ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ไข้หวัดใหญ่ในญี่ปุ่นน่าห่วง 144 วัน ติดเชื้อ 9.5 ล้านคน ส่วนใหญ่สายพันธุ์ B

สังคม
4 ก.พ. 68
11:23
326
Logo Thai PBS
ไข้หวัดใหญ่ในญี่ปุ่นน่าห่วง 144 วัน ติดเชื้อ 9.5 ล้านคน ส่วนใหญ่สายพันธุ์ B
"นพ.เจษฎ์" ระบุสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ระบาดหนักในญี่ปุ่น ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ B โรงพยาบาลหลายแห่งไม่รับคนเพิ่มหากอาการไม่หนัก ขณะที่ 144 วัน ติดเชื้อ 9.523 ล้านคน ชี้หากอาการรุนแรงอาจเกิดอาการแทรกซ้อนเสี่ยงเสียชีวิตได้ แนะคนไทยวางแผนการเดินทาง

วันนี้ (4 ก.พ.2568) นพ.เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ หรือ หมอเจด รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เจ้าของเพจ หมอเจด ได้โพสต์ข้อความระบุว่า 2 ก.ย. - 26 ม.ค.2567 รวมเวลา 144 วันที่ผ่านมา ญี่ปุ่นพบผู้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ถึง 9.523 ล้านคน เฉลี่ยวันละ 66,132 คน แนะวางแผนการเดินทางและดูแลตัวเองให้ดี

นอกจากนี้ นพ.เจษฎ์ ยังระบุในโตเกียวหลายแห่งการเพิ่มจำนวนของคนไข้ที่ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สูงมาก และโรงพยาบาลหลายแห่งไม่รับคนเพิ่มเติมถ้าอาการไม่หนัก ตอนนี้หลายคนที่วางแผนไปเที่ยวโตเกียว แนะนำว่าถ้าจำเป็นต้องไป ดูแลตัวเองให้ดีมากๆ แล้วก็อย่าลืมหายาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ไปด้วย

ส่วนฝั่งโอซาก้า สถานการณ์การระบาดของไข้หวัดใหญ่ในโอซากาวันนี้ยังคงอยู่ในระดับที่น่ากังวล โดยข้อมูลล่าสุดจากสถาบันสาธารณสุขโอซากา ระบุว่า ค่าเฉลี่ยผู้ป่วยในช่วงวันที่ 29 ม.ค. – 4 ก.พ.2567 อยู่ที่ 29.64 รายต่อเขต และมี 6 เขตที่ค่าเฉลี่ยเกิน 30 ราย ซึ่งถือว่าเป็นการระบาดหนัก โดยส่วนใหญ่เป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B

ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ในฮอกไกโด ณ วันนี้ (3 ก.พ.2568) จากผลการค้นหา อย่างไรก็ตาม ฮอกไกโดมักเผชิญการระบาดของไข้หวัดใหญ่ในช่วงฤดูหนาว คือ ธ.ค.-มี.ค. เนื่องจากอากาศหนาวเย็นและแห้ง ซึ่งเอื้อต่อการแพร่กระจายของไวรัส

ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ปกติที่ไทยเราใช้ Oseltamivir (Tamiflu) ซึ่งที่ญี่ปุ่นก็ใช้เหมือนกัน แต่หลายคนคงจะจำยาตัวนี้ได้ FAVIPIRAVIR ฟาวิ ซึ่งก็จะเป็นการใช้ตัวนี้เหมือนกันในกรณีที่ใช้ยาตัวแรกไม่ได้ผล

อ่านข่าว : ไข้หวัดใหญ่ปิดตำนาน "ซานไช่" รักใสใสหัวใจ 4 ดวง วัย 48 ปี

นพ.เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ หรือ หมอเจด รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

นพ.เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ หรือ หมอเจด รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

นพ.เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ หรือ หมอเจด รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่ อาการรุนแรงตามมาที่อาจจะเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ ซึ่งภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่ ได้แก่
1.ปอดอักเสบ ปอดบวม ซึ่งไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส แต่เมื่ออาการไม่ดีขึ้น จะทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียตามมา เมื่อแบคทีเรียลงปอดจะทำให้ความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
2. เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เนื่องจากเชื้อได้ขึ้นสมอง ทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือ เยื่อหุ้มประสาทอักเสบ
3.ในบางรายมีอาการรุนแรงอาจเข้าไปที่หัวใจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

พร้อมแนะนำให้กลุ่มคนเสี่ยงฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ปีละ 1 ครั้ง ใน 7 กลุ่มเสี่ยง
- เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี
- หญิงมีครรภ์อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป
- ผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เช่น ปอดอุดกั้นรุนแรง หอบหืด หัวใจ ไตวาย หลอดเลือดสมอง ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างได้รับยาเคมีบำบัด และเบาหวาน
- ผู้พิการทางสมอง ที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
- โรคธาลัสซีเมีย และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมผู้ติดเชื้อHIV ที่มีอาการ)
- โรคอ้วน ผู้ที่มีน้ำหนักตั้งแต่ 100 กิโลกรัมขึ้นไป

ทั้งนี้ไม่ได้อยากให้ทุกคนกังวลมากเกินไป แต่ใครที่วางแผนจะไปญี่ปุ่นหรือเดินทางไปเที่ยวช่วงนี้ต้องวางแผนให้ดีจริงๆ

อ่านข่าว :

วิกฤตไข้หวัดใหญ่ญี่ปุ่น! นักท่องเที่ยวเสี่ยงแค่ไหนและควรทำอะไร ?

กรุงไทยร่วมกับ สปสช.ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 7 กลุ่มเสี่ยง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง