ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

นักวิชาการไม่ฟันธง ทักษิณสิ้นมนต์ขลังแต่พรรคต้องถอดบทเรียน และ ทำการบ้านต่อ

การเมือง
4 ก.พ. 68
13:39
52
Logo Thai PBS
นักวิชาการไม่ฟันธง ทักษิณสิ้นมนต์ขลังแต่พรรคต้องถอดบทเรียน และ ทำการบ้านต่อ
นักวิชาการ ม.เชียงใหม่ วิเคราะห์เลือกตั้งนายก อบจ. 3 จังหวัดภาคเหนือ เชื่อส่งผลให้พรรคการเมืองต้องทำงานหนักกันต่อ พร้อมปรับทัพสู้ศึกเลือกตั้งเทศบาลในอีกไม่กี่เดือนนี้ และ เตรียมความพร้อมเลือกตั้ง สส.ปี 2570

สนามเลือกตั้ง อบจ. จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และ ลำพูน คือ 3 จังหวัดในภาคเหนือตอนบนที่ถูกจับตาเป็นพิเศษ หลังพรรคการเมืองใหญ่ต่างส่งผู้สมัครลงชิงชัย โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทยที่หวังทวงคืนฐานเสียงเดิม ถึงขั้นที่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ต้องเดินทางมาขึ้นเวทีปราศรัยช่วยหาเสียงในทั้ง 3 จังหวัดรวมระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร

แต่ก็มีแค่จังหวัดเชียงใหม่เพียงจังหวัดเดียวที่พรรคเพื่อไทยสมหวัง ด้วยชัยชนะของนายพิชัย เลิศพงษ์อดิศร อดีตนายก อบจ.เชียงใหม่ ที่มีคะแนนชนะนายพันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้สมัครจากพรรคประชาชน ประมาณ 2 หมื่นคะแนน ขณะที่บัตรเสียรวมทั้งบัตรไม่ประสงค์ลงคะแนนมีจำนวนรวมกันเกือบ 1 แสนคะแนน

ส่วนที่จังหวัดเชียงราย นางอทิตาธร วันไชยธนวงศ์ อดีตนายก อบจ.เชียงราย ผู้สมัครสังกัดอิสระ ก็มีชัยเหนือ นางสลักจฤฎดิ์ ติยะไพรัช ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย ขณะที่จังหวัดลำพูน นายอนุสรณ์ วงศ์วรรณ อดีตนายก อบจ.ลำพูน ผู้สมัครของพรรคเพื่อไทย พ่ายให้กับ นายวีระเดช ภู่พิสิฐ ผู้สมัครจากพรรคประชาชนไปอย่างฉิวเฉียด 6 พันคะแนน

ผศ.ณัฐกร วิทิตานนท์ อาจารย์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ม.เชียงใหม่

ผศ.ณัฐกร วิทิตานนท์ อาจารย์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ม.เชียงใหม่

ผศ.ณัฐกร วิทิตานนท์ อาจารย์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ม.เชียงใหม่

ผศ.ณัฐกร วิทิตานนท์ อาจารย์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ม.เชียงใหม่ มองว่าผลการเลือกตั้ง นายก อบจ.เชียงใหม่ ไม่เหนือความคาดหมายเพราะ นายพิชัย เป็นอดีต นายก อบจ.ที่กุมความได้เปรียบหลายอย่าง แต่สิ่งที่ผิดคาด คือ ช่วงห่างของคะแนนที่สูสีกันอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน นับตั้งแต่มีการเลือกตั้ง นายก อบจ.โดยตรงเป็นครั้งแรก เมื่อปี 2547

ต่อคำถามที่ว่า ทักษิณสิ้นมนต์ขลังแล้วหรือไม่ ผศ.ณัฐกร บอกว่าคงไม่สามารถฟันธงได้ แต่จากการไปสังเกตการณ์ก็พบการวิวาทะกันระหว่างผู้สนับสนุนว่า ถ้าไม่ได้คุณทักษิณมาช่วยเพื่อไทยก็คงแพ้ไปแล้ว การได้ทักษิณมาในช่วงโค้งสุดท้าย ถือเป็นช่วงสำคัญที่สามารถฉุดดึงเอาคนที่เคยศรัทธาในตัวทักษิณกลับมาเลือกผู้สมัครได้

ผศ.ณัฐกร วิทิตานนท์ อาจารย์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ม.เชียงใหม่

ผศ.ณัฐกร วิทิตานนท์ อาจารย์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ม.เชียงใหม่

ผศ.ณัฐกร วิทิตานนท์ อาจารย์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ม.เชียงใหม่

แต่ขณะที่บางคนก็ไม่พอใจการมาของทักษิณ และ กลายเป็นผลด้านกลับ เพราะว่าสื่อจับจ้องทุกคำพูด และ ถูกเอาไปขยายผล อาจจะมีผลกระทบจิตใจ หรือ ทำให้คนส่วนหนึ่งเปลี่ยนใจไปเลือกพรรคประชาชนแทน ซึ่งก็คงเป็นงานของพรรคการเมือง ที่จะต้องไปทำการบ้านว่า อะไรคือ เหตุผล แรงจูงใจที่อยู่เบื้องหลังการตัดสินใจเลือกของประชาชนในครั้งนี้

นอกจากการเลือกตั้ง อบจ.แล้ว เทศบาลที่ครบวาระการดำรงตำแหน่งในวันที่ 27 มีนาคมนี้ ก็จะต้องจัดการเลือกตั้งภายใน 45 วัน เฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ มีเทศบาลนคร เทศบาลเมือง และ เทศบาลตำบล ต้องเลือกตั้งใหม่รวม 121 แห่ง ซึ่ง ผศ.ณัฐกร เชื่อว่าพรรคการเมืองน่าจะเข้าไปมีบทบาทในการเลือกตั้งเช่นเดียวกัน

ผมคิดว่าหลังจากเขาเห็นผลคะแนน เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พรรคการเมืองจะต้องกำหนดทิศทางต่อไปในการเคลื่อนไหว มั่นใจว่าพรรคการเมืองจะไม่ปล่อยโอกาสนี้ โดยเฉพาะพรรคประชาชนซึ่งเห็นแล้วว่าหลายพื้นที่ในเขตเมืองประสบความสำเร็จ จึงอาจจะสานต่อโดยการส่งผู้สมัคร เพื่อเจาะพื้นที่ ที่เป็นเขตตัวเมือง ทั้งเทศบาลนคร และ เทศบาลเมือง
รศ.ฐิติวุฒิ บุญยวงศ์วิวัชร อาจารย์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ม.เชียงใหม่

รศ.ฐิติวุฒิ บุญยวงศ์วิวัชร อาจารย์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ม.เชียงใหม่

รศ.ฐิติวุฒิ บุญยวงศ์วิวัชร อาจารย์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ม.เชียงใหม่

รศ.ฐิติวุฒิ บุญยวงศ์วิวัชร อาจารย์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ม.เชียงใหม่ มองว่าการเลือกตั้ง อบจ.ครั้งนี้ สิ่งที่น่าสนใจก็คือการเมืองในระดับชาติถูกนำมาผูกโยงกับการเลือกตั้งท้องถิ่น โดยการนำประเด็นของพรรคมาเคลื่อนไหวในพื้นที่ หรือ นำผู้มีชื่อเสียงต่างๆ ลงมาช่วยหาเสียง ซึ่งเป็นทั้งข้อดี และ ข้อเสีย ข้อดี คือ เป็นจุดขายในการดึงดูดให้ประชาชนสนใจ แต่ข้อเสีย คือ ทำให้ประเด็นของการจัดทำบริการสาธารณะของท้องถิ่น ถูกลดทอดความสำคัญลงไป

รศ.ฐิติวุฒิ บุญยวงศ์วิวัชร อาจารย์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ม.เชียงใหม่

รศ.ฐิติวุฒิ บุญยวงศ์วิวัชร อาจารย์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ม.เชียงใหม่

รศ.ฐิติวุฒิ บุญยวงศ์วิวัชร อาจารย์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ม.เชียงใหม่

อีกหนึ่งประเด็นที่ รศ.ฐิติวุฒิ สังเกตเห็น คือ พฤติกรรมการเลือกตั้งของคนในท้องถิ่นดั้งเดิม กับกลุ่มคนที่เข้ามาอยู่ใหม่อาจจะแตกต่างกันออกไป ยกกรณีตัวอย่างหน่วยเลือกตั้งของอำเภอหนึ่ง ซึ่งมี 2 หมู่บ้านตั้งใกล้ชิดกัน หมู่บ้านแรกเป็นหมู่บ้านดั้งเดิมของคนในพื้นที่ และ หมู่บ้านที่ 2 เป็นหมู่บ้านจัดสรรของผู้ที่เข้ามาอยู่ใหม่ ในหมู่บ้านแรกคนพื้นที่ดั้งเดิมจะไปเลือกพรรคการเมืองดั้งเดิมที่ตัวเองผูกพันมาในอดีต ส่วนกลุ่มหมู่บ้านใหม่ กลับลงคะแนนให้พรรคคู่แข่ง

พฤติกรรมการเลือกตั้งอย่างนี้อาจสะท้อนถึงเครือข่ายอุปถัมภ์ของคนในพื้นที่ว่ามีอิทธิพลมากน้อยแค่ไหน เพราะในชุมชนดั้งเดิมการใช้ระบบหัวคะแนนยังทรงพลัง แต่ว่าในกลุ่มของหมู่บ้านใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มชนชั้นกลางใหม่ที่ย้ายถิ่นเข้ามา พฤติกรรมการเลือกตั้งด้วยการใช้เครือข่ายแบบเดิมๆ เป็นไปได้ยากมาก เพราะมีช่องทางในการรับข้อมูลข่าวสาร และ หัวคะแนนเข้าไม่ถึง

รศ.ฐิติวุฒิ ยังยกให้สนามเลือกตั้ง อบจ.เชียงใหม่ เชียงราย และ ลำพูน เป็นพื้นที่ที่น่าสนใจ เพราะถือเป็นจังหวัดใหญ่ในภาคเหนือ และ มีการต่อสู้แข่งขันระหว่างการเมืองระดับประเทศ สังเกตจากผู้แทน หรือ ผู้นำพรรคใหญ่ๆ ที่เข้ามาหาเสียง หรือ เรียกได้ว่าทุ่มสรรพกำลังทุกอย่างเข้ามาในพื้นที่

โดยที่เชียงใหม่ อดีตนายก อบจ. ผู้สมัครของพรรคเพื่อไทย แม้ได้รับชัยชนะแต่มีจำนวนเสียงลดลง คำถามใหญ่ คือ คุณทักษิณสิ้นมนต์ขลังหรือไม่ ส่วนตัวเห็นว่ามนต์ขลังคงไม่สิ้นไป และ อาจจะมีพลังอยู่ในระดับการสกัดยับยั้งการแข่งขันของพรรคการเมืองคู่แข่ง แต่หลังจากที่ได้รับชัยชนะไป ก็ต้องดูว่าการทำงานจะตอบโจทย์ชาวบ้านหรือไม่

ส่วนในกรณีของ พื้นที่ จ.ลำพูน รศ.ฐิติวุฒิ เห็นว่าเป็นพื้นที่ ที่มีความน่าสนใจมาก เพราะเป็นพื้นที่ที่พรรคประชาชนได้ไปเพียงเขตเดียว หลังจากนี้พรรคประชาชนจะมีวิธีการอย่างไรที่จะทำให้ อบจ.ในฐานะกลไกของท้องถิ่น ทั้งตอบโจทย์คนในพื้นที่ และ เป็นตัวอย่างผลลัพธ์ในการพัฒนา เพื่อจะนำมาชูเป็นโมเดลในการหาเสียงระดับชาติ

รายงาน : พยุงศักดิ์ ศรีวิชัย ผู้สื่อข่าวอาวุโสไทยพีบีเอส ศูนย์ข่าวภาคเหนือ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง