านคนในปี 2030 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่การท่องเที่ยวที่กระจุกตัวในเมืองใหญ่ เช่น เกียวโต โตเกียว และโอซากะ ทำให้เกิดคำถามว่า ญี่ปุ่นจะรักษาสมดุลได้หรือไม่ หากไม่กระจายนักท่องเที่ยวไปยังเมืองรอง วิกฤตนี้ไม่เพียงกระทบชีวิตคนท้องถิ่น แต่ยังเสี่ยงทำลายเอกลักษณ์วัฒนธรรมในระยะยาว การเติบโตทางเศรษฐกิจอาจกลายเป็นหายนะที่คาดไม่ถึง

อ่านข่าวอื่น :

คปภ.ขอโซเชียลอย่าแชร์ข้อมูลผิด 10 คำถามคาใจ "Copayment"

กกพ.ประกาศตรึงค่าไฟฟ้า 4.15 บาท/หน่วย งวด พ.ค. - ส.ค.2568

ข่าวที่เกี่ยวข้อง