ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ถอดรหัส ผลเลือกตั้ง อบจ. สมรภูมิ " 2 พรรค 1 ค่ายสีน้ำเงิน"

การเมือง
3 ก.พ. 68
12:25
392
Logo Thai PBS
ถอดรหัส ผลเลือกตั้ง อบจ. สมรภูมิ " 2 พรรค 1 ค่ายสีน้ำเงิน"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สำหรับการเลือกตั้งท้องถิ่นระดับ "อบจ." แต่อาจจะยังคงต้องติดตามผลว่า การเลือกตั้งในบางจังหวัด นั้นเป็นไปอย่าง "โปร่งใส-ยุติธรรม" หรือไม่ สืบเนื่องจากคำร้องที่ถึงมือ กกต.มากกว่า 150 เรื่อง และยังคงต้องเกาะติดการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นระดับ "เทศบาล" นี้ด้วย

หลังเสร็จสิ้นการเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (นายก อบจ.) จำนวน 47 จังหวัด และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) จำนวน 76 จังหวัด เมื่อวันที่ 1 ก.พ.2568 ที่ผ่านมา 

ประมวลจากการสู้ศึกในสนามเลือกตั้ง "อบจ." ครั้งนี้แล้ว "2 พรรคกับ 1 ค่ายสี" นั่น ก็คือ พรรคเพื่อไทย พรรคประชาชน และค่ายสีน้ำเงิน ที่ถูกตีความเป็น พรรคภูมิใจไทย ต่างก็ต้องถอดรหัส "ผลการเลือกตั้ง" เพื่อตั้งรับกับสถานการณ์การเมือง และเตรียมพร้อมสู้ศึกเลือกตั้งใหญ่ ปี 2570

ผลการเลือกตั้งท้องถิ่นระดับ "อบจ." ย่อมหมายถึง การสื่อสาร ทางการเมืองจากประชาชน ถึงคนที่เขาเลือกและคนที่เขาไม่ได้เลือก ในพื้นที่ 47 จังหวัด

โดยเฉพาะการเลือกนายก อบจ. เมื่อวันเสาร์ที่ 1 ก.พ.ที่ผ่านมา และน่าจะสื่อสารชัดถึง 2 พรรคกับอีก 1 ค่ายการเมือง โดยเฉพาะ "ค่ายสีน้ำเงิน" ที่ตีความแล้วหมายถึง พรรคภูมิใจไทย ส่วน 2 พรรค คือ พรรคประชาชน กับพรรคเพื่อไทย

พรรคเพื่อไทย ส่งผู้สมัครลงชิงเก้าอี้ นายก อบจ. "14+2" คือ ลงในนามพรรคอย่างเป็นทางการ 14 คน และ + 2 คือ เป็นสมาชิกพรรค ผู้ช่วยหาเสียง "ทักษิณ ชินวัตร" เดินสายเปิดเวทีปราศรัย ขอคะแนน รวมแล้ว 9 เวที ย้ำหนัก ๆ ไปที่ "เชียงใหม่-เชียงราย" แต่คะแนนอย่างไม่เป็นทางการชนะ ที่ "เชียงใหม่" แพ้ที่ "เชียงราย" เฉลี่ย นายทักษิณ ทุ่มเท-จริงจัง 9 ที่ และได้มา 5 ที่ จากที่เคาะได้มากกว่า 10 เก้าอี้ 

ถอดรหัสข้อความที่ประชาชนสื่อสารถึงพรรคเพื่อไทยและนายทักษิณ ชินวัตร ในฐานะผู้ช่วยหาเสียง หรือ หมายถึง "ผู้นำทางจิตวิญญาณ" ของคนในพรรคเพื่อไทย และมวลชนคนเสื้อแดง ไม่ได้ขายฝันได้ทุกที่

แต่ในฐานะพรรคแกนนำจัดตั้งรัฐบาล คนของพรรคนั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีอยู่ ความเป็นอนุรักษ์นิยมใหม่ของบุคลากร-โครงการ ไม่ได้ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนได้ทั้งหมด หรืออาจจะหมายรวมถึง "นโยบายประชานิยม" ที่ "แจกจริง" อย่าง "เงินหมื่น" ประชาชนส่วนหนึ่ง ก็ไม่ได้เห็นดี-เห็นงาม ไปด้วย ผลลัพธ์ของการเลือกตั้งท้องถิ่นระดับ "อบจ." ของพรรคเพื่อไทย จึงได้กลับมาในแบบ "ครึ่งต่อครึ่ง" เฉลี่ย 50:50

ไม่ได้หมายความว่า ประชาชนส่วนใหญ่จะตอบรับพรรคเพื่อไทยหรือนายทักษิณ ชินวัตร และนี่คือโจทย์ของค่ายสีแดง โดยเฉพาะที่จะกระเทือนถึงความเป็นรัฐบาล ด้วยสังเกตว่า อีกครึ่งหนึ่งตกไปอยู่ในมือของค่ายสีน้ำเงิน ผ่านการตีความว่า กลุ่มหรือทีมในพื้นที่บางคน ที่ลงชิงในสนามเลือกตั้งท้องถิ่น แล้วเชื่อมโยงถึงพรรคภูมิใจไทย พร้อมจับสัญญาณนี้ ผ่านการสื่อสารของนายอนุทิน ชาญวีรกูล

พรรคภูมิใจไทย ไม่ได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งท้องถิ่นระดับ "อบจ." พร้อมข้อกำชับเรื่องการวางตัว สำหรับ "สส. รัฐมนตรีและแกนนำพรรค" กรณีเกี่ยวข้องหาเสียงเลือกตั้ง

ทว่าแต่การตีความเรื่องความสัมพันธ์ของบุคคล "เพื่อน-พี่/น้องครอบครัว ญาติ หรือเครือข่าย" ก็พุ่งตรงไปที่ค่ายสีน้ำเงิน โดยเฉพาะตระกูลการเมือง บ้านใหญ่ ในแต่ละจังหวัด จึงเลี่ยงไม่ได้ ที่ถูกโยงใยว่าเกี่ยวพันกันในเชิงการเมืองผ่าน

ผลลัพธ์ในชัยชนะของทีม หรือกลุ่มการเมืองในแต่ละพื้นที่ ภายใต้สัดส่วนการเลือกตั้ง นายก อบจ.ทั้ง 47 จังหวัด ประมวลแล้ว น่าจะราว ๆ 8 - 9 เก้าอี้ เป็นการเมืองบ้านใหญ่ จึงตีความ-เจตนาประชาชนที่ต้องการส่งถึง อาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งใหม่ถึง "ครูใหญ่-พรรคภูมิใจไทยไหม" บทบาทประชาธิปไตย์แบบสมานฉันท์หรือเปล่า หรืออุดมกาณ์ในแบบ อนุรักษ์นิยม จะดีกว่าไหม (แม้ไม่ใช่ทางตรง..ก็อาจเป็นทางอ้อมได้)

สุดท้าย ผลลัพธ์การเลือกตั้งท้องถิ่นระดับ "อบจ." กับพรรคประชาชน ซึ่งคะแนนอย่างไม่เป็นทางการได้ 1 ที่นั่ง ในเก้าอี้นายก อบจ." จากทั้งหมดที่คัดสรรให้เป็นทางเลือกใหม่ของประชาชน รวม 17 จังหวัด พร้อมเป้าหมายที่ตั้งไว้ " 1 เก้าอี้นายก อบจ.กับ 1 ภาค" ดูจะพลาดเป้าไป ทั้งที่ทุ่มเทมาตลอด ทั้งแผนงานเชิงลึก รายพื้นที่ และแผนงานเฉพาะหน้าแบบเจาะเฉพาะสนาม

ในฐานะผู้ช่วยหาเสียง ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ, พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และ ชัยธวัช ตุลาธน ลงพื้นที่ช่วยผู้สมัครของพรรคประชาชนหาเสียงอย่างต่อเนื่อง ตลอด 42 วัน เดินทางแผนดาวกระจาย ร่วมกับแกนนำพรรค "ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรค และ ศรายุทธ์ ใจหลัก เลขาธิการพรรค โดยพรรคประชาชน ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งในนามพรรค ชิงเก้าอี้ นายก อบจ. รวม 17 จังหวัด ทั้งขึ้นเหนือ ลงใต้ ล่องอีสาน

แต่ผลลัพธ์ อย่างไม่เป็นทางการ คว้ามาได้ "1 เก้าอี้" ท่ามกลางคำถาม ทั้งแกนนำรุ่น 1 และ รุ่น 2 ที่พ่วงท้ายไปด้วย เป็นบวกหรือเป็นลบกันแน่ ปรับโฉม-แปลงร่างมา 2 พรรคแล้ว ผลประกอบการลดลงเป็นระยะ ๆ "ประชาธิปไตย ก้าวใหม่" ที่ชูไว้ จนทำให้มีคำถามว่า จริงแท้แล้ว ประชาชนไม่ต้องการใช่หรือไม่  หรือ "เสรีนิยมก้าวหน้า" อุดมการณ์ก้าวล้ำไปหรือเปล่า ชุดนโยบายที่นำเสนอแล้วครั้งต่อครั้ง ไม่ได้เสียงตอบรับ หรือประชาชนไม่อยากรับกันแน่

จากนี้ไป "2 พรรค 1 ค่าย" ยังคงต้องเผชิญสภาวะทางการเมืองอีกเยอะที่หนักอยู่แล้ว คงไม่มีอะไรหนักไปกว่านี้ พรรคประชาชนต้องเร่งเครื่องต่อไปกับเวที "ซักฟอก" รัฐบาล และคงต้องติดตามพรรคภูมิใจไทย ในฐานะพรรคร่วมรัฐบาล จะสร้างเงื่อนไขทางการเมืองมากแค่ไหน โดยเฉพาะกับพรรคเพื่อไทย เพราะเวลานี้ "เพื่อไทย" ไม่ใช่พรรคที่จะเป็นต่อในทุกๆ ด้านแล้ว และในอนาคตพรรคเพื่อไทย อาจจะถูกรุมเร้าจากทุกด้าน 

อ่านข่าว : รายงานผล! คะแนนเลือกตั้ง อบจ.2568 ทั่วประเทศ 

ไม่ไปเลือกตั้ง อบจ. 2568 ลงทะเบียนไม่ไปใช้สิทธิ ช่องทางไหนได้บ้าง  

ทำไม 29 จังหวัดไม่ต้องเลือกนายก อบจ.ในวันที่ 1 ก.พ.68 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง