ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เปิดกำหนดการ งานสมรสเท่าเทียม ครั้งแรกของไทย

ไลฟ์สไตล์
22 ม.ค. 68
19:12
166
Logo Thai PBS
เปิดกำหนดการ งานสมรสเท่าเทียม ครั้งแรกของไทย
ร่วมบันทึกประวัติศาสตร์แห่งความรัก ในงาน “Marriage Equality สมรสเท่าเทียม” วันที่ 23 ม.ค. 2568 ณ Paragon Hall ชั้น 5 สยามพารากอน ตั้งแต่เวลา 8.00–18.00 น. พร้อมมอบใบสำคัญการสมรสรูปแบบพิเศษ

Bangkok Pride ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานพันธมิตรผู้สนับสนุนความเท่าเทียม ร่วมจัดงาน “Marriage Equality สมรสเท่าเทียม” ขึ้น เพื่อเฉลิมฉลองการจดทะเบียนสมรสเท่าเทียมวันแรก และได้เปิดกำหนดการงานสมรสเท่าเทียม ดังนี้

กำหนดการงานสมรสเท่าเทียม

ช่วงที่ 1 Marriage Equality

(ผู้เข้าร่วมต้องลงทะเบียนล่วงหน้า)

พิธีจดทะเบียนสมรสเท่าเทียมครั้งแรก (8.00 – 18.00 น.)

  • ดำเนินการโดยกรุงเทพมหานครและเขตปทุมวัน พร้อมมอบใบสำคัญการสมรสรูปแบบพิเศษ

พิธีเปิดงานและขบวนแห่งความรัก (10.00 - 12.30 น.)

  • ร่วมเฉลิมฉลองชัยชนะแห่งความเท่าเทียมกับผู้แทนจากทุกภาคส่วน

เวทีเสวนา "ก้าวต่อไปของสังคมในยุคสมรสเท่าเทียม" (13.00 - 16.00 น.)

  • นำโดยผู้ทรงคุณวุฒิจากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นิทรรศการ "เส้นทางสู่สมรสเท่าเทียม"

  • บอกเล่าเรื่องราวการต่อสู้และความสำเร็จของขบวนการสมรสเท่าเทียมในสังคมไทย

ช่วงที่ 2 Marriage Identity- งานเดิมพรมแดง 

(เฉพาะแขกผู้ได้รับเชิญเท่านั้น)

ร่วมเฉลิมฉลองบนพรมแดงสีรุ้ง Pride Carpet สัญลักษณ์แห่งความภาคภูมิใจและการยอมรับ พร้อมแสดงออกถึงตัวตนผ่านการแต่งกายที่สะท้อนอิสรภาพทางความคิดและจิตวิญญาณแห่งความรัก บนเส้นทางสีรุ้งที่จะจารึกไว้ในประวัติศาสตร์

พบกันศิลปิน ดารา คนดัง และคู่รักมาร่วมเดินทางแสดงความยินดี พร้อมด้วยพิธีการเฉลิมฉลองช่วงค่ำ ตั้งแต่โชว์เปิดจาก Bangkok Metropolitan Orchestra ต่อด้วย Drag Bangkok และคุณมิ้น - มิณฑิตา และ คุณซิลวี่ - ภาวิดา ต่อด้วยการอวยพรคู่รัก ต่อด้วยโชว์จาก คุณพัดชา เอนกอายุวัฒน์ และคุณปิงปอง - ศิรศักดิ์, Sin Singular, Copter ส่งต่อด้วยตุ๊กตา ท็อปไลน์ ก่อนปิดท้ายที่หมอลำไอดอล

ช่วงที่ 3 Marriage Celebration - โมเม้นต์ประวัติศาสตร์ และมินิคอนเสิร์ตเฉลิมฉลอง 

(ผู้เข้าร่วมต้องลงทะเบียนล่วงหน้า)

สุนทรพจน์ประวัติศาสตร์

  • โดย นายกรัฐมนตรี คุณแพทองธาร ชินวัตร และอดีตนายกรัฐมนตรี คุณเศรษฐา ทวีสิน

ประกาศความสำเร็จและสถิติการจดทะเบียนสมรสทั่วประเทศ

  • โดย คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

พิธีแสดงความยินดีจากภาครัฐและคณะทูตครอบครัว

  • การแสดงพิเศษจากศิลปินระดับประเทศ ร่วมขับขานบทเพลงแห่งความรักและเสรีภาพ
งานสมรสเท่าเทียมครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศไทย

งานสมรสเท่าเทียมครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศไทย

งานสมรสเท่าเทียมครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศไทย

Q & A ก่อนไปร่วมงานสมรสเท่าเทียม

1. แสดงหลักฐานอะไรบ้างก่อนเข้างาน ?

คู่รักที่ลงทะเบียนมาแล้ว ให้รอรับอีเมลยืนยันการจองจากทาง Bangkok Pride และแค่แคปหน้าจอมาแสดงในวันงาน ไม่ต้องพิมพ์เอกสารจากอีเมลมาในวันงาน

2. จดทะเบียน ณ Paragon Hall มีกี่รอบ ?

แบ่งเป็น 5 รอบๆ ละ 50 คน (รอบละ 2 ชั่วโมง) ได้แก่  รอบ 08:00 น., 10:00 น., 12:00 น., 14:00 น. และรอบ 16:00 น. โดยจะสิ้นสุดที่ 18:00 น. จำนวนทั้งหมด 250 คู่  และในเวลา 19:00 น. เป็นต้นไป จะเป็นการจดทะเบียนรอบเก็บตก โดย Bangkok Pride ขอสงวนรอบนี้ไว้ให้เฉพาะคนที่ลงทะเบียนมาแล้วเท่านั้น

3. อยากจดทะเบียนสมรสในงานต้องเตรียมอะไรมาบ้าง ?
บัตรประจำตัวประชาชน และ พยานบุคคล 2 คน ที่บรรลุนิติภาวะ (อายุ 20 ปีขึ้นไป) พร้อมบัตรประชาชน และเตรียมค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนมา 200 บาท

4. เงื่อนไขการรับของที่ระลึกในงาน “Marriage Equality สมรสเท่าเทียม” ?

แสดงเอกสารอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ใบทะเบียนสมรส  บัตรคิวจากสำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ หรือ หลักฐานการลงทะเบียนจาก Bangkok Pride

อ่านข่าว :

23 ม.ค.เริ่มต้นบันทึกรักเท่าเทียมประเทศไทย

878 อำเภอพร้อมเป็นนายทะเบียนให้ทุกความรัก "สมรสเท่าเทียม"

เปิด 3 มิติ "สมรสเท่าเทียม" เปลี่ยนชีวิตเด็ก-ครอบครัวไทยให้ดีขึ้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง