ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รู้จัก "เอนเทอโรไวรัส" ต้นตอเด็ก 3 ขวบเสียชีวิต

สังคม
10 ม.ค. 68
12:00
438
Logo Thai PBS
รู้จัก "เอนเทอโรไวรัส" ต้นตอเด็ก 3 ขวบเสียชีวิต
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
กรมการแพทย์แนะรู้ทัน "เอนเทอโรไวรัส" สาเหตุเด็ก 3 ขวบเสียชีวิตที่ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน

กรณีมีการแชร์ข่าวในโซเชียลมีเดียเกี่ยวกับเด็กที่มีอาการไข้ต่ำ ๆ แต่ต่อมามีอาการชักเกร็งและหัวใจหยุดเต้นอย่างฉับพลัน ซึ่งแพทย์ผู้ดูแลวินิจฉัยว่าน่าจะเกิดจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

วันนี้ (10 ม.ค.2568) นพ.ธนินทร์ เวชชาภินันท์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า จากข้อมูลทางการแพทย์ พบว่า อัตราการเสียชีวิตจากกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน ในเด็กที่สุขภาพแข็งแรงดีมาก่อนพบได้น้อยมาก ประมาณ 1 ต่อ 500,000 ถึง 1 ในล้านคน เทียบได้กับโอกาสการเสียชีวิตจากการถูกฟ้าผ่า โดยพบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี มีความเสี่ยงมากกว่าเด็กโต

เชื้อที่เป็นสาเหตุส่วนใหญ่เป็นเชื้อไวรัส โดยหลัก ๆ จะเป็นเชื้อกลุ่มเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายพันธุ์ 71 ที่ทำให้เกิดโรคมือ เท้า ปาก ชนิดรุนแรง หรือเชื้อโควิด-19 ซึ่งปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันแล้ว

ขณะที่ รพ.อัครฐาน จิตนุยานนท์ ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อมีข่าวที่กระทบความรู้สึกรุนแรง เช่น กรณีเด็กป่วยหนัก สมองของเราจะจดจำและระลึกถึงเหตุการณ์นั้นได้ง่ายกว่าข่าวทั่วไป เพราะเป็นธรรมชาติของสมองที่จะให้ความสำคัญกับเรื่องที่สะเทือนใจ

เมื่อข่าวถูกแชร์ต่ออย่างกว้างขวาง อาจทำให้รู้สึกว่าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นบ่อยกว่าความเป็นจริง นักจิตวิทยาเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Retrievablility bias หรือ ความโน้มเอียงที่เกิดจากเรื่องนึกออกง่าย จนบางครั้งสิ่งที่เราเผชิญอาจไม่ใช่การระบาดของโรค แต่เป็นการระบาดของข้อมูลข่าวสารมากกว่า

โดยทั่วไป เชื้อกลุ่มนี้ไม่ได้ติดต่อผ่านการหายใจ รับเชื้อจากในอากาศเข้าไปโดยตรง แต่มักติดต่อจากการสัมผัสผ่านละอองฝอย หรือการสัมผัสเชื้อจากพื้นผิวแล้วนำมือมาสัมผัสใบหน้า

การป้องกันทำได้โดยหลีกเลี่ยงสถานที่แออัด ใส่หน้ากากอนามัยในเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไปและล้างมือบ่อย ๆ แม้ว่าโรคนี้จะพบไม่บ่อย แต่ผู้ปกครองควรสังเกตอาการ โดยเฉพาะเมื่อเด็กไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ เช่น ไม่เล่น ไม่รับประทานอาหาร ไม่สามารถนอนหลับพักได้ หรือมีอาการกระสับกระส่าย หรือผวากระตุกบ่อยผิดปกติ ควรรีบพาไปพบแพทย์

แต่หากเป็นอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก และเมื่อไข้ลงสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ผู้ปกครองพิจารณาการให้วัคซีนเสริมป้องกันป้องกันการติดเชื้อ เพื่อลดความเสี่ยงต่อสายพันธุ์ที่รุนแรงได้

ทั้งนี้ สถาบันสุขภาพเด็กฯ ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและพร้อมให้การดูแลรักษาอย่างเต็มความสามารถ อีกทั้งจะสื่อสารข้อมูลและคำแนะนำที่จำเป็นแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง

อ่านข่าว

รู้จักภาวะ "กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากไวรัส" ในเด็ก สาเหตุ-วิธีป้องกัน

ใช้โซเชียลฯ เลี้ยงลูก จิตแพทย์เตือนเสี่ยงเหมือนเปิดประตูบ้านทิ้งไว้

ภัยเงียบออฟฟิศ "Boreout" ความเบื่อหน่ายคุกคามสุขภาพจิตคน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง